logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

แบคทีเรียต้านฟันผุ

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=319&contentID=102829

   
          รองศาสตราจารย์ ดร.รวี เถียรไพศาล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยโรคที่พบบ่อยในช่องปากและวิทยาการระบาด คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่า จากการเข้าไปศึกษาความชุกของฟันผุในเด็ก ที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา พบว่า มีเด็กจำนวนประมาณ 15% ที่ฟันไม่ผุ ทั้งที่อยู่ในพื้นที่และสภาพแวดล้อมเดียวกัน ซึ่งพบว่า เกิดจากมีเชื้อแบคทีเรียบางชนิดที่อาจช่วยป้องกันเชื้อที่เป็นสาเหตุของฟันผุ จึงได้นำมาศึกษาในห้องทดลองพบเชื้อ “แลคโตบาซิลัส พาราคาไซ (Lactobacillus paracasei)” แบคทีเรียสายพันธุ์หนึ่งในหลายสายพันธุ์ ที่เหมาะสม ในการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยป้องกันฟันผุ เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่     ได้มาจากช่องปาก และมีความสามารถในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรค  ฟันผุ จึงได้ตั้งชื่อว่า “แลคโตบาซิลลัส พาราคาไซ เอสดี 1 (Lactobacillus paracasei SD1)”
   
           ซึ่งคณะผู้วิจัยประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.รวี เถียรไพศาล อาจารย์ ทพญ.สุพัชรินทร์ พิวัฒน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทพญ.สุกัญญา เธียรวิวัฒน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และ ดร.สันทัด วิเชียรโชติ คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.อ. 
   
           โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากทุนนักวิจัยแกนนำของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทค โนโลยีแห่งชาติ  (สวทช.) เพื่อ ทำการวิจัยเรื่อง “ผลิตภัณฑ์ผสมโพรไบโอติก แลคโตบาซิล ลัส พาราคาไซ เอสดี 1 เพื่อป้องกันฟันผุ” ซึ่งเป็นหนึ่งงานวิจัยในโครงการระบาดวิทยาเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพประชาชนภาคใต้     
   
            รองศาสตราจารย์ ดร.รวี บอกว่า  โดยทั่วไปได้มีการนำเชื้อแบคทีเรียมาใช้  เป็น “โพรไบโอติก” ซึ่งหมายถึงการนำจุลชีพหนึ่ง ๆ มาใช้เพื่อประโยชน์ ในการเสริมสุขภาพและป้องกันจุล ชีพก่อโรคอื่น ๆ แบคทีเรียที่ถูกนำมาใช้เป็นโพรไบโอติกมีหลายชนิด แต่  แลคโตบาซิลลัส เป็นกลุ่มแบคทีเรียที่ถูกนำมา ใช้มากที่สุด และมีบางสายพันธุ์ที่ถูกนำมา   ใช้ในเชิงการค้า เช่น ถูกนำมาเตรียมในรูปของโยเกิร์ต หรือนมเปรี้ยว เพื่อช่วยป้องกันเชื้อที่ก่อโรคในทางเดินอาหารและช่วยย่อย ที่ผ่านมา มีรายงานวิจัยการประยุกต์ใช้เชื้อเหล่านี้ เพื่อเสริมสุขภาพในช่องปาก ซึ่ง  พบว่าเชื้อบางชนิดดังกล่าวสามารถลดเชื้อก่อโรคฟันผุได้ แต่มีข้อจำกัดคือสามารถเกาะ ติดในช่องปากได้เพียงชั่วคราว เนื่องจาก  ไม่ใช่เชื้อที่มีแหล่งกำเนิดจากช่องปากโดยตรง
    
             ส่วนสายพันธุ์ที่คณะวิจัยได้ค้นพบ หรือแลคโตบาซิลลัส พาราคาไซ เอสดี 1 นั้น เป็นเชื้อที่ได้จากช่องปาก จึงมีคุณสมบัติที่ยึดเกาะเยื่อบุในช่องปากได้ดีกว่า นอกจากนี้ยังมีความสามารถสูงในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของฟันผุ และสร้างกรดได้น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ยับยั้งเชื้อฟันผุอื่น ๆ  ทำให้ลดความเสี่ยงจากการสูญเสียแร่ธาตุจากฟัน  
   
             ทั้งนี้ ผู้ศึกษาวิจัยได้ทด ลองผสมแบคทีเรียดังกล่าวในนมผงและโยเกิร์ต ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะต้องมีแลคโตบาซิลลัสชนิดนี้อยู่ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านตัว ใน 1 ซีซี จึงจะถือว่ามีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการใช้เป็นโพรไบโอติก 
   
              ปัจจุบันมีการนำไปใช้กับอาสาสมัครที่เป็นกลุ่มนักเรียนอายุระหว่าง 12-14 ปี จำนวน 50 คน โดยให้ดื่มนมผสมแบค  ทีเรียดังกล่าววันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งจะมีการประเมินผลในการป้องกันฟันผุว่าเป็นอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับเด็กทั่วไป
   
ล่าสุด…งานวิจัยดังกล่าวได้มีการนำไปยื่นคำขอจดสิทธิบัตรไว้เรียบร้อยแล้ว.

11 พฤศจิกายน 2553

Next post > สธ. บุกจับโรงงานผลิตยาปลอมรายใหญ่ 11 รายการ ย่านบางขุนเทียน ส่งขายตามแนวจังหวัดชายแดน มูลค่าของกลางกว่า 20 ล้านบาท

< Previous post “ผ้าอนามัยแบบสอด” เรื่องลับฉบับ “ผู้หญิง”

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด