logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
สธ. ตั้งเป้าปี 54 เร่งตรวจวัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสถานบริการสาธารณสุข ลดภาวะโลกร้อน

สธ. ตั้งเป้าปี 54 เร่งตรวจวัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสถานบริการสาธารณสุข ลดภาวะโลกร้อน

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34736

กระทรวงสาธารณสุข จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สาธารณสุขรวมใจรณรงค์ลดโลกร้อน ด้วยการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นเวทีสร้างความร่วมมือระหว่างเครือข่ายการดำเนินงาน เพื่อลดภาวะโลกร้อนในสถานบริการสาธารณสุขสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน

ปัจจุบันปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases)  ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ ฯลฯ ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น เป็นสาเหตุของภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect) รุนแรงกว่าที่ควรจะเป็นตามธรรมชาติและทำให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงขึ้นที่เรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global Warming) กิจกรรมของมนุษย์ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันในการผลิตของเสีย ได้แก่ มูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย ตลอดจนการใช้สารเคมีและการใช้พลังงาน

แนวทางในการช่วยลดปัญหาดังกล่าว คือ ต้องลงมือปฏิบัติและสร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นภายในท้องถิ่นและหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะสถานบริการสาธารณสุขในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานที่ต้องให้บริการประชาชน         ทั้งงานด้านการป้องกันและรักษาสุขภาพ ในแต่ละวันจะมีกิจกรรมจากประชาชนผู้มาใช้บริการเป็นจำนวนมาก รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ซึ่งกิจกรรมในแต่วันนั้นได้ส่งผลให้เกิดของเสียเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น เศษอาหารจากตึกผู้ป่วย โรงอาหาร ร้านอาหาร สิ่งปฏิกูลที่เกิดจากการขับถ่ายและน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากการใช้ของผู้ป่วย ญาติผู้ป่วยและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ตลอดจนมูลฝอยติดเชื้อ การใช้สารเคมี เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวล้วนก่อให้เกิดก๊าซที่ส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน

ดังนั้น ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขได้ตระหนักถึงภาวะโลกร้อนที่เป็นภัยคุกคามความเป็นอยู่และสุขภาพอนามัยของประชาชน จึงได้ดำเนินงานนำร่องในสถานบริการของกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้โครงการโรงพยาบาลลดโลกร้อน (GREEN & CLEAN Hospital) เพื่อเป็นต้นแบบที่ดีในการรณรงค์ที่จะขยายผลสู่ชุมชน อันจะมีส่วนช่วยลดภาวะโลกร้อน ในโรงพยาบาลลงได้ โดยขณะนี้มีสถานบริการสาธารณสุขสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีการตื่นตัวและร่วมมือร่วมใจในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อเป็นต้นแบบที่ดีในการลดโลกร้อน ด้วยการสมัครเข้าร่วมโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 1,260 แห่ง และสามารถพัฒนาป็นศูนย์การเรียนรู้ สถานบริการสาธารณสุขลดโลกร้อน จำนวน 14 แห่ง ซึ่งมีความพร้อมด้าน         องค์ความรู้ นวัตกรรม บุคลากร และสถานที่ สามารถให้บริการเป็นแหล่งถ่ายทอดการเรียนรู้สู่สาธารณะ เกี่ยวกับการดำเนินงานลดและแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนในสถานบริการสาธารณสุข

สำหรับในปี 2554 กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยได้มีการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของโครงการโรงพยาบาลลดโลกร้อน  ด้วยการวัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มาจากกิจกรรมต่าง ๆ ของสถานบริการสาธารณสุข ด้วยค่า Carbon Footprint เพื่อนำมาใช้ในการพิจารณาเลือกมาตรการที่เหมาะสมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของหน่วยงานต่อ

11 พฤศจิกายน 2553

Next post > สธ. บุกจับโรงงานผลิตยาปลอมรายใหญ่ 11 รายการ ย่านบางขุนเทียน ส่งขายตามแนวจังหวัดชายแดน มูลค่าของกลางกว่า 20 ล้านบาท

< Previous post “ผ้าอนามัยแบบสอด” เรื่องลับฉบับ “ผู้หญิง”

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด