logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ด่วน! อย.เรียกคืนยา Rosiglitazone เพราะไม่ปลอดภัย

Link: http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9530000158150

 

วันนี้ (9 พ.ค.) โรงแรมริชมอนด์ นนทบุรี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) จัดประชุมเรื่อง ความเสี่ยงในการใช้ยาของคนไทย : กรณีศึกษายาเบาหวานโรสิกลีตาโซน (Rosiglitazone) หลังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สั่งเพิกถอนจากบัญชียาหลักไทย พร้อมเรียกเก็บยาคืนจากท้องตลาดอย่างเร่งด่วน ซึ่งยาโรสิกลีตาโซน เป็นยาใหม่อยู่ในกลุ่ม thiazolidinedione ได้รับอนุมัติข้อบ่งใช้รักษาเบาหวานชนิดที่ 2 นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยโดยบริษัท แกล็กโซสมิทไคลน์ (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 ในรูปแบบยาเม็ดมีทั้งที่เป็นสูตรยาเดี่ยวและสูตรยาผสม ได้แก่ Rosiglitazone (Avandia®) Rosiglitazone+metformin (Avandamet®) และ Rosiglitazone+glimepiride (Avandaryl®)

ภญ.วิมล สุวรรณเกศาวงษ์หัวหน้าศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย.กล่าวว่า สืบเนื่องจากปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมาหน่วยงานกำกับดูแลด้านยา (Drug Regulatory Authority) ของประเทศต่างๆ ได้กำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยงของยาโรสิกลีตาโซนเพิ่มเติม ซึ่งแบ่งเป็น 2 มาตรการ ได้แก่ การระงับการจำหน่าย และการจำกัดการใช้ยาอย่างเข้มงวด สำหรับประเทศไทย อย.ได้มีการแจ้งเตือนบุคลากรทางการแพทย์ถึงความเสี่ยงของการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของโรสิกลีตาโซนแล้ว และขอความร่วมมือให้สถานพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ให้ใช้ยาดังกล่าวเมื่อมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงเท่านั้น

ล่าสุด การประชุมคณะอนุกรรมการศึกษาและเฝ้าระวังอันตรายจากการใช้ยาครั้งที่ 4/2553 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2553 ที่ประชุมมีมติเสนอคณะกรรมการยาให้เพิกถอนทะเบียนตำรับยาที่มีส่วนประกอบของโรสิกลีตาโซน เนื่องจากมีข้อมูลความเสี่ยงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยในสหภาพยุโรปซึ่งเป็นกลุ่มประเทศเจ้าของผลิตภัณฑ์มีการระงับการจำหน่ายและให้ยานี้ออกจากท้องตลาด และมีตัวยาอื่นที่สามารถใช้ทดแทนได้และในช่วงระหว่างดำเนินการเสนอเพิกถอนทะเบียนตำรับยา ให้ขอความร่วมมือบริษัทผู้ผลิตและผู้นำเข้าฯ ในการระงับการจำหน่ายยาที่มีส่วนประกอบของโรสิกลีตาโซน และเรียกเก็บยาคืนจากท้องตลาดอย่างเร่งด่วน

ผศ.ภญ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุขรองผู้จัดการแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) กล่าวว่า สำหรับมาตรการในต่างประเทศในการตั้งรับยาโรสิกลีตาโซนนั้น ล่าสุด สำนักยาแห่งยุโรปรวม 27 ประเทศ ซูดาน อียิปต์ และอินเดีย มีการเพิกถอนรายชื่อยาโรสิกลีตาโซนไปแล้วจากตำหรับยา ขณะที่องค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration/FDA) จำกัดการใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ได้เกิดจากกรรมพันธุ์ แม้ล่าสุด อย.จะสั่งให้มีการเพิกถอนโดยสมัครใจแล้ว แต่ผลกระทบที่เห็นได้ชัด คือ ปรากฏการณ์การเบิกจ่ายยาแพง โดยเฉพาะกลุ่มราชการที่สามารถเบิกค่ายาได้เต็มที่กลายเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก จึงอยากให้ผู้ป่วยตระหนักว่า การใช้ยาแพงไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยจะได้ยาดีและปลอดภัย หากไม่มีการตรวจสอบ

รศ.ภก.ดร.ณธร ชัยญาคุณาพฤกษ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยผลลัพธ์ทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวถึงการศึกษาวิจัยความคุ้มค่าของการใช้ยาไพโอกลีตาโซน (Pioglitazone) เทียบกับยาโรสิกลีตาโซน (Rosiglitazone) ซึ่งในขณะที่ทำการศึกษาในปี 2004 นั้น แม้ยาไพโอกลีตาโซนจะมีราคาสูงกว่าโรสิกลีตาโซน แต่มีข้อมูลระบุว่าสามารถลดระดับไขมันได้ดีกว่า ส่งผลให้เกิดความปลอดภัยต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดที่สูงกว่า แต่ล่าสุดในช่วงปี 2007-2009 มีการวิจัยหลายฉบับที่แสดงให้เห็นผลเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจจากการใช้ยาโรสิกลีตาโซน เมื่อประกอบกับในท้องตลาดเริ่มมียาไพโอกลีตาโซนที่เป็นยาสามัญจำหน่ายในราคาที่ถูกกว่ายาโรสิกลีตาโซนที่เป็นยาต้นฉบับ ฉะนั้นข้อมูลปัจจุบันจึงสนับสนุนว่ายาไพโอกลีตาโซน จัดเป็นยาทางเลือกที่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ทั้งในแง่ความปลอดภัยและความคุ้มค่า

ภญ.วรสุดา ยูงทอง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวถึงสาเหตุที่ยาโรสิกลีตาโซนถูกถอนออกจากบัญชียาหลัก และล่าสุด อย.ประกาศเพิกถอนแล้วนั้น เพราะเมื่อเทียบกับ pioglitazone แล้วมีข้อด้อยกว่าเรื่อง (1) ไม่มี generic product คือ มีบรรจุในบัญชียาหลักทำให้ต้องนำเข้า ค่าใช้จ่ายสูง (2) ต้องรับประทานวันละ 2 ครั้ง (3) ข้อมูลประสิทธิภาพต่อ lipid profile ด้อยกว่า pioglitazone (4) ซึ่งมีหลักฐานชี้ชวนว่าอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย มีอาการปวดน้ำ โดยเฉพาะผู้หญิงมีความเสี่ยงในการเกิดกระดูกแตกหักได้ง่าย

10 พฤศจิกายน 2553

Next post > “จุรินทร์” เผยสมาพันธ์ธาลัสซีเมียนานาชาติชื่นชมการควบคุมป้องกันโรคธาลัสซีเมีย ของไทย ชวนตั้งศูนย์ดูแลผู้ป่วยธาลัสซีเมียระดับชาติ และพัฒนาเป็นระดับภูมิภาค ช่วยเพื่อนบ้าน

< Previous post สธ.อึ้ง! เด็กไทย 13 ล้านคน ว่ายน้ำเป็นแค่ 2 ล้านคน น้ำท่วมปีนี้เด็กสังเวย 35 ศพ

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด