logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

ไทยคิดยามาลาเรียใหม่

http://www.thaipost.net/news/091110/29849

        คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล ร่วมกับ หน่วยวิจัยโรคเขตร้อน ม.ออกซฟอร์ด แถลงข่าวถึงความสำเร็จในการพิสูจน์ประสิทธิภาพของยาอาร์ทีซูเนต (artesunate) ในการรักษาผู้ป่วยเด็กจากโรคมาลาเรียฟัลซิปารัมชนิดรุนแรง โดยมี ศ.พญ.นภาธร บานชื่น รองอธิการบดี ม.มหิดล แถลงข่าวพร้อมด้วย ศ.ศศิธร ผู้กฤตยาคามี รักษาการแทนรองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และเครือข่าย คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล พร้อมด้วย ศ.นพ.นิโคลัส เดย์ ผอ.หน่วยวิจัยโรคเขตร้อน มหิดล-ออกซฟอร์ด
    

           ศ.ศศิธร ผู้กฤตยาคามี กล่าวว่า ผลการศึกษานี้จะนำสู่การปรับใช้เป็นยาและวิธีมาตรฐานลำดับแรกสำหรับรักษาผู้ป่วยมาลาเรียฟัลซิปารัมชนิดรุนแรงในทุกกลุ่มอายุ การศึกษานี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำทางการแพทย์ Lancet เมื่อวันเสาร์ที่ 6 พ.ย.2553 ที่ผ่านมา การศึกษาโดยสังเขปการศึกษาวิจัยนี้ครั้งนี้ เป็นการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือหน่วยวิจัยโรคเขตร้อน ม.มหิดลและมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด โดยเงินทุนสนับสนุนจากทุน Welcome trust การศึกษาวิจัยทำในประเทศแถบทวีปแอฟริกา ซึ่งมีผู้ป่วยเด็กเสียชีวิตจากโรคมาลาเรียกว่าร้อยละ 90 ของทุกประเทศรวมกัน การศึกษาได้เปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาชนิดฉีด ระหว่างยาอาร์ทีซูเนตและยาควินิน (quinine) ในผู้ป่วยมาลาเรียชนิดรุนแรง อายุต่ำกว่า 15 ปี ใน 9 ประเทศ ระหว่างปี 2548-2553 ประเทศในแถบแอฟริกาที่เข้าร่วมในโครงการคือ สาธารณรัฐโมซัมบิก มาปูโต, สาธารณรัฐแกมเบีย บันจูล, สาธารณรัฐกานา อักกรา, สาธารณรัฐเคนยา ไนโรบี, สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย โดโดมา, สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย อาบูจา, สาธารณรัฐยูกันดา กัมปาลา, สาธารณรัฐรวันดา คิกาลี, สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก กินชาซา
    

           ผลการศึกษาเปรียบเทียบในผู้ป่วยเด็กทั้งหมด 5,425 ราย จากโรคมาลาเรียฟัลซิปารัม (facliparum) ชนิดรุนแรงพบว่า อัตราการเสียชีวิตในกลุ่มที่รักษาด้วยยาอาร์ทีซูเนต ร้อยละ 8.5 ต่ำกว่ากลุ่มที่รักษาด้วยยาควินิน คือ ร้อยละ 10.9 ผลการรักษาด้วยยาอาร์ทีซูเนตดังกล่าว สามารถลดอัตราตายจากการรักษาด้วยยาควินินได้ร้อยละ 22.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.0022) นอกจากนี้พบว่าการดำเนินโรคระหว่างการรักษาด้วยยาอาร์ทีซูเนตดีกว่ากลุ่มที่รักษาด้วยยาควินินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย (1) อุบัติการณ์ภาวะหมดสติแบบโคม่า ร้อยละ 3.7 (ควินินร้อยละ 5.4) ภาวะชัก ร้อยละ 8.3 (ควินินร้อยละ 10.1) และภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ  ร้อยละ 1.8 (ควินินร้อยละ 2.8) การศึกษาไม่พบผลข้างเคียงร้ายแรงของยาอาร์ทีซูเนต  ซึ่งสรุปผลการศึกษายาอาร์ทีซูเนตมีประสิทธิภาพเหนือกว่ายาควินิน  สมควรเป็นยามาตรฐานลำดับแรกในการรักษามาลาเรียชนิดรุนแรงในทุกประเทศทั่วโลก.

9 พฤศจิกายน 2553

Next post > “จุรินทร์” สรุปความเสียหายจากน้ำท่วมของกระทรวงสาธารณสุขประมาณ 310 ล้านบาท

< Previous post ประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาโครงร่างงานวิจัย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด