logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สธ.เผยน้ำท่วมปีนี้ เด็กต่ำกว่า 15 ปีสังเวยชีวิตจมน้ำ 35 ราย คลอด 4 นโยบายป้องกันในปี’ 54

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34666

         วันนี้ (8 พฤศจิกายน) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมคณะกรรมการป้องกันการจมน้ำในเด็ก ว่า ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กไทย พบปีละประมาณ 1,500 คน โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนและช่วงปิดเทอมใหญ่ ระหว่างมีนาคม–พฤษภาคมของทุกปี จะมีเด็กจมน้ำเสียชีวิตกว่า 500 คน สาเหตุส่วนใหญ่มาจากความเผอเรอของผู้ปกครอง ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเด็ก อีกทั้งขณะนี้เด็กไทยว่ายน้ำเป็นน้อยมาก จากเด็ก 13 ล้านคน ว่ายน้ำเป็นเพียง 2 ล้านคน โดยเฉพาะในช่วงที่มีน้ำท่วมขัง พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากน้ำท่วม 156 ราย ในจำนวนนี้เกือบ 1 ใน 4 เป็นเด็กต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 35 ราย สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการตามไปเล่นน้ำ ช่วยผู้ใหญ่หาปลา เก็บหอย


          นางพรรณสิริกล่าวต่อว่า ในปี 2554 นี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดนโยบายหลักป้องกันเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ 4 มาตรการได้แก่ 1.การจัดสอนเด็กที่อยู่ห่างไกลครอบคลุมทุกจังหวัด ให้มีทักษะการเอาตัวรอดในน้ำและการช่วยเหลือที่ถูกต้อง โดยใช้สระว่ายน้ำเคลื่อนที่หรือแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชน  2. สร้างเครือข่ายอาสากู้ชีพช่วยคนจมน้ำทุกชุมชน ร่วมมือกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ที่มีจำนวน 83,584 คน ให้มีความรู้และทักษะช่วยเหลือคนตกน้ำ จมน้ำ ให้มีโอกาสรอดชีวิตเพิ่มขึ้น เริ่มในพื้นที่เสี่ยง 20 จังหวัดที่มีอัตราเสียชีวิตจากการจมน้ำสูง เช่นบุรีรัมย์ สุรินทร์ นครราชสีมา ฉะเชิงเทราและระยอง ที่ผ่านมาพบว่าผู้เสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 50 เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 3.ผลิตสื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการจมน้ำ ผ่านทางสถานีวิทยุท้องถิ่นและวิทยุชุมชน และ4.ขยายผลการดำเนินงานลงสู่ภาคท้องถิ่น ภาคเอกชน เป็นครูถ่ายทอดความรู้วิธีการช่วยเหลือคนจมน้ำที่ถูกต้อง ซึ่งจะสามารถป้องกันการเสียชีวิตจากจมน้ำได้


         ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขได้เริ่มดำเนินการแก้ไขปัญหาเด็กจมน้ำตั้งแต่ปลายปี 2549 ผลการดำเนินงานได้ผลดีขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การเสียชีวิตลดลงจาก1,482 คนในปี 2549 ลดเหลือ 1,207 คนในปี 2552


          “ขณะนี้หลายจังหวัดกำลังประสบภัยน้ำท่วม ขอย้ำเตือนผู้ปกครอง ให้ดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด อย่าปล่อยให้เด็กเล่นน้ำท่วมเพราะอาจถูกน้ำพัดพา จมน้ำเสียชีวิตได้ อย่าปล่อยให้เด็กเล่นน้ำในสระน้ำ หรือบ่อน้ำ ตามลำพัง ควรมีผู้ใหญ่ไปด้วย ส่วนเด็กๆ หากเห็นเพื่อนหรือเห็นคนตกน้ำอย่ากระโดดลงไปช่วย ให้ตะโกนเรียกผู้ใหญ่หรือโยนวัสดุที่ลอยน้ำได้เช่นไม้ ขวดพลาสติกเปล่าที่มีฝาปิด เพื่อให้คนที่กำลังจะจมน้ำเกาะพยุงตัว”ดร.พรรณสิริกล่าว


           ด้านนายแพทย์มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวว่า จากการประเมินสถานการณ์การสอนว่ายน้ำที่มีอยู่ขณะนี้ มีเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ ยังขาดการสอนทักษะความปลอดภัยทางน้ำและการเอาชีวิตรอดนอกจากนี้ คนไทยยังมีความเข้าใจการช่วยเหลือเด็กที่จมน้ำผิดๆ ส่วนใหญ่นิยมอุ้มพาดบ่าเพื่อให้น้ำที่ปอดออก เป็นวิธีที่ทำให้เด็กเสียชีวิตเร็วขึ้น วิธีช่วยที่ถูกต้องคือให้วางเด็กที่จมน้ำนอนราบตะแคงหน้าเอาน้ำออกจากปาก และช่วยผายปอดด้วยการเป่าลมเข้าทางปากติดต่อกันหลายๆ ครั้งตามจังหวะการหายใจและรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่อยู่ใกล้บ้านหรือโทรแจ้ง 1669โดยเร็วที่สุด

9 พฤศจิกายน 2553

Next post > “จุรินทร์” สรุปความเสียหายจากน้ำท่วมของกระทรวงสาธารณสุขประมาณ 310 ล้านบาท

< Previous post ประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาโครงร่างงานวิจัย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด