logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

Link: http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9530000157186

ภาพประกอบข่าวจากอินเทอร์เน็ต

ดร.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวว่า หน้าที่ของบุคคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างหนึ่ง คือ การเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ประชาชนโดยเฉพาะด้านสุขภาพ ศจย.ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เคยทำการสำรวจอัตราการสูบบุหรี่ของนักศึกษาวิชาชีพสุขภาพชั้นปีที่ 3 ประกอบด้วย 7 วิชาชีพ คือ กลุ่มนักศึกษาแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด และสาธารณสุข ของสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนในปี 2549 จำนวนทั้งสิ้น 5,952 คน พบ ว่านักศึกษาที่เคยสูบบุหรี่อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิตมี 14.7% เป็นชาย 30.1% หญิง 9.7% โดยนักศึกษาสาธารณสุขมีอัตราการเคยลองสูบมากที่สุด 21.4% พยาบาลเคยลองน้อยที่สุด 13.9% เมื่อสอบถามอัตราการสูบบุหรี่ในช่วงรอบเดือนที่ทำการสำรวจพบว่า นักศึกษาเทคนิคการแพทย์มีอัตราการสูบมากที่สุด 7.7% ต่ำสุด นักศึกษาพยาบาล 1.1%

กลุ่มตัวอย่าง 24.7% ต้องการจะเลิกสูบบุหรี่ทันที และอีก 40.6% พยายามที่จะเลิกสูบบุหรี่ และเคยได้รับการแนะนำให้สูบบุหรี่ หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของนักศึกษาที่อยากจะเลิกสูบบุหรี่ เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับประชาชนดูแล รักษาสุขภาพของตนเอง โดยกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดคือ 100% เห็นด้วยกับแนวทาง การบังคับใช้กฎหมายยาสูบ เช่น การกำหนดอายุต่ำกว่า 18 ปีห้ามซื้อบุหรี่ การห้ามโฆษณายาสูบ การห้ามสูบบุหรี่ในสถานบันเทิง และอาคาร เป็นต้น โดยนักศึกษายังเห็นด้วยกับการเป็นแบบอย่างที่ดีในการเลิกสูบบุหรี่ถึง 99.0%” ดร.ศิริวรรณกล่าว

ดร.ศิริวรรณกล่าวต่อว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) จะสนับสนุนให้ประเทศไทย ทำการสำรวจการบริโภคยาสูบในกลุ่มนักศึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุขเป็นรอบที่สอง ซึ่ง ศจย.จะเป็นผู้ประสานงานการดำเนินงานในต้นปี พ.ศ.2554 นี้ ซึ่งจะเป็นการประเมินผลการรับรู้ของนักศึกษาหลังจากประกาศนโยบายการขยาย พื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ในสถานศึกษา ที่ประกาศไปแล้วในปี พ.ศ.2553 นี้ด้วย ซึ่งเชื่อว่านักศึกษาส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวทางนี้

8 พฤศจิกายน 2553

Next post > สธ.เผยน้ำท่วมปีนี้ เด็กต่ำกว่า 15 ปีสังเวยชีวิตจมน้ำ 35 ราย คลอด 4 นโยบายป้องกันในปี’ 54

< Previous post เตะโรคร้าย ให้ห่างไกลจากสุขภาพ

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด