logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

เตะโรคร้าย ให้ห่างไกลจากสุขภาพ

Link : http://www.thaihealth.or.th/node/17887

 

            เปิดผลสำรวจพฤติกรรมสุขภาพ ส.ส.-ส.ว. พบ 56% มองรูปร่างอ้วนเกินไป 43%ไม่มีเวลาดูแลสุขภาพ เปิดโรคของคนวัยทำงาน กรดไหลย้อน-นอนกรนแพทย์ชี้ เสี่ยงต่อความจำ-สมองตายได้ ด้านสภาจับมือสสส. เปิดกิจกรรม“Good Life-Good Health: ชีวิตดี สุขภาพดีลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ พร้อมแจกคู่มือดูแลร่างกายในภาวะน้ำท่วม 

 

            เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ที่รัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และเครือข่ายคนไทยไร้พุง จัดงาน “Good Life-Good Health: ชีวิตดี สุขภาพดี เพื่อตรวจสุขภาพป้องกันปัจจัยเสี่ยงของโรค และการดูแลสุขภาพ ในกลุ่ม ส.ส. ส.ว. เจ้าหน้าที่รัฐสภา และสื่อมวลชน เพื่อเป็นต้นแบบของการดูแลสุขภาพ โดยมีนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา เป็นประธานเปิดงาน

 

            นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา กล่าวว่า การดูแลรักษาสุขภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มส.ส. และส.ว. จะเป็นตัวอย่างต่อไปสำหรับประชาชนในพื้นที่อีกเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามจากผลสำรวจทางสุขภาพในองค์กรนิติบัญญัติ จำนวน 208 คน ระหว่างวันที่ 19 มิถุนายน – 19 ตุลาคม 2552 พบว่า พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ส.ส. และส.ว. กว่า 90% มองว่า ตนทุ่มเทในการทำงานในระดับมากถึงมากที่สุด ซึ่งผลจากการทุ่มเทในการทำงานทำให้ตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่ง คือ 56% มีเวลาพักผ่อนนอนหลับไม่เพียงพอ และยังพบว่า 43% มีเวลาดูแลสุขภาพของตนเองในระดับค่อนข้างน้อย และในแต่ละวันส.ส.และส.ว.มีพฤติกรรมที่ไม่เคลื่อนไหว เช่น นั่งทำงาน นั่งรถ ดูโทรทัศน์ เฉลี่ย 5 ชั่วโมง 26 นาทีต่อวัน

 

            พฤติกรรมการใช้ชีวิตเหล่านี้ ส่งผลให้เกินครึ่งหนึ่ง คือ 56% มองว่ารูปร่างของตนเองอ้วนเกินไป ส่วน 42% เห็นว่าพอดี และ 2% มองว่าผอมเกินไป ที่น่าสนใจคือ ข้อมูลการใช้บริการทางสุขภาพของส.ส. พบว่า ปัญหาโรคที่เกิดจากการทำงานที่สำคัญคือ กรดไหลย้อน ที่มาจากการรับประทานอาหารไม่ตรงตามเวลา และการใช้บริการผ่าตัดแก้โรคนอนกรน ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะน้ำหนักเกิน  และพฤติกรรมการนอน ที่มีความเสี่ยงทำให้อาจอยู่ในภาวะสมองขาดออกซิเจน ซึ่งโรคเหล่านี้ถือเป็นโรคที่พบบ่อยในวัยทำงาน และผู้ที่อยู่ในภาวะน้ำหนักเกิน หากส.ส. และส.ว. มีความรู้ในเรื่องโรคใกล้ตัวที่อาจเกิดขึ้น และรู้จักการป้องกันรักษาสุขภาพล่วงหน้า ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพลงได้ และยังสามารถนำความรู้เหล่านี้ ไปถ่ายทอดในพื้นที่ถึงการป้องกัน และการสร้างเสริมสุขภาพอีกด้วยนายชัย กล่าว

 

            ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการสสส. กล่าวว่า สำหรับกิจกรรม “Good Life-Good Health: ชีวิตดี สุขภาพดีจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 – 5 พฤศจิกายน โดยกิจกรรมประกอบด้วย 3 โซนที่สำคัญคือ โซนตรวจสุขภาพ โดยจะมีการตรวจวัดความเสี่ยงของการเกิดโรคกรดไหลย้อน และภาวะสมองขาดออกซิเจนจากการนอน ซึ่งเป็นโรคที่มักเกิดขึ้นกับกลุ่มคนวัยทำงาน และมีน้ำหนักเกิน โซนออกกำลังกาย โดยการนำเสนอ ยาง ยืด เหยียดนวัตกรรมออกกำลังกายแบบใหม่ เพื่อกระตุ้นการยืดเหยียดจากความเมื่อยล้าของการทำงาน และโซนผ่อนคลาย กับดนตรีบำบัด ที่ฝึกการหายใจ การผ่อนคลายความตึงเครียด และช่วยปรับสมดุลของระบบการเผาผลาญของร่างกาย รวมทั้งการนวดเพื่อสุขภาพ นอกจากนี้ยังได้นำชุดความรู้สำหรับการดูแลสุขภาพในช่วงน้ำท่วม เผยแพร่ให้กับสมาชิกรัฐสภา เพื่อกระจายไปยังพื้นที่ต่อไป

 

             นพ.ฆนัท ครุฑกูล ผู้จัดการศูนย์หัวใจ หลอดเลือด และเมตาบอลิก โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า โรคกรดไหลย้อน และโรคภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เป็นโรคที่เกิดขึ้นบ่อยในกลุ่มคนวัยทำงาน และผู้ที่อยู่ในภาวะน้ำหนักเกิน ซึ่งโรคกรดไหลย้อน เกิดจากกรดในกระเพาะอาหารมาก หรือกล้ามเนื้อหูรูดในหลอดอาหารคลายตัว จึงเกิดอาการแสบร้อนหน้าอกและคอ เนื่องจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น การทานกาแฟ ช็อคโกแลต และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จะเป็นตัวกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะและการคลายตัวของกล้ามเนื้อหูรูด การรับประทานอาหารมากจนเกินไป และผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก วิธีการแก้ไขคือ การควบคุมพฤติกรรมการกินให้พอเหมาะ ลดการทานกาแฟ ช็อคโกแลต และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

 

                นพ.ฆนัท กล่าวว่า สำหรับโรคภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ซึ่งพบบ่อยในกลุ่มคนที่นอนกรน วิธีสังเกตว่านอนกรน หรืออยู่ในภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับหรือไม่ สังเกตได้จากเมื่อตื่นนอนจะรู้สึกอ่อนเพลีย ง่วง เหมือนนอนไม่เต็มที่ ซึ่งเกิดจากการอุดกลั้นของการหายใจทำให้ออกซิเจนไม่สามารถไปเลี้ยงสมองอย่างเต็มที่ ส่งผลให้เกิดความดันสูง ความจำไม่ดี และถ้าเป็นมากจะทำให้สมองบางส่วนตายได้ หัวใจและปอดทำงานหนักมากขึ้น  ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นในคนที่มีน้ำหนักตัวมาก วิธีการรักษาคือการลดน้ำหนัก และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ส่วนผู้ที่มีลิ้นไก่สั้นอาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด แต่การผ่าตัดหากไม่มีการลดน้ำหนัก ก็สามารถกลับมาเป็นได้อีก

5 พฤศจิกายน 2553

Next post > “จุรินทร์” ระดม 28 ทีม พ่นยาฆ่าหนอน/ ไข่แมลงวัน ตามกองขยะทั้งในและนอกเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ พร้อมสั่ง 38 จังหวัดที่น้ำลด ให้เร่งป้องกันโรคระบาดให้ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ทุกพื้นที่

< Previous post สธ.ตั้งวอร์รูมดูแลสุขภาพรับอากาศหนาวจัด ลดจำนวนคนเป็นปอดบวมตาย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด