logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

Link : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1288783546&grpid=01&catid=19&subcatid=1904

วันที่  ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓  ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ กระทู้ถามของนายเธียรชัย สุวรรณเพ็ญ  ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดตาก  เรื่อง การทำประชาสัมพันธ์ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้กระทรวงสาธารณสุข

กระทู้ของนายเธียรชัย สุวรรณเพ็ญ ระบุว่า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพได้จัดตั้งขึ้นโดยได้รับงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ จากการหักค่าภาษีเหล้าและบุหรี่ ซึ่งงบประมาณดังกล่าวเป็นงบประมาณจำนวนมากทั้งเป็นงบประมาณที่ได้รับเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลไม่สามารถรณรงค์ให้มีการเลิกเหล้าและบุหรี่ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยในเรื่องการประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพหลายเรื่องนั้นมีความสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ในการส่งเสริมสุขภาพ จึงขอเรียนถามว่า

  1. รัฐบาลมีนโยบายให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพช่วยทำการประชาสัมพันธ์ให้กระทรวงสาธารณสุขหรือไม่ อย่างไร เนื่องจากจะเป็นการช่วยลดงบประมาณด้านการประชาสัมพันธ์ของกระทรวงสาธารณสุขลงได้ ทำให้การใช้งบประมาณด้านประชาสัมพันธ์ของงานลักษณะเดียวกันไม่ซ้ำซ้อน มีทิศทางและการนำเสนอในเวลาที่เหมาะสมกับเหตุการณ์
  2. ถ้ารัฐบาลมีนโยบายนี้ รัฐบาลจะได้มีการวางแผนและจะเริ่มดำเนินการได้เมื่อใด

ล่าสุด นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ขอตอบกระทู้ถาม เรื่อง การทำประชาสัมพันธ์ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพให้กระทรวงสาธารณสุข  ดังนี้

รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขไม่มีนโยบายให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ช่วยทำการประชาสัมพันธ์ให้กับกระทรวงสาธารณสุข แต่อย่างไรก็ดีกระทรวงสาธารณสุขก็มีความพร้อมและยินดีที่จะสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายอื่น ๆ ในการสร้างเสริมสุขภาพ

ส่วน สสส. จะทำการสื่อสารในรูปแบบของการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ในเรื่องของการดูแลสร้างเสริมสุขภาพ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนหันมาดูแลตนเอง และการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ อันเป็นหนึ่งในพันธกิจตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และมีคณะกรรมการบริหารแผนในด้านนี้โดยเฉพาะ

หลักการทำงานของ สสส. นั้น จะดำเนินการตามแผนหลัก หรือแผนดำเนินการของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งเป็นการกำหนดทิศทางการดำเนินงานของกองทุนในกรอบระยะเวลา ๓ ปีประกอบด้วยแผนและแผนงานทั้งหมดของกองทุน และมีกระบวนการปรับปรุงให้สอดคล้องกับ

สถานการณ์ทุกปี โดยใช้นโยบายของคณะกรรมการกองทุน ฯ ร่วมกับคณะกรรมการบริหารแผน๗ คณะ ผู้ทรงคุณวุฒิ และภาคี ซึ่งหนึ่งในนโยบายสำคัญที่คณะกรรมการกองทุน ฯ ได้กำหนดไว้อย่างต่อเนื่อง คือ การยึดหลักการทำงานที่ไม่ซ้ำซ้อนกับงานภารกิจหลักของหน่วยงานที่มีอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม ในการทำงานสร้างเสริมสุขภาพในบางประเด็นจะเป็นไปในลักษณะการทำงานร่วมกันของหน่วยงานหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อหนุนเสริมให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพที่ดียิ่งขึ้นซึ่งรวมถึงความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะในการสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายอื่นที่หลากหลาย

ทั้งนี้ ในความร่วมมือด้านการสื่อสาธารณะร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจะมีการทำงานภายใต้องค์ความรู้ที่ได้จากการพัฒนางานด้านวิชาการและระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อนำสู่การสังเคราะห์ความรู้และนำสู่การแก้ไขได้อย่างตรงจุด รวมถึงเป็นการทำงานร่วมกับชุมชนพื้นที่เพื่อให้เกิดปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมให้สอดคล้องกับการมีสุขภาวะที่ดี ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการกำกับทิศซึ่งมาจากบุคลากรผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายภาคส่วนในการกำกับดูแลเพื่อให้การสื่อสารสู่สาธารณะในด้านการสร้างเสริมสุขภาพส่งถึงประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย

สำหรับทิศทางการดำเนินงานด้านการสื่อสารสาธารณะของ สสส. ในระยะต่อไป จะดำเนินตามกรอบและทิศทางของแผนหลัก สสส. ในปี ๒๕๕๔ เพื่อก้าวเข้าสู่ปีที่ ๑๐ โดยคณะกรรมการ  กองทุน สสส. มีนโยบายยกระดับความสำคัญในประเด็นสุขภาวะทางจิตและปัญญา เด็ก เยาวชนและครอบครัว การลดความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพ การเรียนรู้เพื่อสุขภาวะ การปฏิรูปประเทศไทยและการขับเคลื่อนร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ โดยเน้นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกัน และการบริหารจัดการแบบแผนกลุ่มงานในประเด็นที่เชื่อมโยงกันทางมิติสุขภาพ รวมทั้งเพิ่มความสำคัญ

ในการพัฒนาศักยภาพภาคีและบุคลากร สสส. ตลอดจนการส่งเสริมโครงการเชิงวัฒนธรรม ซึ่งกลไกการสื่อสาธารณะถือเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งในการทำงาน เพื่อให้งานด้านการสร้างเสริมสุขภาพสัมฤทธิ์ผลตามกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้

5 พฤศจิกายน 2553

Next post > “จุรินทร์” ระดม 28 ทีม พ่นยาฆ่าหนอน/ ไข่แมลงวัน ตามกองขยะทั้งในและนอกเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ พร้อมสั่ง 38 จังหวัดที่น้ำลด ให้เร่งป้องกันโรคระบาดให้ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ทุกพื้นที่

< Previous post สธ.ตั้งวอร์รูมดูแลสุขภาพรับอากาศหนาวจัด ลดจำนวนคนเป็นปอดบวมตาย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด