logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

Link : http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000155907

ไทยเตรียมจัดงานรณรงค์ลดจำนวนนักสูบ แก้ปัญหาโรคถุงลมโป่งพอง หลังองค์การอนามัยโลกพบคนตายด้วยโรคนี้พุ่งปีละ 3 ล้านคน

ศ.กิตติคุณ นพ.ชัยเวช นุชประยูร รองประธานมูลนิธิโรคหืดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โรคถุงลมโป่งพองเป็นสาเหตุการตายของประชากรทั่วโลกเป็นลำดับที่ 6 ในปี ค.ศ.1990 และเป็นลำดับที่ 5 ในปี ค.ศ.2001 โดยมีสาเหตุสำคัญ คือ ควันบุหรี่ และควันจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง องค์การอนามัยโลกประมาณการ ว่า ทั่วโลกมีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าวประมาณปีละ 3 ล้านคน และโรคนี้จะเลื่อนขึ้นมาเป็นสาเหตุการตายของประชากรโลกเป็นลำดับที่ 4 ในปี ค.ศ.2030 องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การโรคถุงลมโป่งพองแห่งโลก จึงกำหนดให้มี วันถุงลมโป่งพองโลก (World COPD Day) ขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยกำหนดให้วันพุธสัปดาห์ที่ 2 หรือ 3 ของเดือน พ.ย.เป็นวันดังกล่าว เพื่อกระตุ้นเตือนให้บุคลากรทางสาธารณสุขเห็นว่าโรคนี้เป็นปัญหาสำคัญ สำหรับประเทศไทยโดยชมรมถุงลมโป่งพอง ได้ร่วมกับมูลนิธิโรคหืดแห่งประเทศไทย กำหนดจัดงานวันถุงลมโป่งพองโลกขึ้น ในวันที่ 14 พ.ย.ที่โรงแรมตวันนา ภายในงานมีการจัดนิทรรศการ ให้บริการตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอด วัดปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือด วัดความดันของโลหิต ฯลฯ

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

 ศ.กิตติคุณ นพ.ชัยเวช กล่าวว่า ผู้ป่วยด้วยโรคนี้ต้องมีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย และหายใจลำบาก ซึ่งเนื่องจากความเสื่อมของถุงลมและปอด ซึ่งผู้ป่วยควรได้รับการดูแลรักษาเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค ควรได้รับการตรวจสมรรถภาพปอด เพื่อให้พบโรคในระยะแรกๆ โรคถุงลมโป่งพองเป็นโรคที่มีภาวะของการอุดกั้นอย่างเรื้อรังของหลอดลมทั่วปอดทั้งสองข้าง โดยมีพยาธิสภาพเกิดขึ้นที่หลอดลมขนาดเล็กและที่ถุงลม เนื่องจากการสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาแรมปี

“สารมลพิษในควันบุหรี่หลายชนิดก่อการระคายเคืองต่อหลอดลม และทำลายผนังถุงลม ทำให้เนื้อเยื่อซึ่งโยงยึดหลอดลมและถุงลมเสื่อมลง หลอดลมเล็กๆ แฟบตัวได้ง่าย เกิดการอุดกั้นของอากาศที่ผ่านหลอดลม โดยเฉพาะในจังหวะของการหายใจออก ทำให้มีลมค้างอยู่ในถุงลมมากขึ้น และการมีลมค้างในถุงลมทำให้ผู้ป่วยสูดหายใจเข้าได้ไม่เต็มที่ และเกิดอาการเหนื่อย นอกจากนี้ ควันบุหรี่ที่ระคายเคืองหลอดลมอยู่นานๆ ยังทำให้ผนังหลอดลมอักเสบ และมีเสมหะมากขึ้น” ศ.กิตติคุณ นพ.ชัยเวช กล่าว

รองประธานมูลนิธิโรคหืดฯ กล่าวอีกว่า สำหรับอาการสำคัญของผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง คือ อาการไอเรื้อรัง มีเสมหะ และอาการเหนื่อย ซึ่งจะค่อยๆ เป็นมากขึ้นตามการเสื่อมของถุงลมในปอด และในที่สุดจะมีภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ และหัวใจวายตามมา ผู้ป่วยเหล่านี้จะเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อน อย่างโรค ปอดบวม ภาวการณ์หัวใจวาย

5 พฤศจิกายน 2553

Next post > “จุรินทร์” ระดม 28 ทีม พ่นยาฆ่าหนอน/ ไข่แมลงวัน ตามกองขยะทั้งในและนอกเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ พร้อมสั่ง 38 จังหวัดที่น้ำลด ให้เร่งป้องกันโรคระบาดให้ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ทุกพื้นที่

< Previous post สธ.ตั้งวอร์รูมดูแลสุขภาพรับอากาศหนาวจัด ลดจำนวนคนเป็นปอดบวมตาย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด