logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สธ.ตั้งวอร์รูมดูแลสุขภาพรับอากาศหนาวจัด ลดจำนวนคนเป็นปอดบวมตาย

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1288685807&grpid=no&catid=19&subcatid=1904

       นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหาร สธ. ว่า ฤดูหนาวปีนี้มีการคาดการณ์ว่าจะหนาวกว่าปีที่ผ่านมา สธ.จึงได้สั่งการให้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการดูแลสุขภาพประชาชนในช่วงฤดูหนาว หรือ วอร์รูมภัยหนาว ที่มี นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัด สธ. เป็นประธานวอร์รูมฯ พร้อมทั้งยังเห็นชอบมาตรการในการป้องกันโรคที่จะมากับอากาศหนาว ทั้งโรคปอดอักเสบและปอดบวม โรคไข้หวัด และโรคผิวหนัง โดยจะมีมาตรการเชิงรุกในการค้นหากลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เพื่อทำการป้องกันและลดจำนวนผู้เสียชีวิตลง เนื่องจากข้อมูลเมื่อปี 2552 พบว่า มีผู้ป่วยโรคปอดอักเสบและปอดบวม รวม 900 ราย และ 1 ใน 3 ของจำนวนนี้ เสียชีวิตในฤดูหนาว โดยหลังจากนี้จะแจ้งไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เพื่อเดินหน้าตามมาตรการดังกล่าว ขณะเดียวกันจะมีการรณรงค์สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก้หนาว ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดว่า จะช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ทั้งๆ ที่ไม่เป็นความจริง เนื่องจากร่างกายจะอบอุ่นในช่วง 2-3 ชั่วโมงแรก จากนั้นร่างกายจะเกิดภาวะเสียน้ำอย่างรุนแรง

       นายจุรินทร์กล่าวถึงกรณีจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์น้ำท่วมที่มีบางฝ่ายออกมาท้วงติงว่า ตัวเลขไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ว่า สำหรับตัวเลขที่ผ่านมาที่พบผู้เสียชีวิตจำนวน 101 ราย ตนได้สั่งการให้วอร์รูมแก้ไขปัญหาน้ำท่วมตรวจสอบสาเหตุการตายของทุกรายแล้ว ทั้งนี้เพื่อต้องการให้เกิดความชัดเจน ซึ่งคาดว่าจะสามารถสรุปได้ในวันที่ 2 พฤศจิกายนนี้

        นพ.ณรงค์ สหเมธาวัฒน์ รองปลัด สธ. ในฐานะประธานวอร์รูมแก้ไขปัญหาน้ำท่วม กล่าวว่า วันที่ 2 พฤศจิกายนนี้ จะรายงานสาเหตุการเสียชีวิตเป็นรายบุคคลจากจำนวนผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์น้ำท่วมทั้งหมดได้ โดยเบื้องต้นพบว่าสาเหตุในการเสียชีวิตอันดับ 1 คือ อุบัติเหตุ เช่น พลัดตก เรือล่ม พบร้อยละ 30 รองลงมาคือ เสียชีวิตจากการออกไปประกอบอาชีพในช่วงน้ำท่วม เช่น หาปลา ร้อยละ 25 และเสียชีวิตจากโรคประจำตัวร้อยละ 18 อย่างไรก็ตาม ตัวเลขผู้เสียชีวิตนำมาจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) ซึ่งนำข้อมูลมาจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และศูนย์แจ้งเหตุของโรงพยาบาลประจำจังหวัด

        ทั้งนี้ 6 โรคที่มาพร้อมกับภัยหนาว คือ โรคไข้หวัด โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม โรคหัด โรคหัดเยอรมัน โรคสุกใส กลุ่มประชาชนที่มีความเสี่ยงป่วยง่ายกว่าประชาชนทั่วไป ได้แก่ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอด โรคโลหิตจาง เนื่องจากมีระดับภูมิต้านทานโรคต่ำอยู่แล้ว จึงขอให้รักษาความอบอุ่นร่างกาย ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง คือรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่ ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มมึนเมา ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ล้างมือบ่อยๆ โดยกรมควบคุมโรค ได้ออกประกาศการป้องกันโรคในฤดูหนาว เพื่อให้สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัดประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนในการปฏิบัติตัวไม่ให้เจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าวแล้ว

 

4 พฤศจิกายน 2553

Next post > “จุรินทร์” เผยโรงพยาบาลที่ประสบภัยน้ำท่วมเปิดให้บริการทั้งหมดแล้ว ยอดคนป่วยจากน้ำ ท่วมพุ่งกว่า 3 แสนราย

< Previous post แนะเลี้ยงลูกมีคุณภาพได้มาตรฐาน ใช้การเล่านิทานอย่างถูกวิธีและเหมาะกับวัย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด