logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

Link: http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9530000155145

วานนี้ (3 พฤศจิกายน) พญ.วราภรณ์ ภูมิสวัสดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสงฆ์ กล่าวว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมนั้น ไม่ใช่มีเพียงแต่ประชาชนทั่วไปที่ได้รับความเดือดร้อนเท่านั้น แต่ในส่วนของพระภิกษุสงฆ์ ก็ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวเช่นกัน ทาง รพ.สงฆ์ จึงตระหนักถึงปัญหาที่มี ด้วยการระดมสิ่งของที่จำเป็น แล้วลงพื้นที่ประสบปัญหาเพื่อถวายทั้งภัตตาหารที่จำเป็น สบง จีวร ฯลฯ แด่พระภิกษุสงฆ์ โดยจากการลงพื้นที่ จ.นครราชสีมา ในว่า 32 อำเภอที่ประสบอุทกภัยนั้น พบว่า มีเพียง 9 อำเภอเท่านั้นที่ไม่ได้รับผลกระทบ ที่เหลือนั้นพระภิกษุต้องเผชิญกับสารพัดปัญหา ทั้งขาดแคลนปัจจัยสี่ โดยเฉพาะภัตตาหาร เนื่องจากในสภาวะน้ำท่วมพระภิกษุก็ไม่สามารถออกบิณฑบาตได้ ขณะที่พุทธศาสนิกชนหลายคนที่กำลังเผชิญปัญหาไม่ต่างกัน ก็ไม่สามารถจะสรรหาภัตตาหารและสิ่งของจำเป็นมาถวายได้ ส่วนผ้า สบง จีวร ก็เสียหายไปเกือบทั้งหมดในระหว่างน้ำเอ่อท่วมเช่นกัน

ผอ.รพ.สงฆ์ กล่าวด้วยว่า จากการพิจารณาถึงสถานการณ์การอาพาธของพระสงฆ์ ทั้งสุขภาพกาย พบว่า พระสงฆ์ทั่วประเทศที่มีอยู่จำนวนกว่า 300,000 รูปนั้น มีพระสงฆ์ที่อาพาธจากสถานการณ์น้ำท่วมสูงถึง 1 ใน 3 ของพระสงฆ์ทั้งหมด โดยครึ่งหนึ่งเป็นพระสงฆ์ในพื้นที่ภาคอีสาน สำหรับอาการอาพาธทางกายนั้น จะเป็นเรื่องของอาการปวดเมื่อย ขณะที่สถานการณ์ของสุขภาพจิตนั้น พบว่า มีปัญหาความเครียด

“จากการลงพื้นที่เพื่อถวายสิ่งของจำเป็นแด่พระภิกษุสงฆ์นั้น ได้เข้าหารือถึงปัญหากับเจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ และเจ้าคณะจังหวัดที่ประสบภัยนั้น ปัญหาความเครียดส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะสถานการณ์บางอย่างขณะนี้ที่พระภิกษุต้องเผชิญ ทั้งเรื่องขาดแคลนปัจจัยสี่ และบางแห่งก็ต้องแบกรับภาระ จากการที่ประชาชนหนีภัยน้ำท่วมเข้าพึ่งวัด เป็นแหล่งพักอาศัย ทางวัดจึงหลีกเลี่ยงที่จะไม่ได้ที่จะไม่ช่วยเหลือญาติโยมที่เข้ามาพึ่งพา ด้วยการนำสิ่งของบางอย่างที่ได้รับบริจาคไปให้แก่ญาติโยม เช่น ช่วยเหลือด้วยรูปแบบการตั้งโรงทานแจกจ่ายอาหาร นอกจากนี้ ยังสละพื้นที่ในวัดเป็นที่หลับนอนแก่ผู้ประสบภัยด้วย พระบางรูปจึงขาดแคลนที่จำวัด” ผอ.รพ.สงฆ์ กล่าว

พญ.วราภรณ์ กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม อยากให้ผู้มีจิตศรัทธา ที่ต้องการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย นั้นให้ความสำคัญกับการบริจาคปัจจัยที่จำเป็นสำหรับพระภิกษุ ด้วย เพราะพระภิกษุทั่วประเทศก็ต้องเผชิญปัญหาไม่ต่างจากญาติโยม ซึ่งขณะนี้ ทาง รพ.สงฆ์ ก็พร้อมสำหรับการรับมอบสิ่งของที่จัดอยู่ในปัจจัยสี่ เพื่อเตรียมช่วยเหลือพระภิกษุฯ ในพื้นที่ กำลังประสบอุทกภัย ในพื้นที่ จ.สงขลา เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ทาง รพ.สงฆ์ ได้ประสานงานร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนา แต่ละจังหวัด เพื่อติดตามดำเนินการการช่วยเหลือเพิ่มเติม โดยเฉพาะเรื่องของการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ สำหรับเฝ้าติดตามสุขภาพอนามัยของพระสงฆ์ที่เผชิญอุทกภัยด้วย

4 พฤศจิกายน 2553

Next post > “จุรินทร์” เผยโรงพยาบาลที่ประสบภัยน้ำท่วมเปิดให้บริการทั้งหมดแล้ว ยอดคนป่วยจากน้ำ ท่วมพุ่งกว่า 3 แสนราย

< Previous post แนะเลี้ยงลูกมีคุณภาพได้มาตรฐาน ใช้การเล่านิทานอย่างถูกวิธีและเหมาะกับวัย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด