logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

แพทย์ชนบทชี้ “เมดิคัลฮับ” ดึงหมอ ตจว.เข้ากรุง

http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9530000155240

      จากกรณีที่มีความเห็นจากหลายฝ่ายออกมาคัดค้านร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (เมดิคัล ฮับ) พ.ศ.2553-2557 โดยหลายฝ่ายมองว่า ยุทธศาสตร์ดังกล่าว มีเป้าหมายที่จะดึงผู้ป่วยต่างชาติให้เข้ามารับบริการในเมืองไทยเป็นจำนวนมาก และกังวลกันว่า แผนเมดิคัลฮับจะมีส่วนทำให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจากภาครัฐถูกเอกชนดึงตัวไป เพื่อรองรับผู้ป่วยต่างชาติที่จะหลั่งไหลเข้ามาจนเกิดภาวะขาดแคลนแพทย์นั้น
       
       ล่าสุด วานนี้ (3 พ.ย.) นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า หากรัฐยังไม่สามารถตตอบโจทย์ว่าจะดึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาไว้ในระบบเมดิคัล ฮับ จำนวนเท่าไร ที่ไหนบ้าง ก็ยังไม่ควรออกนโยบายผลักดันเรื่องนี้ เนื่องจากอย่าลืมว่า ปัจจุบันบุคลากรทางการแพทย์ยังคงขาดแคลนอยู่ ที่สำคัญ การที่ระบุว่าการทำเมดิคัล ฮับ จะเป็นการดึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่จบจากต่างประเทศเข้ามาดำเนินการนั้น ก็ไม่น่าเชื่อถือ เพราะปัจจุบันแพทยสภามีกฎข้อบังคับในการสอบใบประกอบโรคศิลปะด้วยข้อสอบภาษาไทย ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อแพทย์ต่างชาติ เนื่องจากไม่มีภาษาอังกฤษ ดังนั้น หากไม่ปลดล็อกข้อบังคับดังกล่าว รพ.เอกชนก็จะดึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญภายในประเทศอยู่ดี ซึ่งปัจจุบันเห็นได้ชัดตาม รพ.เอกชนชื่อดัง มีการดึงอาจารย์จากโรงเรียนแพทย์ทั้งสิ้น
       
       นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวด้วยว่า โดยสภาพปกติแพทย์ต่างจังหวัดถูกดึงตัวไปอยู่ใน รพ.เอกชนและคลีนิกเสริมความงามอยู่แล้ว แม้ว่านโยบายเมดิคัลฮับ ยังไม่เกิดขึ้นก็ตาม ทั้งนี้ หากมีการผลักดันนโยบายนี้อีก ปัญหาก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น ดังนั้น เห็นควรว่า การแก้ปัญหาสมองไหล รัฐควรจะเพิ่มค่าตอบแทนให้แก่แพทย์เพื่อเป็นแรงจูงใจ เช่น ปัจจุบันค่าตอบแทนระหว่างบุคลากรภาครัฐกับเอกชนต่างกันประมาณ 8-10 เท่า ก็ควรจะร่นให้เหลือ 1-2 เท่า เพราะขณะนี้แพทย์จบใหม่ที่ไปอยู่กับเอกชนจะได้เงินเดือนไม่ตํ่ากว่า 100,000 บาท หากเป็นระดับอาจารย์แพทย์ก็ไม่ตํ่ากว่า 200,000 บาท ขณะที่ภาครัฐได้ไม่เกิน 30,000-40,000 บาท นอกจากนี้ ควรเพิ่มค่าปรับกรณีไม่ชดใช้ทุน ที่ปัจจุบันอยู่แค่ 4 แสนบาท ควรเพิ่มในอัตราสูงประมาณ 2-3 ล้าน ซึ่งจะช่วยรั้งให้แพทย์เหล่านี้ทำงานใช้ทุนต่อไปได้
       
       ด้าน น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และคณะทำงานวิชาการเฉพาะประเด็นเรื่องนโยบายการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติในการประชุมสมัชชาสุขภาพครั้งที่ 3 กล่าวว่า รัฐบาลควรมุ่งเน้นให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่ไปสนับสนุนบริการสาธารณสุขของ รพ.ของเอกชนที่มุ่งเน้นเรื่องธุรกิจเป็นหลัก และต้องไม่นำโรงพยาบาลชั้นนำของรัฐเข้าร่วมในเมดิคัลฮับด้วย โดยประเด็นสำคัญที่ภาคีเครือข่ายสมัชชาสุขภาพทั่วประเทศเสนอความเห็นเข้ามาเพื่อร่วมในการประชุมเวทีสมัชชาสุขภาพครั้งที่ 3 นี้ คือ การเพิ่มอัตราการปรับเงินสำหรับแพทย์ที่ลาออกก่อนครบกำหนดการใช้ทุน จากเดิมที่กำหนดเอาไว้คนละ 400,000 บาท เพราะเป็นอัตราเก่าที่กำหนดเอาไว้นานมากแล้ว ซึ่งปัจจุบันค่าใช้จ่ายที่รัฐต้องสนับสนุนตกคนละ 3 ล้านบาท การเพิ่มค่าตอบแทนให้บุคลากรภาครัฐเท่าเทียมกับภาคเอกชนโดยกำหนดเพดานค่าตอบแทนระหว่างเอกชนกับรัฐไม่ให้สูง

4 พฤศจิกายน 2553

Next post > “จุรินทร์” เผยโรงพยาบาลที่ประสบภัยน้ำท่วมเปิดให้บริการทั้งหมดแล้ว ยอดคนป่วยจากน้ำ ท่วมพุ่งกว่า 3 แสนราย

< Previous post แนะเลี้ยงลูกมีคุณภาพได้มาตรฐาน ใช้การเล่านิทานอย่างถูกวิธีและเหมาะกับวัย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด