logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

กรมสุขภาพจิตแนะวิธีลดอาการเครียดจากน้ำท่วม

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34529

        นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำท่วมขณะนี้ ส่งผลให้ผู้ประสบภัยเกิดความเครียดกันมากขึ้น ซึ่งความเครียดเป็นกลไกทางจิตใจที่เกิดขึ้นได้ทั่วไปเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งหากผู้ประสบภัยได้รับการเอาใจใส่ช่วยเหลือกัน โดยเฉพาะปัจจัยสี่ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตอย่างรวดเร็วและทั่วถึง ก็จะช่วยบรรเทาปัญหาลงได้ ซึ่งขณะนี้หน่วยงานทั้งรัฐ เอกชน และประชาชนได้ช่วยกันระดมความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ นับว่าเป็นจุดแข็งพื้นฐานของสังคมไทย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรมสุขภาพจิตได้เร่งดำเนินการจัดหน่วยสุขภาพจิตเคลื่อนที่ออกให้บริการคลายเครียดแก่ผู้ประสบภัยร่วมกับหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ทางกายทุกจังหวัด ซึ่งเป็นนโยบายของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อย่างต่อเนื่องทุกวัน เพื่อป้องกันผลกระทบทางกาย หากมีความเครียดสูงหรือเครียดรุนแรง ซึ่งจะทำให้เจ็บป่วยง่าย          โดยผู้ประสบภัยที่มีอาการเครียดนอนไม่หลับสามารถเข้ารับบริการได้ที่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำ

 

          อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า สำหรับวิธีการช่วยลดอาการเครียดในเบื้องต้น ขอให้ประชาชนที่อยู่ในชุมชนประสบภัยน้ำท่วมเอาใจใส่ รวมตัวช่วยเหลือกัน จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจของผู้ประสบภัยและของชุมชน ซึ่งพลังใจนี้จะช่วยให้ผู้ประสบแต่ละคนเผชิญวิกฤติได้ดีขึ้นสามารถนำพาชุมชนก้าวผ่านวิกฤติน้ำท่วมไปได้ ขอให้ผู้ประสบภัยจัดเวลานอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ให้พูดคุยกับคนใกล้ ชิด สวดมนต์ไหว้พระ จะทำให้จิตใจรู้สึกดีขึ้น อาการเครียดก็จะค่อยๆ ลดลงจนเป็นปกติ ได้เองประมาณ 2 สัปดาห์ แต่หากไม่ดีขึ้น เช่น นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ใจสั่น ควรปรึกษาแพทย์ที่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ หรือสถานพยาบาลที่อยู่ใกล้ หรือโทรสายด่วน 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งมีทั้งหมด 33 คู่สาย โดยมีจิตแพทย์นักจิตวิทยา นักสังคม สงเคราะห์สุขภาพจิตพยาบาลจิตเวช คอยให้บริการ ทั้งนี้ ผลการดำเนินการในช่วงที่มีน้ำท่วมพบมียอดโทรปรึกษาในเดือนตุลาคม ที่ผ่านมา 7,000 สายเพิ่มขึ้นจากปกติ

 

4 พฤศจิกายน 2553

Next post > “จุรินทร์” เผยโรงพยาบาลที่ประสบภัยน้ำท่วมเปิดให้บริการทั้งหมดแล้ว ยอดคนป่วยจากน้ำ ท่วมพุ่งกว่า 3 แสนราย

< Previous post แนะเลี้ยงลูกมีคุณภาพได้มาตรฐาน ใช้การเล่านิทานอย่างถูกวิธีและเหมาะกับวัย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด