logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

Link: http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9530000154617

“หนาว” ทำกลไกร่างกายเพี้ยน

“ถ้าใครมีปู่ย่าตายาย หรือคนเฒ่าคนแก่ที่บ้าน อาจจะเคยได้ยินการพยากรณ์อากาศฉบับภูมิปัญญาไทย ว่า น้ำมากจะหนาวมาก ปีนี้เมืองไทยน้ำท่วมหนักหลายพื้นที่ ก็น่าจะเป็นไปได้ อากาศจะหนาวมากเช่นกัน สาวๆ หลายคนอาจจะสดชื่นแล้วเตรียมเอาแฟชั่นสวยๆ งามๆ รับลมหนาวออกมาปัดฝุ่น แต่อย่างหนึ่งที่เราต้องรู้ให้เท่าทันฤดูหนาว ก็คือ แม้อากาศจะสบาย ไม่ร้อน ไม่เหนอะหนะอย่างทุกฤดูของบ้านเรา ในความเย็นก็ยังมีโรคภัยไข้เจ็บที่พร้อมจะเล่นงานร่างกายของเราเช่นกัน”

เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลที่ถือเป็นต้นแบบการนำสมุนไพรและภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยมาผสมผสานในการรักษาและดูแลสุขภาพคนไทยมานานนับสิบปีอย่างโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี ให้ความรู้ต่อไปอีกว่า ในทางการแพทย์แผนไทย เชื่อว่า อากาศที่หนาวเย็นจะทำให้กลไกการทำงานไม่ดีเท่าที่ควร ธาตุไฟจะทำงานผิดปกติ ส่งผลต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย และในทางการแพทย์แผนปัจจุบันก็พบว่า อากาศที่เย็นทำให้เชื้อไวรัส เช่น เชื้อหวัด หรือเชื้อเอชไอวี รวมถึงตาแดง อีสุกอีใส ดำรงชีวิตอยู่ในอากาศได้ยาวกว่าในอากาศร้อน

อาหารเป็นยา ภูมิปัญญาอร่อยๆ

“แพทย์แผนไทย เชื่อว่า อากาศเย็นทำให้ธาตุไฟทำงานไม่ดี ธาตุไฟนี่เกี่ยวกับระบบการย่อยอาหาร ระบบเผาผลาญ รวมไปถึงระบบการไหลเวียนโลหิตด้วย ส่วนที่อยู่นอกที่สุดของร่างกายอย่างผิวหนังก็จะได้รับผลกระทบ คือ จะแห้ง แตก เป็นกระง่าย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และเมื่อผิวแห้งแตก เชื้อโรคก็จะเข้าไปในร่างกายผ่านแผลที่แตกทางผิวหนัง โดยปกติผิวจะมีน้ำมันเคลือบในการป้องกันผิวส่วนนอก แต่เวลาหนาวผิวแห้ง น้ำมันที่เคยมีก็ไม่มี ภูมิปัญญาไทยไม่ได้แนะนำให้กินยา แต่การดูแลร่างกายในหน้าหนาวของบ้านเรานี่น่าสนใจ เพราะมันมากับความอร่อย!”

ภญ.สุภาภรณ์ ขยายความว่า เหมือนเป็นประเพณีที่ในฤดูหนาวพ่อเฒ่าแม่แก่ทั้งหลายมักจะทำอาหาร หรือขนมพิเศษๆ ที่มักจะไม่ค่อยทำในฤดูอื่น ซึ่งจริงๆ แล้วนั่นคือความฉลาดของคนโบราณ เช่น “บัวลอยไข่หวาน” ก็มักจะเป็นขนมหน้าหนาวสำหรับคนภาคกลาง หรือ “ข้าวหนึกงา” ก็มักจะเป็นขนมหน้าหนาวของชาวเหนือ ที่มีงาและข้าวเหนียวเป็นส่วนประกอบหลัก

นอกจากนี้ เมนูอุ่นๆ แสนอร่อยแบบฉบับไทยๆ ที่หลายภาคส่งเข้าประกวดยังมีอีกมาก ไม่ว่าจะเป็น ข้าวปุ๊ก ข้าวหลาม รำหมกกล้วย เป็นต้น ซึ่งขนมเหล่านี้จะมีไขมันอยู่บ้าง ทำให้ร่างกายได้รับไขมัน น้ำมัน ซึ่งต่อมไขมันขะขับน้ำมันธรรมชาติมาเคลือบผิวไม่ให้แตกแห้งในฤดูหนาวนั่นเอง

อุ่นๆ ด้วยพืชผักแถมรักษาโรค!

“ส่วนพืชผักในหน้าหนาวนี้ ก็เหมือนธรรมชาติจัดสรรทั้งนั้น ฤดูนี้ควรกินประเภทพืชผักที่มีรสร้อน ออกฤทธิ์ร้อน ทำให้ร่างกายอุ่น เช่น ดีปลี รากเจตมูลเพลิงแดง เถาสะค้าน รากช้าพลู และพืชหอม พวกที่มีน้ำมันหอมระเหย ขิง ข่า ตะไคร้ กระเพรา พริก”

เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรรายนี้ยังอธิบายต่ออีกว่า ในฤดูนี้โรคยอดฮิตที่มักจะมาพร้อมกับความหนาวเย็น หนีไม่พ้นโรคระบบทางเดินหายใจ เป็นหวัด ไอ จาม เจ็บคอ เป็นไข้ และรวมไปถึงอาการไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นเพราะธาตุไฟทำงานผิดปกติ แต่อาการเหล่านี้หากไม่เป็นมากนัก ไม่จำเป็นต้องไปหาหมอ และสามารถดูแลรักษาได้ด้วยตัวเอง จากพืชผักข้างบ้านหรือสมุนไพรในครัวแบบหาง่ายๆ นี่แหละ!

“อย่างแรกที่ควรทำเมื่อลมหนาวมาคือการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ป้องกันดีกว่ารักษาอยู่แล้ว กินอาหารให้ครบห้าหมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ และเสริมด้วยการกินอาหารที่มีภูมิคุ้มกันอย่างวิตามิซี วิตามินอี ที่มีมากในฝาง หมากเม่า ผลไข่เน่า พืชตระกูลเบอรี่ และมะขามป้อม”

 และก่อนจะจากกันในสายลมหนาวสายแรกของต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ ภญ.สุภาภรณ์ ได้ทิ้งท้ายด้วยเคล็ดลับดีๆ มากมายชนิดไม่หวงวิชา โดยย้ำว่า อยากให้คนไทยรู้จักทำยาเป็น ไม่ต้องซื้อหา เพราะปู่ย่าตายายของเราก็ไม่ได้ซื้อยาจำพวกยาแก้โรคเล็กๆ น้อยๆ แต่มักจะทำยาเอง สมบัติด้านสุขภาพของไทยมีมากมายในธรรมชาติ หากรู้จักใช้ ใช้ให้เป็น สืบทอดภูมิปัญญา และที่สำคัญคือปลูกวัตถุดิบทดแทนพืชผักต่างๆ ที่ใช้ไป คนไทยก็จะส่งต่อความรู้อันมีค่านี้ไปได้จนถึงชั่วลูกชั่วหลาน

  
       

       ยาแก้ไอประสะมะขามป้อม
       
       ยาแก้ไอในครัวเรือน ทำง่ายๆ เองได้โดยใช้ มะขามป้อม 50 กรัม, ช้าพลู 10 กรัม, สะค้าน 10 กรัม, เจตมูลเพลิงแดง 10 กรัม, ชะเอมเทศ 20 กรัม, น้ำตาลทรายแดงหรือน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ
       
       วิธีทำ : ต้มส่วนผสมทุกอย่างในหม้อ เคี่ยวไฟปานกลาง ใส่น้ำลงไป 1,500 มิลลิลิตร แล้วเคี่ยวให้เหลือแค่ 1 ใน 3 คือ ประมาณ 500 มิลลิลิตร เติมน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง แล้วกรองด้วยผ้าสะอาด จิบบ่อยๆ เมื่อมีอาการไอ และควรอุ่นยาทุกวัน
       
  
       
อร่อยอิ่มอุ่นกับ “ข้าวปุ๊ก”
       
       เมนูต้านหนาวแบบชาวเหนือทำไม่ยากเช่นกัน เริ่มจากนึ่งข้าวเหนียวให้สุก (แต่ถ้าจะซื้อแบบที่นึ่งใหม่ๆ มาจากร้านแถวบ้านก็ไม่ผิดกติกา) จากนั้นเอางาดำมาคั่วจนสุก แล้วตำๆ กันข้าวเหนียวให้เข้ากัน ตั้งไว้ให้แห้ง ตัดเป็นคำๆ เก็บไว้ในถุงหรือทัพเพอร์แวร์ เวลาหนาวๆ เอามาย่างไฟหรือทอด ให้ร้อนๆ นั่งกินหนุบหนับริมระเบียงรับลมหนาว … เอาสเต็กมาแลกก็ไม่ยอม (สำหรับคนชอบหวาน จิ้มนมข้นกินเหมือนปาท่องโก๋ก็อร่อย…คอนเฟิร์ม)
    
น้ำมันรำข้าว…เพื่อนผิว เพื่อนผม
       
       ไม่จำเป็นต้องไปหาโลชั่นแพงๆ จากต่างประเทศให้เสียดุลการค้า เพราะน้ำมันรำข้าวนี้คุ้มเสียยิ่งกว่าคุ้ม เพราะทาผิวก็ได้ หมักผมก็ดี แต่ถ้าจะให้ปลอดสารพิษจริงๆ ควรจะให้เวอร์ชันที่ระบุฉลาก ว่า เป็นน้ำมันรำข้าว “เกษตรอินทรีย์” วิธีใช้ก็ง่ายๆ เมื่อลมหนาวพัดมาแล้วรู้สึกแห้งกร้านตามผิวเนื้อและใบหน้า ให้ทาถูๆ ด้วยน้ำมันรำข้าวเกษตรอินทรีย์แบบเดียวกับที่ทาโลชั่น แต่ฟีเจอร์พิเศษ คือ มันสามารถใช้หมักผมได้ด้วย หลังสระผมหากต้องการให้ผมนุ่มสลวยสวยเก๋ ควรใช้น้ำมันรำข้าวโชลมบางๆ เพื่อบำรุงและเพิ่มความชุ่มชื่นให้เส้นผมสวยๆ ของคุณ

 

3 พฤศจิกายน 2553

Next post > กรมสุขภาพจิตแนะวิธีลดอาการเครียดจากน้ำท่วม

< Previous post ตั้งวอร์รูมรับมือโรคภัยหนาว

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด