logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

Link: http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9530000154021

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิทยา แก้วภราดรัย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) แถลงผลการประชุมวิปรัฐบาล  วิปรัฐบาลได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ…. และข้อสรุปคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์ในระบบบริการสาธารณสุขโดยได้เชิญปลัดกระทรวงสาธารณสุขและคณะกรรมการมาให้ข้อมูลเรื่องข้อสรุปร่วมกัน ซึ่งวิปรัฐบาลเห็นว่าข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ที่จะมีการปรับปรุงร่างกฎหมายฯ 12 ประเด็น โดยวิปรัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขกลับไปทำความชัดเจนว่าในการแก้ไขนั้นจำเป็นจะต้องยกร่างฯ ขึ้นมาใหม่หรือให้การแก้ไขเป็นภาระของสภาผู้แทนราษฎรหรือให้ปรับปรุงกันในชั้นกรรมาธิการ และให้กระทรวงสาธารณสุขไปทำความเข้ากับบุคลากรทางการแพทย์ในขอบข่ายทั่วประเทศ เพราะหลายคนยังกังวลต่อกฎหมายฉบับนี้

นายวิทยา กล่าวว่า เบื้องต้นวิปรัฐบาลยังไม่ได้มีการเลื่อนระเบียบวาระการพิจารณาเรื่องร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ หรือขอถอนออกจากวาระ แต่ได้ขอให้ทางกระทรวงสาธารณสุขเร่งดำเนินการทำความเข้าใจกับบุคลากรทางการแพทย์และทำความชัดเจนเรื่องกฎหมาย โดยไม่ได้มีการกำหนดกรอบเวลาอะไร หากระหว่างที่ยังไม่มีความชัดเจนจากกระทรวงสาธารณสุขแต่เมื่อถึงวาระที่จะต้องพิจารณาร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้แล้ววิปรัฐบาลก็จำเป็นจะต้องดำเนินการพิจารณาไปตามกระบวนการโดยไม่รอกระบวนการภายในของกระทรวงสาธารณสุข

แหล่งข่าวจากแกนนำวิปรัฐบาล เปิดเผยว่า 12 ประเด็นที่วิปรัฐบาลมอบหมายให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขไปพิจารณานั้นมีประเด็นที่น่าสนใจคือ 1.เปลี่ยนชื่อจากร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ…. มาเป็น ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการรับบริการสาธารณสุขหรือร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้รับบริการและผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายจากการบริการสาธารณสุข 2.เปลี่ยนหลักการของร่างกฎหมายฟให้เป็น “ให้มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการรับบริการสาธารณสุข” ซึ่งจะคุ้มครองทั้งผู้เสียหายและแพทย์ผู้ให้บริการ 3.เปลี่ยนคำนิยามของผู้เสียหาย ที่หมายความถึงผู้ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขจากสถานพยาบาล ให้เป็น “ผู้เสียหาย” ในหลักการควรคุ้มครองเฉพาะประชาชนชาวไทย เนื่องจากเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนชาวไทยที่ควรจะได้รับความคุ้มครอง ซึ่งวิปรัฐบาลได้ตั้งข้อสังเกตว่าควรคุ้มครองแรงงานต่างด้าวด้วยหรือไม่

แหล่งข่าวระบุว่า นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่ 8 เรื่องของการทำสัญญาประณีประนอมยอมความเมื่อรับเงินชดเชยไปแล้ว “เป็นการทำสัญญาประณีประนอมยอมความเพื่อยุติการดำเนินคดี” โดยในสัญญาประณีประนอมยอมความดังกล่าวควรมีเนื้อหาที่กำหนดให้ผู้เสียหายยินดีที่จะยุติการฟ้องร้องคดีทางแพ่งและอาญา และประเด็นที่ 9 การฟ้องร้องคดีอาญาและบทลงโทษ ซึ่งเห็นว่าในหลักการเมื่อรับเงินไปแล้วควรยุติการฟ้องคดีทางแพ่งและอาญา และเพื่อคลายความกังวลของทั้ง 2 ฝ่ายในสัญญาประณีประนอมยอมความควรกำหนดว่า “เมื่อรับเงินช่วยเหลือไปแล้วก็จะไม่มีการฟ้องคดีทางแพ่งและอาญาต่อไป” อย่างไรก็ตามกฎหมายจะยุติได้เฉพาะคดีแพ่ง แต่ทางอาญาก็จะได้ประโยชน์ในการพิจารณาคดีในชั้นศาล โดยให้คงมาตรา 45 ที่ระบุถึงการให้ศาลนำเรื่องการที่ผู้เสียหายไม่ติดใจให้จำเลยได้รับโทษ มาพิจารณาประกอบด้วยในการนี้ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดหรือไม่ลงโทษเลยก็ได้

2 พฤศจิกายน 2553

Next post > “จุรินทร์” เยี่ยม รพ.หาดใหญ่เร่งแก้ปัญหา 5 เรื่องหลัก

< Previous post สยอง...น้ำท่วมมา ระวัง โรคห่า เวอร์ชั่นใหม่ครองเมือง?

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด