logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สปสช.เผยจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์กับ อภ.ปี 53 ประหยัดงบ 4 พันล้าน

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000153381

        นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) หลังจากที่สปสช.ได้ร่วมมือกับ องค์การเภสัชกรรม ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างร่วม เพื่อพัฒนาการบริหารยาและเวชภัณฑ์โดยระบบ VMI (Vendor Managed Inventory) นั้น พบว่าผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2553 สามารถประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายของประเทศได้ถึง 4,083 ล้านบาท และมีผลต่อเนื่องในการเพิ่มการเข้าถึงบริการให้แก่ประชาชนด้วย ซึ่งในรอบปีที่ผ่านมา สปสช.ได้ดำเนินการระบบ VMI กับองค์การเภสัชกรรมใน 3 รายการหลัก คือ 1.วัสดุการแพทย์ ได้แก่ สายสวนเพื่อการขยายหลอดเลือดโคโรนารี(สเต็นท์) 3 รายการ จำนวน 16,779 เส้น สามารถประหยัดได้ 396 ล้านบาท และ การผ่าตัดตาต้อกระจกในรูปแบบหน่วยเคลื่อนที่ มีการผ่าตัด 19,200 ราย สามารถประหยัดได้ 134 ล้านบาท 2.ยา ได้แก่ ยาในกลุ่ม CL กลุ่มยาต้านไวรัสเอชไอวี กลุ่มยาในโครงการวัณโรค รายการยาบัญชียา จ.2 และวัคซีนไข้หวัดใหญ่ สามารถประหยัดได้ 3,177 ล้านบาท 3.น้ำยาล้างไตทางช่องท้อง 9.4 ล้านขวด ประหยัดได้ 376 ล้านบาท
      
       เลขาธิการสปสช. กล่าวต่อว่า ราคาที่ลดลงจากการสั่งซื้อในปริมาณมาก และการลดต้นทุนจากเทคโนโลยีการบริหารจัดการพัสดุในระบบ VMI ซึ่งเข้าไปช่วยบริหารจัดการคลังยาและเวชภัณฑ์ของลูกค้าให้มีคลังยาและเวชภัณฑ์ที่เหมาะสม โดยการนำยาไปเติมเต็มให้เมื่อถึงจุดกำหนด การบริหารจัดการระบบนี้จะทำให้รพ.ลดปริมาณการสำรอง และมียาใช้เพียงพอตลอดเวลา ได้รับยาที่ผลิตใหม่ ลดการสูญเสียจากการทำลายยาที่รพ.ส่งคืนยาที่หมดอายุ สามารถขยายจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับบริการได้มากขึ้น เนื่องจากมีการบริหารคลังยาที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้งบประมาณเท่าเดิม ประเทศชาติลดการสูญเสียทรัพยากรจากการทำลายยาหมดอายุ รักษาสภาพแวดล้อม อันเนื่องจากมีการทำลายยาหมดอายุลดลง
      
       นพ.วินัย กล่าวต่อว่า นอกจากนั้นผลจากการมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปัจจุบันประชาชนไทยกว่าร้อยละ 99.16 หรือเกือบทุกคนมีหลักประกันด้านสุขภาพ ซึ่งครอบคลุมเรื่องการดูแลสุขภาพ ส่งเสริม ป้องกันและรักษาโรค ส่งผลให้สัดส่วนของรายจ่ายด้านสุขภาพต่อรายได้หรือรายจ่ายของครัวเรือนลดลง จากเดิมที่สัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพพุ่งสูงถึงร้อยละ 50 ในปี 2529 ลดลงมาเหลือน้อยกว่าต่ำกว่าร้อยละ 10 ในปี 2550 ซึ่งทำให้คนไทยไม่ต้องล้มละลายจากค่ารักษาพยาบาลหรือขายทรัพย์สินเพื่อมารักษาพยาบาลอีกต่อไป

 

1 พฤศจิกายน 2553

Next post > “จุรินทร์” สั่งรพ.หาดใหญ่เตรียมป้องกันน้ำเข้าท่วมรพ.เต็มที่ ให้สำรองออกซิเจนเต็มอัตราใช้ได้อย่างน้อย 14 วัน

< Previous post Journal club ประจำเดือนตุลาคม

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด