logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

Link: http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34430

ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่าจากการบริโภคยาจากสมุนไพรของผู้บริโภคที่หลงเชื่อสรรพคุณที่มีการโฆษณาเกินจริง ทำให้มีโอกาสได้รับการปลอมปนด้วยยาแผนปัจจุบัน นับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ แม้ว่าหน่วยงานภาครัฐจะมีการกำกับและควบคุมการผลิต แต่ผู้ผลิตบางรายได้มีการนำยาแผนปัจจุบันมาผสมในยาแผนโบราณ เพื่อให้เกิดผลการรักษาที่รวดเร็ว ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะยาลูกกลอนที่มีลักษณะเป็นลูกกลมๆ ขนาดเท่าเมล็ดพุทราไทย มีสีดำหรือสีอื่นๆ กินแล้วจะเกิดอาการตัวบวมและค่อยๆ อ้วนขึ้น แม้จะหยุดกินยาแล้วก็ตาม ส่วนมากยาเหล่านี้ซื้อมาจากผู้ขายประเภทขายตรง ยาทำบุญพระแจกหรือยาผีบอก และยาที่ลักลอบเข้ามาจำหน่าย โดยทำเป็นเม็ดหรือลูกกลอน หากกินแล้วก็รู้สึกว่าเหมือนจะรักษาได้ทุกโรคจริงๆ เห็นผลเฉียบพลัน มีตั้งแต่แก้ปวดเมื่อยไปจนถึงรักษาโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ ไต เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย เครือข่ายศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ในส่วนภูมิภาคทั้ง 14แห่ง ได้ร่วมกับ สำนักยาและวัตถุเสพติด ภายใต้โครงการวิทยาศาสตร์การแพทย์สู่ชุมชน (ComMedSci)ได้มีการรวบรวมข้อมูลผลการทดสอบตัวอย่างยาจากสมุนไพร ซึ่งนำส่งจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาล และภาคเอกชนทั่วประเทศ ส่งตรวจระหว่างปี 2551 – 2552 จำนวนทั้งสิ้น 1,584 ตัวอย่าง พบว่ามีการปลอมปนยาแผนปัจจุบัน จำนวน 283 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 17.87 โดยพบการปลอมปนสูงในยาจากสมุนไพร ที่เป็นเม็ดลูกกลอน และยังพบว่ามียาแผนปัจจุบันปลอมปนมากกว่า 1 ชนิด สูงถึงร้อยละ 47.00 ของตัวอย่างที่ตรวจพบ

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข  กล่าวต่ออีกว่า ยาแผนปัจจุบันที่ตรวจพบได้แก่ เดกซาเมทาโซน (Dexamethasone) เพรดนิโซโลน (Prednisolone) แอนติฮีสตามีน (Antihistamine)ยาต้านอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ดังนั้นการนำยาแผนปัจจุบันผสมลงในยาจากสมุนไพรอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่งผลจากการดำเนินโครงการดังกล่าวกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยเครือข่าย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 14แห่ง ได้ประสานหน่วยงานที่รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขในแต่ละพื้นที่เพื่อดำเนินตามกฎหมายกับผู้ผลิตยาสมุนไพรดังกล่าวแล้ว นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการใช้ชุดทดสอบสเตียรอยด์ที่ได้พัฒนาขึ้นให้แก่โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) สถานีอนามัย และหน่วยงานอื่นๆ ที่สนใจ สามารถนำไปตรวจสอบได้ด้วยตนเอง เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้บริโภคและเฝ้าระวังความปลอดภัยในเบื้องต้น

นายแพทย์นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับยาเดกซาเมทาโซน และเพรดนิโซโลนจัดเป็นยาแผนปัจจุบันในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid)หรือเรียกสั้นๆ ว่า สเตียรอยด์ ยากลุ่มนี้เป็น “ยาควบคุมพิเศษ” ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 ต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายยาเท่านั้น หากรับประทานยาชนิดดังกล่าวเป็นประจำ อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย เช่น เกิดแผลในกระเพาะอาหารถึงขั้นกระเพาะทะลุได้ ทำให้ตัวบวม หน้าบวม กระดูกผุกร่อน เปราะแตกง่าย ภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำลง ซึ่งทำให้ติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่าย นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมีอาการเพิ่มขึ้น หรือต้องใช้อินซูลินมากขึ้น เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและเมื่อใช้ยาเป็นเวลานานแล้วหยุดรับประทานกระทันหัน ร่างกายจะปรับตัวไม่ทันทำให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ทั้งนี้สำหรับชุดทดสอบเบื้องต้นเพื่อตรวจหารสารสเตียรอยด์ ที่ปลอมปนในยาสมุนไพรนั้นผู้ที่สนใจสามารถซื้อชุดทดสอบได้ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 14 แห่งทั่วประเทศ หรือที่ร้านค้าสวัสดิการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี โทรศัพท์    0 2965 9745

1 พฤศจิกายน 2553

Next post > “จุรินทร์” สั่งรพ.หาดใหญ่เตรียมป้องกันน้ำเข้าท่วมรพ.เต็มที่ ให้สำรองออกซิเจนเต็มอัตราใช้ได้อย่างน้อย 14 วัน

< Previous post Journal club ประจำเดือนตุลาคม

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด