logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สธ. แนะวิธีป้องกันโรคผื่นคันตามร่างกาย

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34456

          สาธารณสุข แนะวิธีป้องกันโรคผื่นคันตามผิวหน้ารวมทั้งโรคน้ำกัดเท้า ก่อนลงน้ำให้ใช้ขี้ผึ้งมันๆ เช่น วาสลิน หรือขี้ผึ้งวิทฟิลด์ที่ได้รับแจกทาเคลือบผิวหนังและเท้าก่อน จะช่วยลดผิวหนังเปียกชื้นได้ และให้รีบล้างทำความสะอาดบริเวณผิวหนังเท้าหลังลุยน้ำ แล้วเช็ดให้แห้ง โดยเฉพาะตามซอกนิ้วมือ เท้า ย้ำเตือนผู้ที่มีบาดแผลที่เท้าให้หลีกเลี่ยงย่ำน้ำในแหล่งน้ำขังตื้น ๆ หรือเฉอะแฉะ เนื่องจากเสี่ยงติดเชื้อโรคฉี่หนู    


          นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า จากการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ดูแลผู้ประสบภัยน้ำท่วมจนถึงขณะนี้พบว่า ผู้ประสบภัยกว่าครึ่งเป็นโรคผื่นคันและน้ำกัดเท้าจากการลุยน้ำ หรือยืนแช่น้ำที่ท่วมขังเป็นเวลานาน ทำให้หนังกำพร้าที่เท้า โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้าจะขาวซีด และเปื่อยยุ่ย เป็นช่องทางให้เชื้อโรคที่อยู่ในน้ำแทรกผ่านไปถึงผิวหนังชั้นล่าง เกิดการอักเสบ เป็นแผลได้ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้เร่งผลิตยารักษาโรคผื่นคันและน้ำกัดเท้าเพื่อแจกจ่ายผู้ประสบภัยอย่างทั่วถึง

           อย่างไรก็ดี โรคผื่นคันและน้ำกัดเท้าสามารถป้องกันได้ ขอให้ผู้ประสบภัยหลีกเลี่ยงการแช่น้ำเป็นเวลานาน โดยเฉพาะน้ำที่สกปรกมีกลิ่นเน่าเหม็น หากหลีกเลี่ยงไม่ได้และจำเป็นต้องเดินลุยน้ำ ให้ใช้ขี้ผึ้งมันๆ เช่น วาสลิน หรืออาจใช้ขี้ผึ้งวิทฟิลด์ที่ได้รับแจกไปให้ใช้ทาเคลือบเท้า โดยเฉพาะบริเวณง่ามเท้าก่อนลงน้ำหรือโดนน้ำ ขี้ผึ้งจะป้องกันไม่ให้น้ำซึมผ่านผิวหนัง ลดการเปียกชื้นที่ผิวหนังได้ ประการสำคัญภายหลังเดินลุยน้ำแล้ว ให้รีบล้างเท้าด้วยสบู่และน้ำสะอาดทุกครั้ง แล้วเช็ดให้แห้ง และใช้แป้งฝุ่นโรยบริเวณง่ามเท้า เพื่อให้แห้งอยู่เสมอ เนื่องจากบริเวณซอกนิ้วเท้าจะเป็นจุดที่หมักหมมสิ่งสกปรกและความอับชื้นได้ดี


           นายแพทย์สุพรรณกล่าวต่อว่า ในกรณีผู้ที่มีบาดแผลจากน้ำกัดเท้าแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการแช่ตัวและเท้าในน้ำให้มากที่สุด เพื่อให้ผิวหนังมีเวลาฟื้นตัวกลับสู่สภาวะปกติ ควรสวมรองเท้าบู๊ทหากจำเป็นต้องลุยน้ำ โดยขอให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสแหล่งน้ำขังตื้น ๆ หรือพื้นดินที่ชื้นแฉะ ซึ่งมักจะมีเชื้อโรคฉี่หนูปนเปื้อนอยู่ เชื้อสามารถไชเข้าทางบาดแผลได้ หากผิวหนังตามร่างกายโดยเฉพาะเท้าที่มีบาดแผล เปียกน้ำ ขอให้รีบล้างตัวและเท้าด้วยน้ำสะอาด และเช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาด แล้วล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าบาดแผล จากนั้นให้ทาครีมรักษาโรคผื่นคันและน้ำกัดเท้า วันละ 2 ครั้ง จนกว่าจะหาย หรืออาจใช้ยาโพวิโดนที่อยู่ในยาชุดน้ำท่วมทาแผลก็ได้          

1 พฤศจิกายน 2553

Next post > “จุรินทร์” สั่งรพ.หาดใหญ่เตรียมป้องกันน้ำเข้าท่วมรพ.เต็มที่ ให้สำรองออกซิเจนเต็มอัตราใช้ได้อย่างน้อย 14 วัน

< Previous post Journal club ประจำเดือนตุลาคม

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด