logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

กรมการแพทย์เตรียมแผนรับมือหากน้ำท่วมกรุงเทพฯ

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34401

             นายแพทย์เรวัต วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์  เปิดเผยว่า จากสถานการณ์อุทกภัยในประเทศไทย ส่งผลให้กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  ได้ให้นโยบายในการแก้ไขปัญหาและเตรียมรับมือน้ำท่วม ดังนั้น กรมการแพทย์จึงได้มีการประชุมผู้บริหารโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์  ซึ่งโรงพยาบาลส่วนใหญ่ของกรมการแพทย์ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร  จากการสำรวจ พบว่า โรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์อยู่ในพื้นที่เสี่ยงจำนวน  5 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลเลิดสิน โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี  ศูนย์มหาวชิราลงกรณ ธัญบุรี สถาบันธัญญารักษ์   และสถาบันโรคทรวงอก สำหรับโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ที่ไม่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง จำนวน 9 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลสงฆ์ โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง ) สถาบันโรคผิวหนัง สถาบันประสาทวิทยา สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี  ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ   และสถาบันทันตกรรม  จึงได้สั่งการให้โรงพยาบาลดังกล่าว เตรียมพร้อมรับมือโดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือ พร้อมให้บริการผู้ป่วยโดยไม่มีเงื่อนไข  เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานกำหนดแผนการและมาตรการรองรับสถานการณ์น้ำท่วม  4 ด้าน  ได้แก่ 1.แผนการป้องกันน้ำท่วมในโรงพยาบาล  โดยวางแนวกระสอบทรายป้องกันน้ำท่วม รวมทั้งตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมในบริเวณที่สำคัญต่างๆ ของโรงพยาบาล  ได้แก่ หน่วยจ่ายกลาง โรงขยะ โรงครัว โรงไฟฟ้า โรงบำบัดน้ำเสีย คลังยา และบริเวณรอบโรงพยาบาล  2.แผนการสำรองทรัพยากร โดยการสำรองวัสดุทางการแพทย์ ยา ออกซิเจนเหลว เชื้อเพลง อาหารและน้ำ 3.แผนการรับและส่งต่อผู้ป่วย  โดยการเตรียมยานพาหนะรับส่งผู้ป่วยในโรงพยาบาล สำรองเตียงเพื่อพร้อมรับผู้ป่วยจากหน่วยงานอื่นที่ประสบภัยน้ำท่วมและต้องการความช่วยเหลือ 4.แผนปรับระบบการบริการ โดยการเตรียมวางแผนย้ายจุดให้บริการทางการแพทย์ เครื่องมือแพทย์และยาขึ้นมาบนพื้นที่สูง  ตลอดจนเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรโดยจัดระบบอัตรากำลังหมุนเวียนให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง  ซึ่งขณะนี้กรมการแพทย์ได้ดำเนินการตามแผนดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว

29 ตุลาคม 2553

Next post > สธ. เตือน 6 โรคที่มากับภัยหนาว

< Previous post Journal Club ประจำเดือนตุลาคม

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด