logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สธ. เผยไวรัส “อาร์เอสวี” ไม่ใช่โรคใหม่ ไทยพบมานานแล้ว อัตราการรักษาหายสูง

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34415

          จากกรณีสื่อมวลชนเสนอข่าว พบการระบาดของไวรัสชนิดรุนแรง ชื่อไวรัสอาร์เอสวี เข้าสู่ไทย ไม่มียารักษาและไม่มีวัคซีน และกำลังแพร่เชื้อจากเด็กเล็กสู่ผู้สูงอายุ ทำให้คนแก่ที่อ่อนแอเสียชีวิตหลายราย นั้น ในวันนี้ (28 ตุลาคม 2553) นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า เชื้อไวรัส อาร์เอสวี (RSV : Respiratory Syncytial Virus) เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคปอดบวม หรือปอดอักเสบ รวมทั้งหลอดลมอักเสบในเด็ก ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กเล็กๆ อายุต่ำกว่า 2 ปี ไม่ใช่โรคใหม่แต่อย่างใด ในไทยพบมานานแล้ว และพบได้ตลอดปี โดยพบมากในช่วงปลายฝนต้น

           จากการเฝ้าระวังในปี 2552 มีเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี ป่วยเป็นโรคปอดบวมและโรคหลอดลมอักเสบจากเชื้อทุกชนิดรวม 53,727 ราย เสียชีวิต 69 ราย และคาดว่าประมาณร้อยละ 25 หรือประมาณ 10,000 รายมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสเอสอาร์วี

           นายแพทย์ไพจิตร์กล่าวต่อว่า โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งเชื้อชนิดนี้ทั่วโลกไม่มียารักษาโดยตรงอยู่แล้ว แพทย์จะรักษาตามอาการ หากการดูแลดี ก็จะหายได้เอง แต่หากดูแลไม่ดีอาจเกิดโรคแทรกซ้อนทำให้ปอดอักเสบ ซึ่งแพทย์ในโรงพยาบาลทุกแห่งจะมีความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยประเภทนี้อยู่แล้ว เพราะไม่ใช่โรคใหม่ โรคนี้เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เชื้อจะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย แพร่เชื้อสู่คนอื่นได้ทางการไอ จาม เช่นเดียวกับไข้หวัด ผู้ที่มีภูมิต้านทานโรคไม่ดี เช่นผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว รวมทั้งเด็กเล็ก อาจติดเชื้อได้ง่าย อาการป่วยเริ่มต้นจะมีอาการไข้หวัดธรรมดาก่อน อาจมีไข้ต่ำๆ ไอ มีน้ำมูก แต่ต่อมาจะมีไข้สูง หายใจลำบาก เด็กจะซึมลง ไม่กินน้ำ ไม่กินนม มีไข้สูง ไอ หายใจหอบ เร็ว และมีเสียงหวีดหรือฮี๊ด ซึ่งเป็นอาการปอดบวม จะต้องรีบพาไปพบแพทย์โดยเร็ว เพราะอาจเสียชีวิตได้

           นายแพทย์ไพจิตร์กล่าวต่อไปว่า ในการป้องกันไม่ให้ป่วย ขอให้หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในสถานที่แออัด ไม่ให้เด็กเล่นคลุกคลีกับคนที่เป็นหวัด เด็กที่อยู่ในห้องแอร์ หรือในที่อากาศเย็นให้สวมเสื้อผ้าหนาๆ ให้ความอบอุ่นเพียงพอ ประการสำคัญขอให้พ่อ แม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก ล้างมือให้เด็กบ่อยๆ การล้างมือจะช่วยกำจัดเชื้อที่ติดมากับมือทุกชนิดได้กว่าร้อยละ 80 หากมีเด็กป่วยในบ้าน หรือที่ศูนย์เด็กเล็ก สถานที่รับเลี้ยงเด็กเล็ก ให้แยกเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ ไม่ให้คลุกคลีกัน และแยกเครื่องใช้ออกเด็กที่ป่วยออกต่างหาก นอกจากนี้ ยังมีวิธีการป้องกันเด็กป่วยจากทางเดินหายใจทุกชนิด โดยให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งเด็กจะได้รับภูมิต้านทานจากแม่ผ่านทางน้ำนม เด็กก็จะไม่ป่วยง่าย

29 ตุลาคม 2553

Next post > สธ. เตือน 6 โรคที่มากับภัยหนาว

< Previous post Journal Club ประจำเดือนตุลาคม

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด