logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

กรมอนามัย แนะผู้ประสบภัยน้ำท่วม อุ่นร้อนอาหารแห้ง-อาหารกระป๋อง-น้ำดื่ม ลดเสี่ยงท้องร่วง

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34379

          ดร.นพ.สมยศ  ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงการกินอาหารสะอาดปลอดภัยสำหรับผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วม ว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายๆจังหวัด ทั้งภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ส่งผลให้ประชาชนขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม โดยเฉพาะอาหาร เนื่องจากมีข้อจำกัดของการกินอาหารในภาวะที่เกิดภัยพิบัติน้ำท่วม อาทิ มีอาหารจำนวนจำกัดและไม่หลากหลายชนิด โดยเป็นอาหารที่ได้รับจากการบริจาค ส่วนมากจะเป็นอาหารแห้ง และอาหารกึ่งสำเร็จรูป ที่สำคัญไม่สามารถปรุงและประกอบอาหารได้ จึงมีความเสี่ยงต่อการกินอาหารที่ได้รับการปนเปื้อน ซึ่งนำไปสู่ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องร่วง ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค และเกิดภาวะการขาดสารอาหาร 

    ดร.นพ.สมยศ  กล่าวต่อไปว่า  ผู้ประสบภัยที่ได้บริจาคอาหารประเภทเครื่องกระป๋องและสามารถปรุงประกอบอาหารเองได้  ก่อนปรุงควรสังเกตวันหมดอายุ หรือสภาพ สี กลิ่น  โดยกระป๋องต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์  ไม่มีสนิม หรือโป่งพองในส่วนใด เมื่อเปิดกระป๋องต้อง ไม่มีลมดันออกมา รวมถึงตะเข็บกระป๋องต้องไม่มีรอยรั่ว เพราะอาจทำให้เกิดเชื้อจุลินทรีย์ขึ้นภายในกระป๋องได้  ซึ่งเมื่อเปิดแล้วต้องนำมาใส่ภาชนะอื่นก่อน แล้วทำการอุ่นให้เดือดประมาณ 5 นาที ห้ามอุ่นอาหารทั้งกระป๋องโดยเด็ดขาด เพราะอาจจะเกิดอันตรายจากสารเคลือบหรือสารโลหะที่จะละลายปนมาในอาหารได้ ส่วนอาหารกระป๋องที่เปิดแล้วหากกินไม่หมด ต้องถ่ายใส่ภาชนะอื่นที่สะอาด มีฝาปิดมิดชิด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค

 

        “สำหรับบางพื้นที่ที่ประชาชนได้รับอาหารปรุงสำเร็จ โดยเฉพาะอาหารกล่อง ควรกินหลังปรุงภายใน            2-4 ชั่วโมง อาหารต้องบรรจุในภาชนะที่สะอาด ไม่มีแมลงวันตอม ที่สำคัญควรล้างมือทุกครั้งก่อนกินและหลังใช้ห้องน้ำ ห้องส้วม รวมทั้งน้ำดื่มควรเป็นน้ำที่สะอาดผ่านการกรองหรือทำให้ตกตะกอน และควรต้มให้เดือดก่อนดื่ม      เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับน้ำ ทั้งนี้ ประชาชนควรดูแลเรื่องสุขาภิบาลตนเอง โดยอย่าขับถ่ายลงในน้ำ หากไม่สามารถถ่ายอุจจาระในส้วมได้ ให้ถ่ายใส่ถุงพลาสติกมัดปากถุงให้แน่น แล้วนำใส่ถุงขยะอีกครั้งก่อนนำ     ไปทิ้ง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ”  อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด

28 ตุลาคม 2553

Next post > จิตแพทย์แนะวิธีลดเครียด ให้ประชาชนรวมตัวช่วยกันกู้ชุมชน ก้าวผ่านวิกฤติน้ำท่วมให้ได้

< Previous post สมุนไพรในห้องครัว ยาฉุกเฉินยามน้ำท่วม

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด