logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

ถ่ายไขกระดูกหายธาลัสซีเมีย

http://www.thaipost.net/news/271010/29219

            รศ.นพ.สุรเดช หงส์อิง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล เปิดเผยว่า คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ได้เริ่มรักษาโดยการเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก หรือสเต็มเซลล์ ให้แก่ผู้ป่วยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2532 จนถึงปัจจุบันมีผู้ป่วยได้รับการรักษาทั้งเด็กและผู้ใหญ่ไปแล้วกว่า 800 ราย โดยใช้ไขกระดูกของตนเองและไขกระดูกจากผู้อื่น ซึ่งค่าใช้จ่ายด้วยวิธีการปลูกถ่ายไขกระดูกต่อรายจะอยู่ประมาณ 500,000-750,000 บาทต่อราย โดยผู้ป่วยมีโอกาสหายขาดสูงถึง 96% ซึ่งเมื่อเทียบกับการรักษาด้วยวิธีการให้เลือด และการกินยาขับเหล็กแล้ว ผู้ป่วยจะใช้เงินในการรักษาตลอดทั้งชีวิตเฉลี่ยต่อรายสูงถึง 30 ล้านบาท หากรักษาด้วยวิธีการนี้ต่อเนื่องยาวนาน 30 ปี ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ป่วยมากกว่า 90% ยังใช้วิธีการรักษาด้วยวิธีนี้ และไม่สามารถรักษาโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียให้หายขาดได้
    

              อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญของโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในขณะนี้คือ การขาดการสนับสนุนจากทางภาครัฐ เพราะถูกมองว่าค่าใช้จ่ายต่อรายสูงเกินกว่าที่รัฐจะรับภาระได้ ทำให้เป็นจุดอ่อนในการพัฒนาการรักษาโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งมีผู้ป่วยอยู่ในขณะนี้มากกว่า 1 แสนคนทั่วประเทศ และมีประชากรไทยมากกว่า 30% หรือ 20 ล้านคน มีภาวะแฝง (ยีนแฝง) ของโรคดังกล่าว
    

             “ถ้าใช้เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดจากพี่น้องที่มีเนื้อเยื่อตรงกับผู้ป่วย จะมีโอกาสหายขาดจากโรคโดยไม่ต้องได้รับเลือดหรือยาใดๆ อีกต่อไปประมาณ 90% แต่ถ้าใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากผู้บริจาคที่ไม่ใช่ญาติ แต่มีเอชแอลเอตรงกับผู้ป่วย จะมีโอกาสหายขาดน้อยกว่าประมาณ 80%” รศ.นพ.สุรเดชกล่าว และว่า ในวันอังคารที่ 9 พ.ย.นี้ มูลนิธิรามาธิบดีเตรียมเปิดตัวโครงการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเทิดไท้คู่ขวัญองค์ราชัน ราชินี อย่างเป็นทางการ ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 5 ศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ตั้งแต่เวลา 13.00-14.30 น. เป็นต้นไป.

27 ตุลาคม 2553

Next post > “จุรินทร์”สั่งเพิ่มผลิตยาชุดน้ำท่วมอีก 900,000 ชุด เร่งกระจายลงพื้นที่ถึงมือประชาชนเร็วที่สุด

< Previous post กรมสนับสนุนฯสั่งกองวิศวะฯดูแลเครื่องมือแพทย์ชำรุด

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด