logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

กรมอนามัย แนะศูนย์พักพิงคุมเข้มจุดปรุง-ประกอบอาหาร ลดเสี่ยงโรคจากน้ำท่วม

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34348

          ดร.นพ.สมยศ  ดีรัศมี  อธิบดีกรมอนามัย  เปิดเผยถึงการปรุงประกอบอาหารในจุดที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมโดยเน้นสะอาด ปลอดภัย ว่า ขณะนี้กรมอนามัยได้มอบให้ศูนย์อนามัยเขตในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมให้การสนับสนุนวิชาการและคำแนะนำที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหารและหลักโภชนาการเพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือประชาชนที่รับผิดชอบจัดเตรียมและปรุงอาหารในพื้นที่มีความเข้าใจในการปรุงประกอบอาหาร      ที่สะอาด ปลอดภัย ได้คุณค่าทางโภชนาการ โดยยึดตามเกณฑ์ที่กรมอนามัยกำหนดตั้งแต่อาหารสดต้องไม่มีกลิ่น อาหารแห้งต้องไม่มีเชื้อรา และไม่นำอาหารกระป๋องที่บุบ บวม หมดอายุมาปรุงอาหาร

                ดร.นพ.สมยศ  กล่าวต่อไปว่า  สำหรับศูนย์พักพิงที่ต้องมีจุดปรุงประกอบอาหารนั้น ต้องเลือกพื้นที่หรือสถานที่จัดตั้งครัวที่ไม่ใกล้ห้องส้;ม ที่เก็บขยะ ที่ระบายน้ำเสียหรือที่เก็บสารเคมี โดยหลีกเลี่ยงการเตรียมหรือปรุงอาหารบนพื้น ควรมีโต๊ะเตรียมปรุงอาหารที่สูงจากพื้น ป้องกันการปนเปื้อน ต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคบริเวณโต๊ะที่ใช้เตรียม ปรุงอาหาร เตาหุงต้มอาหาร เป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะเขียงที่ใช้หั่นเนื้อสัตว์ต้องล้างขจัดคราบไขมันด้วยน้ำยาล้างจาน แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด และห้ามนำผ้าที่สกปรกมาเช็ด เพราะจะเป็นสื่อที่นำเชื้อโรคมาปนเปื้อนอาหารที่มีการหั่น สับ บนเขียงได้

                “ก่อนปรุงอาหารควรมีการล้างวัตถุดิบที่จะนำมาปรุงทุกครั้ง โดยเฉพาะผักซึ่งอาจมีการปนเปื้อนคราบดินที่เกิดจากน้ำท่วมต้องล้างด้วยน้ำสะอาด 2-3 ครั้ง  ส่วนผักบางอย่าง เช่น คะน้า กะหล่ำ ถั่วฝักยาว หากมีคราบขาวจับที่กาบใบหรือฝักมากเกินไปให้ล้างน้ำหลาย ๆ ครั้งหรือแช่น้ำปูนใสนาน 10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาดก่อนจะนำไปปรุงประกอบอาหาร ส่วนผู้ปรุงประกอบอาหารต้องปฏิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะ เช่น ล้างมือก่อนปรุงอาหาร ไม่ใช้มือจับอาหารปรุงสำเร็จโดยตรง ถ้ามือมีแผลต้องปิดแผลให้มิดชิดด้วยพลาสเตอร์กันน้ำ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับอาหาร”  ดร.นพ.สมยศ กล่าว

                ดร.นพ.สมยศ  กล่าวต่อว่า  การบรรจุอาหารที่ปรุงสุกแล้วควรใส่ในภาชนะที่สะอาดและไม่ควรทิ้งระยะนานเกิน 2-4 ชั่วโมง หลังปรุงและบรรจุอาหาร และจัดส่งให้กับผู้ประสบภัย รวมถึงระยะเวลาจัดส่งให้กับผู้ประสบภัย เพราะอาจทำให้อาหารบูดและเสียได้ อาหารที่ปรุงควรเป็นอาหารประเภททอดหรือผัดที่ไม่บูดเสียง่าย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ ลาบ ยำ พล่าต่างๆ

                “ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอีกประการหนึ่งคือการกำจัดขยะ ในจุดปรุงอาหารจะต้องมีถังขยะใส่เศษอาหารทำด้วยวัสดุไม่รั่วซึม เช่น พลาสติก หากใช้ปี๊ปควรมีถุงพลาสติกรองอีกชั้นหนึ่ง ถังขยะต้องมีฝาปิด และมีการแยกขยะเป็นสองถังคือถังขยะเปียกและถังขยะแห้ง  เพื่อง่ายต่อการกำจัด” อธิบดีกรมอนามัย  กล่าวในที่สุด


 

27 ตุลาคม 2553

Next post > “จุรินทร์”สั่งเพิ่มผลิตยาชุดน้ำท่วมอีก 900,000 ชุด เร่งกระจายลงพื้นที่ถึงมือประชาชนเร็วที่สุด

< Previous post กรมสนับสนุนฯสั่งกองวิศวะฯดูแลเครื่องมือแพทย์ชำรุด

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด