logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

อย. เผยขณะนี้ได้มีการถอนผลิตภัณฑ์ “ยาไซบูทรามีน” ออกจากตลาด

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34270


      อย.เผย ขณะนี้บริษัทผู้ผลิตผู้จำหน่ายยาไซบูทรามีนในไทยได้สมัครใจเรียกคืนยาที่มีส่วนผสมของ           ไซบูทรามีนออกจากท้องตลาด พร้อมได้ยกเลิกทะเบียนยาไซบูทรามีนแล้ว ตามคำแนะนำของ อย. และสอดคล้องกับต่างประเทศที่ได้มีการถอนยาดังกล่าวโดยสมัครใจออกจากท้องตลาด หลังพบมีความเสี่ยงต่อผู้ที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด พร้อมเตือนหญิงสาว ระวังการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กาแฟ อ้างลด ความอ้วนทุกชนิด เพราะอาจแอบใส่ไซบูทรามีน (Sibutramine)เพื่อทำให้ลดความอ้วน เกิดอันตรายได้ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ยาปลอมที่อาจมีการลักลอบขายทางสื่ออินเทอร์เน็ต

       นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี  เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา  เปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า จากนโยบายคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากผลิตภัณฑ์สุขภาพของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ทำให้ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สุขภาพมีความตื่นตัวที่จะทำผลิตภัณฑ์ของตนไม่ก่อผลกระทบที่เป็นอันตรายแก่ประชาชน โดยล่าสุดบริษัทผู้ผลิต/ผู้จำหน่ายยาในไทย ได้มีการเรียกคืนยาที่มีส่วนผสมของไซบูทรามีน (sibutramine) หรือชื่อการค้ารีดักทิล (Reductil)  ออกจากท้องตลาดแล้ว พร้อมทั้งได้ยกเลิกทะเบียนตำรับยา           ไซบูทรามีนด้วย หลังมีข้อมูลผลการศึกษาจากทางคณะกรรมการอาหารของยุโรปถึง 6 ปี เพื่อศึกษาความปลอดภัยทางด้านหัวใจและหลอดเลือด พบว่ามีความเสี่ยงสูงขึ้นในผู้ป่วยโรคดังกล่าวที่ไม่ควรได้รับยานี้ ซึ่งตามปกติยานี้ได้มีข้อความคำเตือนห้ามใช้ในผู้ป่วยกลุ่มเหล่านี้อยู่แล้ว


        ทั้งนี้ ยาไซบูทรามีนได้รับอนุมัติให้มีการจำหน่ายในประเทศไทยสำหรับลดน้ำหนักในผู้ป่วยโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักเกิน ที่ไม่มีประวัติเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด และไม่สามารถลดน้ำหนักด้วยอาหารและการออกกำลังกาย ดังนั้น เมื่อมีการยกเลิกทะเบียนตำรับยาแล้ว และเพื่อมิให้เกิดความเสี่ยง จึงขอให้แพทย์ หรือเภสัชกร หยุดการสั่งจ่ายยาไซบูทรามีน นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ในส่วนของผู้ป่วยที่กำลังรับประทานยาไซบูทรามีน ควรหยุดใช้ยาและปรึกษาแพทย์ถึงทางเลือกอื่นในการลดน้ำหนัก รวมถึงการควบคุมอาหารและออกกำลังกายตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล


         เลขาธิการฯ อย. กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพบลักลอบใส่ยาไซบูทรามีนในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารว่า จากการตรวจสอบและการตรวจจับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กาแฟสำเร็จรูป ที่ผิดกฎหมาย ส่วนใหญ่อ้างลดความอ้วน ซึ่งผลจากการตรวจวิเคราะห์พบว่า มีการใส่ยาไซบูทรามีน เพื่อหวังผลให้ลดความอ้วน และเป็นจุดขายด้วย จึงขอเตือนมายังประชาชน โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่ต้องการลดความอ้วน อย่าได้หลงเชื่อเสียเงินเสียทองซื้อผลิตภัณฑ์           เสริมอาหาร และผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูปต่างๆ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ยาปลอมที่อาจมีการลักลอบขายทางสื่ออินเทอร์เน็ต เพราะอาจได้รับอันตรายจากสารไซบูทรามีนได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด 


          “ หากต้องการลดหรือควบคุมน้ำหนักไม่จำเป็นต้องเสี่ยงบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ ควรควบคุมการบริโภคอาหารร่วมกับการออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน นอกจากนี้ ควรบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งจะทำให้ร่างการแข็งแรงและป้องกันโรคได้ด้วย  เลขาธิการฯ อย. กล่าว

22 ตุลาคม 2553

Next post > “จุรินทร์”ทีมแพทย์ พยาบาล ลงเรือตรวจรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

< Previous post สปสช.แจง สพศท.จ่ายเงินตาม DRG ที่ผ่านคณะทำงานจาก สธ.

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด