logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สธ. เร่งพัฒนามาตรฐานพยาบาลประจำรพ.สต. และดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ โรคเรื้อรังที่บ้าน

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34264

       เช้าวันนี้ (21 ตุลาคม 2553) เวลา 07.30 น. ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานในพิธีวางพานพุ่ม ถวายราชสักการะสมเด็จพระศรี  นครินทราบรมราชชนนี   ณ พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี กระทรวงสาธารณสุข อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เนื่องในวันพยาบาลแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.2553 ว่า วันที่ 21 ตุลาคม เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีความสำคัญยิ่งต่อวิชาชีพการพยาบาล ในฐานะที่พระองค์ท่านทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการพยาบาล และตลอดพระชนม์ชีพทรงปฏิบัติพระราชภารกิจในการพัฒนาสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของประชาชนเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา วิริยะอุตสาหะ นำสิริสุขแก่ปวงชนทุกก้าวพระบาทที่เสด็จไปถึงแม้ในถิ่นทุรกันดาร กระทรวงสาธารณสุข สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่ทรงมีต่อวิชาชีพพยาบาล 

          ดร.พรรณสิริกล่าวต่ออีกว่า ในปี 2554 นี้ กระทรวงสาธารณสุขมีโครงการพัฒนาพยาบาลใน 2 เรื่องใหญ่ คือ การพัฒนามาตรฐานพยาบาลของพยาบาลประจำ รพ.สต. ซึ่งขณะนี้มี 2,000 แห่ง จะเพิ่มในปี 2554 อีก 7,000 แห่ง ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำมาตรฐานโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จะเน้นหนักการทำงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันการเจ็บป่วยของประชาชน ให้ประชาชนดูแลสุขภาพตนเองได้ โดยจะจัดอบรมให้ครอบคลุมพยาบาลทั่วประเทศต่อไป เรื่องที่ 2 คือการจัดมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ที่บ้าน หรือที่เรียกว่า โฮม วอร์ด (Home Ward) เนื่องจาก 3 กลุ่มนี้ ในประเทศไทยมีประมาณ 8 ล้านคนและแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น แผลกดทับ ปอดติดเชื้อ ไม่ให้ทะลักเข้าโรงพยาบาลใหญ่ ลดอัตราการเสียชีวิต ซึ่งขณะนี้มีใช้ในหลายประเทศทั่วโลก ถือว่าเป็นมาตรการเชิงรุกที่มีประสิทธิภาพ เป็นที่พึ่งของครอบครัวที่ประสบปัญหาเป็นอย่างดี

          ดร.พรรณสิริกล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ทั่วประเทศมีพยาบาลและผดุงครรภ์ ทั้งระดับต้นและระดับวิชาชีพ ที่ขึ้นทะเบียนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ กับสภาพยาบาลในปี 2553 จำนวน 162,620 คน ในจำนวนนี้ ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศประมาณ 90,000 คน ซึ่งยังขาดแคลนอีก 30,000 คน ได้เพิ่มกำลังผลิตทุกปี อย่างไรก็ตาม การบรรจุพยาบาลจบใหม่เข้าเป็นข้าราชการมีขีดจำกัด ทำให้ส่วนหนึ่งไหลออกไปสู่ภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง กระทรวงสาธารณสุขจะเร่งประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ขออัตรากำลังเพิ่ม เพื่อบรรเทาภาระของพยาบาลที่มีในปัจจุบัน โดยขณะนี้พยาบาล 1 คนต้องดูแลประชากร 900 คน ขณะที่ตามมาตรฐานโลกกำหนดให้พยาบาล 1 คน ดูแล 500 คน อีกทั้งพยาบาลบางภูมิภาคยังมีภาระงานสูงกว่าภูมิภาคอื่น เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือดูแลประชากร 1 ต่อ 1,400 -1,500 คน ขณะที่กทม. 1 ต่อ 400 คน 

 

22 ตุลาคม 2553

Next post > “จุรินทร์”ทีมแพทย์ พยาบาล ลงเรือตรวจรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

< Previous post สปสช.แจง สพศท.จ่ายเงินตาม DRG ที่ผ่านคณะทำงานจาก สธ.

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด