logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

“จุรินทร์”เผยประชาชนในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม

ใช้บัตรประชาชนใบเดียวรักษาฟรีที่โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งที่ใกล้และเข้าถึงสะดวก

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34255

         วันนี้ (20 ตุลาคม 2553) ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จ.นครราชสีมา นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่แพทย์ พยาบาล ที่ปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม รวมทั้งวางแผนแก้ปัญหาการจัดบริการประชาชน และมอบถุงยังชีพให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลฯจำนวน 200 ชุด

         นายจุรินทร์กล่าวว่า ในวันนี้ได้สั่งการดังนี้

1.ให้โรงพยาบาลในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมทั่วประเทศ ให้บริการประชาชนที่เจ็บป่วยโดยอำนวยความสะดวกให้สามารถใช้บัตรประชาชนใบเดียว ตามโครงการเข้ารักษาฟรี 48 ล้านคนด้วยบัตรประชาชนใบเดียว เข้ารับบริการได้ในโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งที่อยู่ใกล้และเข้าถึงสะดวกและสบายใจที่สุด ไม่เฉพาะโรงพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนไว้ กรณีบัตรสูญหายให้แจ้งชื่อสกุลแก่เจ้าหน้าที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะมีระบบตรวจสอบว่าอยู่ในโครงการฯหรือไม่

2.ขอให้เขตตรวจราชการในพื้นที่ประสบภัย จัดระบบส่งต่อผู้ป่วยผู้ป่วยฉุกเฉินเป็นระบบพิเศษ นอกเหนือระบบปกติที่ทำอยู่ กรณีที่โรงพยาบาลแม่ข่ายรับส่งต่อเช่นโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาเกิดปัญหาน้ำท่วม ต้องวางแผนการส่งต่อผู้ป่วยหนักจากโรงพยาบาลลูกข่ายไปรักษาที่ใด เพื่อให้ระบบราบรื่น ไม่กระทบกับผู้ป่วย

3.ให้โรงพยาบาลที่ประสบภัยน้ำท่วม ประชาชนเข้ารับบริการไม่สะดวก เปิดหน่วยบริการผู้ป่วยนอกพื้นที่นอกโรงพยาบาล เช่นเดียวกับที่เขตอำเภอเมืองนครราชสีมา ได้ดำเนินการเปิดจุดบริการ 14 จุด เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน

4.ให้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ดูแลทั้งสุขภาพกายและจิต 5.รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโรค 3 กลุ่มคือ โรคระบบทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ และโรคที่มากับน้ำท่วม เช่น น้ำกัดเท้า สัตว์มีพิษกัด ตาแดง เป็นต้น

           สำหรับโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ขณะนี้มีความพร้อมในการบริการประชาชน มีผู้ป่วยนอนพักในโรงพยาบาล 684 ราย เป็นผู้ป่วยหนักที่ต้องใช้เครื่องช่วยใจ 83 ราย โดยได้ส่งผู้ป่วยหนักบางส่วนไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น 17 ราย ที่โรงพยาบาลค่ายสุรนารี 4 ราย ส่วนผู้ป่วยระยะพักฟื้นบางส่วนให้กลับบ้านและส่งทีมเจ้าหน้าที่ไปดูแลที่บ้าน ขณะนี้ระบบไฟฟ้า ประปา และอ็อกซิเจนสำหรับคนไข้มีความพร้อม จากการสนับสนุนของจังหวัดนครราชสีมาและกองทัพภาคที่ 2 สนับสนุนการขนส่ง ส่วนเครื่องมือแพทย์ทั้งหมดเก็บกู้ได้ทัน มีเสียหายคือเครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า โรงครัว โรงซักฟอก

          สำหรับผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยฉุกเฉิน รพ.มหาราชนครราชสีมา ได้เปิดจัดจุดบริการไว้ 3 จุด ได้แก่ หน้าโรงแรมพีกาซัส โรงเรียนสุรนารี และโรงพยาบาลนครราชสีมา โดยระดับน้ำเริ่มลดลง ล่าสุด บ่ายวันนี้ (เวลา 14.00 น.) บริเวณด้านหน้าโรงพยาบาล วัดได้ 70 เซนติเมตร

21 ตุลาคม 2553

Next post > โรงพยาบาลชัยภูมิ ยังเปิดให้บริการตามปกติ เมื่อคืนนี้ทำคลอด-ผ่าตัด 9 ราย น้ำเริ่มลดเล็กน้อย

< Previous post รมช.สธ.เผยผู้ประสบภัยน้ำท่วมปักธงชัย 2 ใน 3 เครียด

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด