logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

อย.เตือนอย่าหลงเชื่อน้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว โวสรรพคุณ รักษาสารพัดโรค

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34197

          นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบเกี่ยวกับการโฆษณาน้ำมันรำข้าว โดยได้รับการร้องเรียนจากสมาคมขายตรงเกี่ยวกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว โดยระบุสรรพคุณ รักษาโรคมะเร็ง หัวใจ รูมาตอยด์ ภูมิแพ้ อัมพฤกษ์ เบาหวาน ความดัน เป็นต้น มีการอ้างผลการทดสอบจากผู้รับประทาน และประสบการณ์จากผู้ป่วยที่ต่อสู้กับโรคร้ายต่างๆ ซึ่งจากการตรวจสอบไม่มีข้อเท็จจริงทางวิชาการยืนยันถึงความน่าเชื่อถือ และเอกสารที่ปรากฏน่าจะเป็นการตัดต่อข้อมูลของกลุ่มสมาชิกผู้จำหน่ายสินค้า ซึ่ง อย. ได้แจ้งเตือนไปยังผู้ทำการโฆษณาให้ระงับการโฆษณาและดำเนินการตามกฎหมายต่อไปแล้ว อย่างไรก็ตาม อย.มีความห่วงใยในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เพราะที่จริงแล้ว ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นเพียงผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานเสริมนอกเหนือจากการรับประทานอาหารหลักตามปกติเท่านั้น จึงขอให้ผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพราะมุ่งหวังรักษาโรคโดยเด็ดขาด อาจทำให้เสียโอกาสในการรักษาที่ถูกต้อง เช่น ผู้ป่วยเบาหวานอาจต้องตัดเท้า ผู้ป่วยมะเร็งมีอาการทรุดหนัก เป็นต้น หากจะใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควบคู่ไปกับการรักษา ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด และไม่ควรหลงเชื่อโฆษณาที่หวังผลทางการค้ามากเกินไปทั้งนี้ โฆษณาส่วนใหญ่ เป็นการจำหน่ายในลักษณะขายตรง ซึ่งบางรายบางเครือข่ายอาจหาประโยชน์ที่ผิดกฎหมายในลักษณะแชร์ลูกโซ่ จึงขอให้ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมจริยธรรม

          เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า ก่อนซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดๆ ก็ตาม ขอให้ผู้บริโภคเลือกซื้อโดยอ่านข้อมูลของอาหารนั้นบนฉลากทุกครั้งว่ามีสารอาหารอะไรตามที่ร่างกายขาดหรือต้องการเสริม แต่หากผู้บริโภคพบเห็นการอวดอ้างสรรพคุณผลิตภัณฑ์เสริมอาหารว่าสามารถรักษาโรคได้ หรือโฆษณาหลอกลวงให้ผู้บริโภคหลงเชื่อโดยการขายตรง ขอให้แจ้งเบาะแสโดยละเอียดผ่านสายด่วน อย. 1556 สำหรับในส่วนภูมิภาคแจ้งได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อทางราชการจะได้ดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ กระทำผิดอย่างเข้มงวดต่อไป

 

19 ตุลาคม 2553

Next post > “จุรินทร์”กำชับผู้บริหารสาธารณสุขทั่วประเทศ เร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายให้เข้มข้นต่อเนื่อง

< Previous post กรมสุขภาพจิต เปิดตัว “แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า“ใหม่ ขยายโอกาสเข้าถึงบริการรักษา

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด