logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

“จุรินทร์” ให้ทุกจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วมตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34202

        วันนี้ (18ตุลาคม 2553) ที่ วัดไตรรัตน์ ถนนมิตรภาพอ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์ไพจิตร์ วราชิตปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตรวจเยี่ยมการช่วยเหลือด้านการแพทย์สาธารณสุขและการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่บริการประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โดยในวันนี้รพ.ปากช่องนานาร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจ.นครราชสีมา จัดทีมแพทย์พยาบาลออกให้บริการประชาชนที่วัดไตรรัตน์ พร้อมมอบถุงยังชีพ ยาชุดน้ำท่วม ยาทากันยุง เจลล้างมือ รองเท้าบู๊ทให้ผู้ประสบภัยจำนวน 500 ชุด


          นายจุรินทร์ กล่าวว่า ได้มอบแนวทางการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม โดยให้ทุกจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วมและส่วนกลางตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข     จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ดูแลผู้ป่วยและผู้ที่ยังไม่ป่วยควบคู่กันไปทั้งสุขภาพกายและจิตใจ ขณะนี้ได้รับรายงานเฉพาะตำบลหนองสาหร่าย มีผู้ประสบภัยน้ำท่วมนอนไม่หลับ  ซึ่งจะนำไปสู่โรคเครียด และพัฒนาไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้หากไม่ได้รับการดูแล  นอกจากนี้ให้เจ้าหน้าที่เข้าไปแนะนำประชาชนเพื่อป้องกันโรคที่มากับน้ำท่วม คือโรคทางเดินอาหาร โรคทางเดินทายใจ และโรคเครียด และโรคอื่นๆที่มากับน้ำท่วมเช่นฉี่หนู สัตว์มีพิษที่มากับน้ำท่วม


          นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า สำหรับโรงพยาบาลที่ประสบภัยน้ำท่วม เช่น รพ.มหาราชนครราชสีมาและรพ.จิตเวช ได้แก้ปัญหาโดยย้ายผู้ป่วยที่นอนพักรักษาในโรงพยาบาลขึ้นไปชั้นบนและให้การรักษาพยาบาลตามปกติ สำหรับประชาชนที่เจ็บป่วยจะมีหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกไปให้บริการถึงชุมชน พร้อมกันนี้ได้ตั้งจุดบริการพิเศษนอกโรงพยาบาลให้บริการในพื้นที่ที่ประชาชนเดินทางสะดวก โดยที่จ.นครราชสีมา ตั้ง 2 จุดคือ ที่โรงแรมพีกาซัส และโรงเรียนสุรนารี รวมทั้งให้โรงพยาบาลทุกแห่งที่ประสบภัยน้ำท่วมให้ดำเนินการตามแนวทางเดียวกัน นอกจากนี้ ในการบริหารจัดการเรื่องอาหารผู้ป่วย เสื้อผ้าผู้ป่วย รวมทั้งอุปกรณ์เวชภัณฑ์เช่นสำลี ผ้าปิดแผล ใช้วิธีจ้างเอกชนเข้ามาดำเนินการ หรือใช้วิธีให้โรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ๆเข้ามาช่วยหรือจ้างโรงพยาบาลเอกชน


          สำหรับศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในส่วนกลางที่กระทรวงสาธารณสุขจะมีการประชุมทุกวัน รายงานสถานการณ์ให้ทราบทุกวัน โดยตนและปลัดกระทรวงสาธารณสุขจะออกไปตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน รวมทั้งเข้าไปช่วยเหลือกรณีที่มีปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานอย่างเต็มที่


          ด้านนายแพทย์วรพงษ์ ทองดี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลปากช่องนานา กล่าวว่า อำเภอปากช่อง มีน้ำท่วม 11 ตำบล เทศบาลได้ตั้งจุดบริการประชาชน 5 จุด ที่วัดท่ามะนาว ร.ร.ประชานุสรน์ ร.ร.สัญลักษณ์ ชุมชนประปาและชุมชนโรงสูบ      โรงพยาบาลปากช่องฯได้จัดทีมแพทย์ พยาบาล ตระเวนออกให้บริการตรวจรักษาผู้ประสบภัยน้ำท่วมตามชุมชนต่างๆ ผลการออกให้บริการวันที่ 17 ตุลาคม 2553 มีผู้ป่วย 60 คน ส่วนใหญ่เป็นโรคน้ำกัดเท้า   มีไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ในวันนี้ได้จัดทีมแพทย์-พยาบาลไปประจำจุดบริการประชาชนของเทศบาลทั้ง 5 จุด ในส่วนของโรงพยาบาลฯ น้ำไม่ท่วม ได้รับผลกระทบบ้างจากระบบน้ำประปาของอำเภอเสียหาย แต่ไม่กระทบบริการผู้ป่วย เนื่องจากรพ.ใช้ระบบน้ำบาดาลเป็นหลัก

 

19 ตุลาคม 2553

Next post > “จุรินทร์”กำชับผู้บริหารสาธารณสุขทั่วประเทศ เร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายให้เข้มข้นต่อเนื่อง

< Previous post กรมสุขภาพจิต เปิดตัว “แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า“ใหม่ ขยายโอกาสเข้าถึงบริการรักษา

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด