logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

กรมสุขภาพจิต เปิดตัว “แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า”ใหม่ ขยายโอกาสเข้าถึงบริการรักษา

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34161

         นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวเนื่องในวันคัดกรองโรคซึมเศร้าประเทศไทย ว่าโรคซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย องค์การอนามัยโลก และธนาคารโลก คาดปี 2020 โรคซึมเศร้า จะเป็นภาระโรค อันดับ 2 ปัจจุบัน โรคซึมเศร้า เป็นภาระโรคอันดับ 4 รองลงมาจากโรคเอดส์ เส้นเลือดในสมองตีบ และเบาหวาน จากการศึกษาของกรมสุขภาพจิต พบว่า คนไทย ร้อยละ 5 หรือประมาณ 3.15 ล้านคนป่วยเป็นโรคซึมเศร้า แต่มีเพียงร้อยละ 11 ที่เข้าถึงบริการได้รับการดูแลรักษา


         อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวต่อว่า โรคซึมเศร้าสามารถนำไปสู่การฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายที่สุด ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าคนทั่วไป 20 เท่า และ 3% ของผู้ที่ฆ่าตัวตายจะฆ่าผู้อื่นร่วมด้วย ทั้งนี้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีอารมณ์เศร้านาน (ต่อเนื่องเกินกว่า 2 สัปดาห์เป็นต้นไป) มีความรู้สึกท้อแท้ หงอยเหงา เบื่อหน่าย ไม่สนุกสนานกับชีวิต นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก และนอนต่อไปไม่หลับ ฝันมาก ส่งผลกระทบให้ความสามารถในการทำงานลดลง ซึ่งปัจจัยที่กระตุ้นให้คนป่วยเป็นโรคนี้ที่พบบ่อยที่สุด คือ ความเครียดเรื้อรัง และประสบกับการสูญเสียในชีวิต


 

         สำหรับแนวทางแก้ไข อธิบดีกรมสุขภาพจิตแนะว่า แนวทางแก้ไขที่มีประสิทธิภาพ คือ การค้นหาและคัดกรองเพื่อนำเข้าสู่ระบบการรักษามากกว่าจะรอให้ผู้ป่วยเข้ามาเอง ซึ่งปัจจุบันกรมสุขภาพจิตได้มีแบบคัดกรองที่มีข้อคำถามสั้น ง่ายต่อการทำความเข้าใจ สามารถคัดกรองภาวะซึมเศร้าและปัญหาฆ่าตัวตายไปพร้อมๆ กัน ได้ด้วยคำถาม 8 ข้อ และในการแปรผลของคะแนนจะมีคำแนะนำเบื้องต้นให้ทราบแนวทางปฏิบัติได้ โดยประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปทำแบบประเมินได้ด้วยตนเองจากเว็บไซต์กรมสุขภาพจิต www.dmh.go.th ส่วนประชาชนในชุมชน จะมี อสม.ซึ่งจะได้รับการอบรม ทำให้มีความรู้ความสามารถที่จะคัดกรองและให้การช่วยเหลือเบื้องต้น


 

          อธิบดีกรมสุขภาพจิต ย้ำว่า โรคซึมเศร้าสามารถรักษาให้หายได้ ถ้าไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลจะได้รับยาต้านเศร้า ซึ่งได้ผลดีมีผลข้างเคียงน้อย รวมทั้งได้รับการพูดคุยปรึกษาเพื่อช่วยแก้ปัญหาชีวิต ที่รบกวนอยู่ สำหรับคนทั่วไปที่พบว่ามีปัญหาซึมเศร้า สามารถดูแลและป้องกันได้อย่างง่ายๆ ได้แก่ 1.การออกกำลังกายเป็นประจำ วันเว้นวัน วันละ 30 นาที 2. การหาคนที่ไว้ใจระบายพูดคุยปัญหา ซึ่งมีการยืนยันทางวิชาการ ว่า การพูดคุยธรรมดาก็สามารถช่วยได้ ซึ่งคนที่จะช่วย ควรจะฟังอย่างตั้งใจไม่รีบตัดบทไปให้คำแนะนำเขา และ 3.การทำกิจกรรมที่ช่วยให้มีความสุข เพื่อเลี่ยงไม่ให้คนซึมเศร้าจมอยู่กับปัญหาของตัวเอง กิจกรรมที่มีความสุขจะช่วยให้อารมณ์ความรู้สึกดีขึ้น แม้ว่าในช่วงที่ยังเศร้ามากๆ อาจจะยังทำได้ไม่เต็มที่หากลองทำไปเรื่อยๆ เท่าที่ทำได้ ก็จะพบว่าอารมณ์ความรู้สึกจะดีขึ้นได้ด้วย


18 ตุลาคม 2553

Next post > สธ.ปรับระบบบริหารจัดการพื้นที่น้ำท่วม เริ่มทยอยย้ายผู้ป่วยหนักจาก รพ.มหาราช 40 ราย ไปขอนแก่นและรพ.ค่ายสุรนารี

< Previous post อย.ชี้ยาทำแท้งทางเว็บไซต์เป็นยาอันตราย เผยปี51-53 สั่งปิดไปแล้ว 327 เว็บไซต์

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด