logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

กรมวิทย์ฯเฝ้าระวังคุณภาพ “เต้าหู้ยี้”

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34189

     

          นายแพทย์นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า เต้าหู้ยี้เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่มีการนำเข้ามาจำหน่ายและนิยมบริโภคกันทั่วไป โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลกินเจ เนื่องจากอุดมไปด้วยโปรตีนและแร่ธาตุ เช่น เกลือแร่ เหล็ก และโปแตสเซียม


         นอกจากนี้ยังให้วิตามินเอ บี1 บี2 ดี อี เค และไนอะซีนอีกด้วย สามารถนำมารับประทานโดยตรงหรือนำไปผสมเป็นน้ำจิ้มปรุงรส เช่น น้ำจิ้มสุกี้ โดยไม่ต้องผ่านความร้อนหรือผ่านความร้อนเพียงเล็กน้อย จึงอาจมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์และเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ ซึ่งก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในอาหารและนำไปสู่การเกิดโรคชนิดต่างๆ ต่อผู้บริโภคได้

          เพื่อเป็นการคุ้มครองสุขอนามัยของผู้บริโภค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหารได้สำรวจคุณภาพทางจุลชีววิทยาของเต้าหู้ยี้ในภาชนะปิดสนิท ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550-2552 เพื่อศึกษาการปนเปื้อนของเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ และเชื้อโรคแสดงดัชนีสุขาภิบาลอาหาร ตลอดจนจำนวนแบคทีเรียทั้งหมด ตามข้อกำหนดของประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2535) เรื่องอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท


           ผลการจากสุ่มเก็บตัวอย่างเต้าหู้ยี้ที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยนำมาตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ จำนวนทั้งสิ้น 47 ตัวอย่าง พบเชื้อคลอสตริเดียม เพอร์ฟรินเจนส์ (Clostridium perfringens) จำนวน 6 ตัวอย่าง บาซิลัส ซีเรียส (Bacillus cereus) เกินเกณฑ์ จำนวน 31 ตัวอย่าง โคลิฟอร์ม (Coliforms) เกินเกณฑ์ จำนวน 7 ตัวอย่าง จุลินทรีย์ที่เจริญเติบโตที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เกินเกณฑ์ 46 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 8.9 65.9 , 14.9 และ 97.9 ตามลำดับ          ทุกตัวอย่างตรวจไม่พบซัลโมเนลล่า (Salmonella spp.) สเตฟฟีโรคอคคัส ออร์เรียส (Staphylococcus aureus) และเอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli)


           นายมงคล เจนจิตติกุล ผู้อำนวยการสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การตรวจพบเชื้อคลอสตริเดียม เพอร์ฟรินเจนส์และ บาซิลัส ซีเรียสในผลิตภัณฑ์แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอาหารเป็นพิษได้ โดยเชื้อดังกล่าวเป็นเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ในดินและฝุ่นละออง สามารถเจริญเติบโตและ ทนต่อสภาวะแวดล้อมทั่วไปได้ดี


           หากมีการปนเปื้อนในอาหารและเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ จนกระทั่งมีปริมาณมากพอที่จะทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษได้ โดยเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย เป็นต้น อย่างไรก็ตามเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคโดยเฉพาะช่วงนี้ เป็นช่วงเทศกาลกินเจ สำหรับผู้ที่นิยมบริโภคเต้าหู้ยี้ควรเลือกซื้อเต้าหู้ยี้ที่บรรจุในภาชนะที่สะอาด ไม่มีรอยแตกร้าว ฝาปิดสนิท ไม่เป็นสนิม ฉลากไม่มีรอยเปียกชื้น มีเลขทะเบียน อย. แจ้งชื่อผู้ผลิต วันที่ผลิต วันหมดอายุ และเมื่อเปิดภาชนะแล้วรับประทานไม่หมด ควรปิดฝาให้สนิท แล้วเก็บในตู้เย็น


           นอกจากนี้เมื่อพบว่าผลิตภัณฑ์เสื่อมสภาพโดยมีลักษณะเนื้อ สี กลิ่นผิดปกติ ไม่ควรนำมารับประทานเด็ดขาด ทั้งนี้ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตรวจวิเคราะห์ความปลอดภัยของอาหารทางห้องปฏิบัติการจะยังคงดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูแลเฝ้าระวังและคุ้มครองสุขอนามัยของผู้บริโภค

18 ตุลาคม 2553

Next post > สธ.ปรับระบบบริหารจัดการพื้นที่น้ำท่วม เริ่มทยอยย้ายผู้ป่วยหนักจาก รพ.มหาราช 40 ราย ไปขอนแก่นและรพ.ค่ายสุรนารี

< Previous post อย.ชี้ยาทำแท้งทางเว็บไซต์เป็นยาอันตราย เผยปี51-53 สั่งปิดไปแล้ว 327 เว็บไซต์

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด