logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

รพ.มหาสารคามเตือนประชาชนระวังปวดมื่อย

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=420&contentID=98089

            นายแพทย์สุนทร ยนต์ตระกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม กล่าวว่า ปัจจุบันด้วยสภาวะที่รีบเร่งในสังคมทั้งจากการใช้ชีวิตและการทำงาน ซึ่งต้องดำเนินกิจกรรมที่ใช้แรงงานและกล้ามเนื้อเป็นประจำ ทำให้ประชาชนจำนวนมากเจ็บป่วยด้วยอาการปวดเมื่อยและอักเสบของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะใช้เวลานั่งอยู่ที่โต๊ะคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ เกิน 1 ชั่วโมง บางทีข้ามคืนเลยก็มี และที่แย่ไปกว่านั้นยังมีวิธีการนั่งแบบผิดลักษณะท่าทาง 
    
             นอกจากนั้นยังมีผู้ใช้แรงงานที่มีการใช้สรีระการทำงานที่ผิด จึงทำให้เกิดอาการปวด  กล้ามเนื้อปวดหลังตามมาได้ ในกรณีที่เกิดอาการปวดเมื่อยมากหลังจากการทำงาน หรือพักผ่อนแล้วยังไม่หายปวดเมื่อย หรือเกิด   อาการครั่นเนื้อครั่นตัวคล้ายมีไข้ อาจมีสาเหตุจากการฉีกขาดของเส้นใยกล้ามเนื้อบางส่วนเนื่องจากออกแรงมากเกินไป หรืออดทนทำงานไม่ยอมพักผ่อน ในกรณีนี้ควรพักกล้ามเนื้อนั้นชั่วคราวโดยใช้ผ้าพันยึดรัดกล้ามเนื้อบริเวณนั้นไว้ เพื่อป้องกันการฉีกขาดอีก หรืออาจใช้ความเย็นประคบบริเวณกล้ามเนื้อ หลังจากนั้น 24 ชั่วโมงอาจจะบีบนวดกล้ามเนื้อเบา ๆ และประคบโดยการใช้ความร้อน
   
              ผอ.รพ.มหาสารคาม กล่าวต่อว่า การป้องกันอาการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ คือ การทำให้เกิดความสมดุลในการหดตัวของกล้ามเนื้อ ในการทำงานควรปรับเปลี่ยนท่านั่งหรือท่ายืนให้เหมาะกับการทำงานชนิดนั้น โดยไม่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อยกแขนอยู่ตลอดเวลา    ทุก ๆ ครึ่งชั่วโมงควรมีการลุกขึ้นยืนเพื่อยืดเส้นยืดสายหรือเดินไปมาสัก 5-10 นาที ไม่ควรหยุดพักเพียงเพื่อต้องการสูบบุหรี่ เพราะในระยะยาวบุหรี่เป็นตัวการทำให้หลอดเลือดตีบตัน ทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก เป็นบ่อเกิดของความเมื่อยล้าในภายหลัง และแทนที่จะหายใจเอาอากาศบริสุทธิ์เข้าไปเพื่อช่วยขจัดความเมื่อยล้า กลับดูดเอาควันบุหรี่ซึ่งเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป ทำให้ยิ่งทวีความเมื่อยล้ามากขึ้น
   
              ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เพิ่มเติมว่า หลังจากการทำงานถ้าได้นอนพัก หรือพักการใช้กล้ามเนื้อที่เมื่อยล้าชั่วคราว โดยเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอย่างอื่นที่ใช้กล้ามเนื้ออื่น หรือให้กล้ามเนื้อที่เป็นมัดนั้นมีการหดตัวหรือคลายตัวตลอดเวลา ความเมื่อยล้านั้นย่อมจะหายไปได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น หลังการแบกหามสิ่งของหนัก นอกจากการนอนพักแล้ว อาจเดินไปมาแกว่งแขนขึ้นลงสักพักหนึ่ง อาการเมื่อยล้าจะค่อย ๆ หายไป.

15 ตุลาคม 2553

Next post > สธ.จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ตรวจรักษาผู้ประสบภัยน้ำท่วมฟรีเต็มที่ ส่วนน้ำท่วมที่ปากช่อง รถหวอวิ่งส่งผู้ป่วยหนักจากรพ.ปากช่องไปเมืองโคราชยากขึ้น ใช้เวลาไปกลับนานถึง 6 ชั่วโมง

< Previous post เลขาธิการ สช. ค้านคลังเปิดช่อง “บ.ประกัน“ รับภาระแทนรัฐ ดูแลค่ารักษาพยาบาล ขรก.

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด