HITAP Foundation รับรางวัลเกียรติยศ “5 ทศวรรษ ระบบยาประเทศไทย” พร้อมร่วมเสวนาทิศทางบัญชียาหลักแห่งชาติ

“จุรินทร์” เผยสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ในกทม.ดีขึ้น ผู้ป่วยลดลง จับมือกทม.คุมเข้มต่อเนื่องอีก 5 เดือน
http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34140
วันนี้ (13 ตุลาคม 2553) ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กทม. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดประชุมอาสาสมัครสาธารณสุข พยาบาลอนามัยโรงเรียน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเขตกทม.กว่า 900 คน เพื่อสร้างความพร้อมการป้องกันควบคุมการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
นายจุรินทร์กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร ขณะนี้เริ่มชะลอตัวและลดลง ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน เป็นช่วงที่พบผู้ป่วยในกทม.เป็นจำนวนมาก กระทรวงสาธารณสุขได้มอบให้กรมควบคุมโรค ประสานความร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร เพื่อป้องกันควบคุมโรคอย่างเข้มข้น ทำให้จำนวนผู้ป่วยเริ่มลดลง ตั้งแต่กลางเดือนกันยายนเป็นต้นมา ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี
อย่างไรก็ตาม ก็ยังประมาทไม่ได้ เพราะช่วงเดือนตุลาคนไปจนถึงกุมภาพันธ์ จะเป็นช่วงปลายฝนต้นหนาว หากร่างกายไม่แข็งแรงจะมีโอกาสป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ได้ และยังเป็นช่วงปิดเทอม จะมีการเคลื่อนย้ายของประชากรโดยเฉพาะนักเรียนจากต่างจังหวัด เข้ามาเรียนกวดวิชาในเขตกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ในช่วงปลายปียังมีเทศกาลรื่นเริงฉลองปีใหม่ มีกิจกรรมรวมกันเป็นกลุ่มมากขึ้นในพื้นที่แออัด ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ ดังนั้นกรุงเทพมหานครและกระทรวงสาธารณสุข ยังมีความจำเป็นต้องดำเนินการป้องกันและควบคุมต่อไปอีก 5เดือน เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่
นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า สำหรับการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่มีหลายมาตรการ ได้แก่ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ สวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มในพื้นที่แออัด เมื่อป่วยให้หยุดเรียน หยุดงาน และไปพบแพทย์ และมาตรการ 555 ของกรุงเทพมหานคร คือ 5 พื้นที่เสี่ยง 5 มาตรการเข้มข้น และ 5 เดือนอันตราย ตั้งแต่ตุลาคม 2553 ไปถึงกุมภาพันธ์ 2554 ซึ่งต้องผสมผสานการดำเนินงานร่วมกัน
ทั้งนี้ สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ 1 มกราคม – 2 ตุลาคม 2553 พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สะสม จำนวน 7,667 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 2009 จำนวน 1,344 ราย คิดเป็นร้อยละ 17 และเสียชีวิต 11 ราย เป็นผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่นเป็นโรคเรื้อรัง และผู้สูงอายุ