logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

“จุรินทร์” เผยมติบอร์ด มอบหมายให้เลขาธิการ สปสช. ศึกษาผลกระทบการ

โอนสิทธิผู้ที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34098

           วันนี้ (11 ตุลาคม 2553)   ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ    ถนนแจ้งวัฒนะ กทม. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 10 /2553 ว่า วันนี้ที่ประชุมมีมติให้ขยายสิทธิประโยชน์ให้ผู้ที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือระบบรักษาฟรี ให้สามารถสั่งยาหรือใช้ยาที่เกินกว่าบัญชียาหลักแห่งชาติได้ โดยให้เลขาธิการ สปสช. ไปพิจารณาแนวทางปฏิบัติโดยละเอียด เมื่อจะขอความเห็นชอบว่าจะเพิ่มสิทธิประโยชน์สำหรับยาตัวใด ก็ให้ขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นกรณีไป 

           นายจุรินทร์ กล่าวอีกว่า กรณีที่คณะรัฐมนตรี มีมติให้ความเห็นชอบให้ขยายสิทธิครอบคลุมในระบบประกันสังคมไปยังคู่สมรสและบุตรได้ และให้แก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคมนั้น จะมีผลให้ผู้ที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ออกจากระบบนี้ไปอยู่ในระบบประกันสังคมประมาณ 5 ล้านคน ซึ่งจะมีผลกระทบบางส่วนต่อสปสช.   ในรายละเอียดจะกระทบหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน กระทบด้านใดบ้างนั้น ได้มอบหมายให้เลขาธิการ สปสช. ไปประเมินผลกระทบทั้งหมดทุกด้าน ทั้งด้านบวกและด้านลบ แล้วส่งให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพิจารณาต่อไป

            นายจุรินทร์ กล่าวต่อไปว่า ส่วนความคืบหน้าการจัดตั้งกองทุนสุขภาพตำบล ถือเป็นนโยบายหลักที่กองทุนสุขภาพตำบลจะเป็น 1 ใน 4 กลไกหลักในการแก้ไขปัญหาสุขภาพในตำบล ซึ่งประกอบด้วย  1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2. อสม. 3. แผนสุขภาพตำบล และ 4. กองทุนสุขภาพตำบล ซึ่งสปสช.จะจ่ายงบประมาณสมทบให้ จากการจัดงบประมาณเป็นทุนประเดิมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร้อยละ 20 ขึ้นไป โดย สปสช.จัดงบประมาณให้กองทุนเป็นเงิน 40 บาทต่อหัวประชากรในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.นั้นๆ ในปีที่ผ่านมา ได้จัดตั้งกองทุนสุขภาพตำบลไปแล้ว 5,000 กว่ากองทุน คิดเป็นร้อยละ 71 ของตำบลทั้งหมดทั่วประเทศที่มี 7,700 ตำบล    สำหรับปีงบ 2554 นี้ จะเพิ่มการจัดตั้งกองทุนจากร้อยละ 71 ให้เป็นร้อยละ 91 โดยล่าสุดมีการขออนุมัติจัดตั้ง 7,100 กองทุน ได้มอบเป็นนโยบายเพิ่มเติม ให้สปสช.เร่งรัดประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มเติม และประชาสัมพันธ์เพื่อให้จัดตั้งกองทุนครบถ้วนโดยเร็วที่สุด   

 

12 ตุลาคม 2553

Next post > องค์การเภสัชกรรมออกหน่วยเคลื่อนที่ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ลงพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี

< Previous post Journal Club ประจำเดือนตุลาคม

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด