logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สพฉ.ติวทีมกู้ชีพ 3 จชต.ช่วยเหยื่อบึ้มแสวงเครื่อง

http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9530000142494

           นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า จากโครงการฝึกอบรมเบื้องต้นเพื่อลดอันตรายจากระเบิดแสวงเครื่อง และหลักการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในที่เกิดเหตุ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้กับเจ้าหน้าที่การแพทย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข อาสาสมัครกู้ชีพ อาสาสมัครกู้ภัย อาสาสมัครป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (อปพร.) และกำลังพลทหาร เหล่าแพทย์ที่ปฏิบัติงานในจังหวัดปัตตานี นราธิวาส และยะลา จำนวน 60 คน ที่จัดโดยสำนักผู้ตรวจราชการเขต 8 กระทรวงสาธารณสุข ทาง สพฉ.ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญในโครงการดังกล่าว จึงร่วมสนับสนุน และให้ความร่วมมือในการฝึกอบรม รวมทั้งจากสถิติที่ผ่านมา การก่อความไม่สงบ โดยเฉพาะการลอบวางระเบิดแสวงเครื่องที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีสถิติเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในเรื่องความถี่และความรุนแรง โดยในปี 2551 เกิดเหตุระเบิดขึ้น 218 ครั้ง ขณะที่ปี 2552 เกิดเหตุระเบิด 237 ครั้ง (อ้างอิงสถิตจากศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้) รวมทั้งยังมีรูปแบบการวางระเบิดซ้ำ ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ที่เข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในพื้นที่เกิดเหตุ มีโอกาสได้รับบาดเจ็บ และได้รับอันตรายจนเสียชีวิต ซึ่งที่ผ่านมา ทาง สพฉ.ก็มีบทเรียนที่อาสาสมัครกู้ชีพเสียชีวิต
      
          นพ.ชาตรี กล่าวว่า การฝึกอบรม มีการให้ความรู้ถึงวิธีการลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากเหตุระเบิด โดยเฉพาะอันตรายจากระเบิดลูกที่สอง หรือการวางระเบิดซ้ำ โดยการอบรมมีการให้ความรู้เรื่องระเบิด การป้องกันเมื่อพบวัตถุต้องสงสัย การค้นหาระเบิดเบื้องต้น การบัญชาการสถานการณ์ และการประสานงาน รวมทั้งการป้องกันและการลดอันตรายในการช่วยผู้บาดเจ็บในเหตุลอบวางระเบิด และการแนะนำการใช้อุปกรณ์ป้องกัน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ประสบเหตุและผู้เข้าช่วยเหลือมากที่สุด
      
          เลขาธิการ สพฉ.กล่าวต่อว่า การฝึกอบรมในครั้งนี้ สพฉ.หวังให้บุคลากรทางการแพทย์ อาสาสมัคร สมาชิก อปพร.สามารถดำเนินการค้นหาระเบิดซ้ำสองแบบเร่งด่วน เพื่อป้องกันตนเองในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในเหตุลอบวางระเบิด และให้การช่วยเหลือแก่ผู้บาดเจ็บ ประสานการปฏิบัติงานตามระบบบัญชาการในการช่วยผู้บาดเจ็บในเหตุลอบวางระเบิดได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งฝึกให้สามารถจัดการกับสถานการณ์ที่มีผู้บาดเจ็บจำนวนมากในเหตุวางระเบิดได้ ทั้งในเรื่องการคัดแยก การปฐมพยาบาล การเคลื่อนย้าย และการประสาน การส่งกลับ หรือส่งต่อผู้บาดเจ็บ นอกจากนี้การจัดอบรมดังกล่าวยังทำให้ประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีขวัญและกำลังใจที่ดีขึ้น
      
         อย่างไรก็ตาม ในการฝึกอบรมครั้งนี้ ทาง สพฉ.ได้มอบเสื้อเกราะ และหมวกกันน็อกให้กับผู้ปฏิบัติงานทางการแพทย์ฉุกเฉิน จำนวน 16 ชุด รวมทั้งได้เตรียมดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเพิ่มเติม โดยรัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณในจัดหาเสื้อเกราะ และหมวกกันน็อก จำนวน 50 ชุด นอกจากนี้ สพฉ.จะสนับสนุนการจัดอบรมโครงการดังกล่าวรุ่นที่ 2 เพิ่มเติมในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม นี้ด้วย

 

11 ตุลาคม 2553

Next post > “จุรินทร์” เผยมติบอร์ด มอบหมายให้เลขาธิการ สปสช. ศึกษาผลกระทบการ โอนสิทธิผู้ที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

< Previous post หมอจี้ล้มกม.คุ้มครองผู้เสียหาย ใช้“คนไข้“ต่อรองตรวจ50คน/วัน ผ่าตัดเข้าคิว6เดือน ดันรพ.ศูนย์ดีเดย์1พ.ย.

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด