logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สธ.ส่งทีมสุขภาพจิตเคลื่อนที่เยียวยาใจผู้ประสบภัยน้ำท่วมกว่า 20,000 ครอบครัว ป้องกันเครียดรุนแรง

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34067

           วันนี้ (9 ตุลาคม 2553) ดร.พรรณสิริ  กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมใน 17 จังหวัด เช่นพิจิตรชัยนาทสิงห์บุรีอ่างทองพระนครศรีอยุธยาเพชรบุรีราชบุรีกาญจนบุรีสมุทรสาครและจังหวัดชลบุรี ว่านอกจากการดูแลการเจ็บป่วยทั่วไปแล้วกระทรวงสาธารณสุขได้จัดส่งทีมสุขภาพจิตเคลื่อนที่จากศูนย์วิกฤติสุขภาพซึ่งมีทั้งหมด 14 แห่งทั่วประเทศ ออกไปให้การดูแลจิตใจผู้ที่ได้รับผลกระทบจากทรัพย์สินเสียหายหรือสูญเสียพืชผลทางการเกษตร ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมซึ่งมีครอบครัวที่ได้รับความเดือดร้อน 21,761 ครอบครัว รวม 54,841คน โดยเจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวป้องกันปัญหาความเครียดเบื้องต้นและตรวจคัดกรองค้นหาผู้ที่มีปัญหา เพื่อวางแผนดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความรุนแรงของความเครียด อันจะนำไปสู่การเจ็บป่วยทางจิต  โดยเฉพาะโรคซึมเศร้าซึ่งจะนำไปสู่การฆ่าตัวตาย

           ทางด้านนายแพทย์อภิชัย มงคล ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า เมื่อมีเหตุการณ์ เช่น น้ำท่วมทำให้เกิดความสูญเสียของทรัพย์สินบ้านเรือนจะส่งผลกระทบต่อจิตใจ โดยปฏิกิริยาในช่วงแรกหลังประสบเหตุจะเกิดความเสียดาย เสียใจ ทุกข์ใจแต่หากได้รับการดูแลด้านสุขภาพและปัจจัยสี่ที่จำเป็น อย่างทันท่วงทีก็จะช่วยให้มีการปรับตัวปรับใจให้เกิดการยอมรับเป็นปกติได้เร็วขึ้น

           นายแพทย์อภิชัย กล่าวต่อไปว่า สำหรับการดูแลสุขภาพจิตใจ เพื่อลดความเครียดจากภาวะน้ำท่วม อันดับแรกประชาชนที่ประสบภัยไม่ควรอยู่คนเดียว ควรพูดคุยกับคนใกล้ชิดเพื่อเป็นการผ่อนคลายระบายความเครียด ไม่คิดฟุ้งซ่าน ประการที่ 2ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรอดนอนเพราะยิ่งอดนอนมากเท่าใด ปัญหาความเครียดจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นและประการสุดท้ายไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดเพราะไม่ใช่วิธีแก้ไขความเครียดที่ถูกต้อง และยังมีอันตรายตามมาเนื่องจากสารสำคัญที่เกิดจากการเผาผลาญเหล้าคือ เตตราไฮโดรไอโสควิโนลินส์ (Tetrahydro isoquinolines)สารนี้จะไปทำลายสารเอนดอร์ฟิน (endorphin)ซึ่งเป็นสารแห่งความสุขสร้างจากสมอง ทำให้ผู้ดื่มสูญเสียความรู้สึกปกติสุขหรือจิตใจที่สงบไป มีผลให้สภาพจิตใจและอารมณ์อ่อนไหวง่ายอดทนต่อความกดดันได้น้อยลง อาจคิดฆ่าตัวตายได้โดยผู้ที่ประสบปัญหา สามารถโทรปรึกษาที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 และ 1667 ตลอด 24 ชั่วโมง

           ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนช่วยกันสังเกตอาการพฤติกรรมของสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อบ้านใกล้เคียง หากเห็นว่าคนในครอบครัวมีอาการเศร้า ซึม ไม่พูดจากับใคร กินไม่ได้ นอนไม่หลับ หรือไม่อยากทำอะไรหมดอาลัยตายอยากในชีวิต อย่าปล่อยให้อยู่คนเดียว ขอให้ช่วยกันพูดคุยให้กำลังใจกันและกันดูแลอย่างใกล้ชิดหากอาการไม่ดีขึ้นให้ขอรับความช่วยเหลือได้ที่สถานีอน

11 ตุลาคม 2553

Next post > “จุรินทร์” เผยมติบอร์ด มอบหมายให้เลขาธิการ สปสช. ศึกษาผลกระทบการ โอนสิทธิผู้ที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

< Previous post หมอจี้ล้มกม.คุ้มครองผู้เสียหาย ใช้“คนไข้“ต่อรองตรวจ50คน/วัน ผ่าตัดเข้าคิว6เดือน ดันรพ.ศูนย์ดีเดย์1พ.ย.

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด