logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

รมช.สธ. ให้ 11 จังหวัดน้ำท่วม เฝ้าระวังโรคที่มากับน้ำท่วม และผู้ป่วย 6 โรคเรื้อรังขาดยา

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34032

         วันนี้ (6 ตุลาคม 2553) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี ดร.พรรณสิริ   กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์สถานการณ์น้ำท่วมว่า มีจังหวัดได้รับผลกระทบ 38 จังหวัด ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสานระดับน้ำเริ่มลดลงแล้ว 27 จังหวัด และสภาพอากาศเปลี่ยนเริ่มหนาวเย็นลง ที่น่าห่วงมากคือ 11 จังหวัดที่กำลังประสบภัยน้ำท่วม ส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลางและภาคใต้ ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี ลพบุรี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ชลบุรี อุบลราชธานี ชัยภูมิและพิจิตร มีประชาชนได้รับความเดือดร้อนประมาณ 359,000 ราย   เสียชีวิตแล้ว 4 คน จากสาเหตุจมน้ำตาย 3 ราย อีก 1 รายถูกไฟฟ้าดูด  

          ดร.พรรณสิริกล่าวต่อไปว่า ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยเบื้องต้น กระทรวงสาธารณสุขได้มอบหมายให้ผู้ตรวจราชการทุกเขตให้การดูแลช่วยเหลือ ให้ทุกจังหวัดจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการตรวจสุขภาพประชาชนอย่างต่อเนื่องพบผู้ป่วยแล้ว 20,000 คน ได้แจกรองเท้าบู๊ทป้องกันโรคฉี่หนู แจกมุ้งชุบสารเคมี โดยแจกยาสามัญประจำบ้านไปแล้ว 165,000 ชุด ในวันนี้จะจัดส่งให้จังหวัดราชบุรี 5,000 ชุด และจังหวัดเพชรบุรีอีก 10,000 ชุด   

          ดร.พรรณสิริ กล่าวว่า ผลจากการมีน้ำท่วมขังทำให้ประชาชนเดินทางไปมาลำบากขึ้น กลุ่มที่น่าเป็นห่วงคือผู้ที่มีโรคประจำตัวและต้องกินยาควบคุมอาการต่อเนื่องทุก 1-3 เดือน เช่นหอบหืด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อาจมีปัญหาไม่สามารถเดินทางไปพบแพทย์ตามนัดได้ อาจทำให้อาการกำเริบ ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดส่งเจ้าหน้าที่และอสม.ออกสำรวจและจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เข้าไปเยี่ยมและตรวจสุขภาพ จ่ายยาถึงบ้านเพื่อป้องกันไม่ให้ขาดยา รวมทั้งให้เจ้าหน้าที่เพิ่มความระมัดระวังอีก 3 กลุ่มคือ ผู้ป่วยโรคลมชักโรคซึมเศร้า โรคจิตเภท อาจทำให้อาการกำเริบได้ง่ายจากปัญหาน้ำท่วมหรือถูกสิ่งกระตุ้นจะต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิดและถ้าพื้นที่ใดมีผู้พิการ หากมีความเสี่ยง ให้ฝากนอนที่โรงพยาบาล เพื่อความปลอดภัยและลดการสูญเสียชีวิต

         นอกจากนี้ได้ให้ทุกจังหวัดประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนป้องกันโรคที่มากับน้ำท่วม และเฝ้าระวังโรคที่มากับน้ำท่วมและหลังน้ำท่วมที่พบได้บ่อย ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง ไข้หวัดใหญ่ โรคฉี่หนู โรคไข้เลือดออก โรคผิวหนัง โรคตาแดง เป็นต้น ซึ่งขณะนี้อาจมีการแพร่ระบาดอยู่บ้าง แต่ควบคุมได้

         สำหรับการดูแลสุขภาพ ขอให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม รักษาร่างกายให้อบอุ่น รับประทานอาหารที่สุกใหม่ๆ ดื่มน้ำที่สะอาด ล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง ควรถ่ายอุจจาระในส้วม หากไม่มีส้วมให้ถ่ายอุจจาระลงในถุงพลาสติกแล้วใส่ปูนขาว ปิดปากถุงให้แน่นนำไปใส่ถุงดำอีกครั้งก่อนนำไปทิ้ง    ห้ามถ่ายลงในน้ำอย่างเด็ดขาดเพราะจะเพิ่มความสกปรกให้น้ำ เสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดได้ ยากต่อการควบคุมโรค    หากเป็นไปได้ขอให้หลีกเลี่ยงการลุยน้ำ ย่ำโคลน หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ใส่รองเท้าบู๊ท หลังลุยน้ำท่วมขังให้ล้างเท้าให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง อย่าให้ยุงกัด ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงทุก 7 วัน ประชาชนกลุ่มเสี่ยงควรไปรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

7 ตุลาคม 2553

Next post > รมช.สธ. ห่วงเด็กติดเกม -อ้วน สายตาเสื่อม ช่วงปิดเทอม แนะพ่อแม่ใช้คาถา 10 ข้อ ดูแลลูก

< Previous post สาธารณสุขน่านเร่งฉีดวัคซีนไข้หวัด2009ให้กลุ่มเสี่ยง!

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด