logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

อย.เตือนอย่าหลงเชื่ออวดอ้างอ้างเซลล์ต้นกำเนิดจากพืชในเครื่องสำอาง

http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9530000139706

          ภญ.วีรวรรณ แตงแก้ว รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีการโฆษณาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางอวดอ้างให้เข้าใจว่า มีการผสมเซลล์ต้นกำเนิดจากพืชในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และนำเสนอสรรพคุณ หรือประสิทธิภาพ เกินขอบข่ายของเครื่องสำอาง เช่น สามารถทำให้เซลล์มนุษย์มีการแบ่งตัว และเจริญเติบโตได้ 80%, ทำให้เซลล์ทนทานต่อรังสี UV อายุของเซลล์ยาวขึ้น, มีประสิทธิภาพเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถป้องกันการทำลายเซลล์จาก Hydrogen Peroxide ได้ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้ผู้บริโภคตกเป็นเหยื่อการโฆษณาชวนเชื่อ ตามนโยบายคุ้มครองผู้บริโภคของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงขอแจ้งให้ทราบว่า แท้จริงแล้ว การอวดอ้างว่าเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของเซลล์ต้นกำเนิดจากพืชเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง อีกทั้งผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของเซลล์ต้นกำเนิดจากพืชยังคงพบปัญหาที่สำคัญในเรื่องของประสิทธิภาพ และความปลอดภัย ซึ่งข้อมูลงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากพืชยังมีอยู่ค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นการสกัดสารสำคัญจากพืชมากกว่าการนำเซลล์พืชมาใช้เป็นส่วนผสม
      
         นอกจากนี้ ข้อจำกัดของเซลล์ที่จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาวะที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น และอาหาร ฯลฯ ให้เหมาะสมเพื่อการเจริญเติบโตของเซลล์นั้นไม่ใช่สภาวะที่พบได้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และการโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณในลักษณะดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นคุณลักษณะของยาไม่ใช่เครื่องสำอาง ซึ่งตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2535 ให้คำนิยามเครื่องสำอางไว้ว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ภายนอก เพื่อความสะอาดและความสวยงามเท่านั้น ไม่มีผลต่อโครงสร้าง หน้าที่ของร่างกาย หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายมนุษย์ จึงขอเตือนผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อการโฆษณาอวดอ้างดังกล่าว เพราะนอกจากไม่เกิดผลตามสรรพคุณที่กล่าวอ้างและเสียเงินโดยไม่จำเป็นแล้ว ยังอาจเกิดอันตรายอีกด้วย
      
        “ขอเตือนผู้ประกอบการที่เอาเปรียบผู้บริโภคโดยการโฆษณาที่ใช้ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง หรือใช้ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอางจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
      
        รองเลขาธิการฯ อย.กล่าวในตอนท้ายว่า ขอให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และไม่หลงเชื่อโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริง หากพบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่น่าสงสัยว่าผิดกฎหมาย ขอให้แจ้งร้องเรียนมาที่ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ชั้น 1 ตึก อย. หรือสายด่วน อย.1556 หรือ Email :
[email protected]  หรือตู้ ปณ.1556 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004

6 ตุลาคม 2553

Next post > รมช.สธ. ให้ 11 จังหวัดน้ำท่วม เฝ้าระวังโรคที่มากับน้ำท่วม และผู้ป่วย 6 โรคเรื้อรังขาดยา

< Previous post “จุรินทร์” ย้ำไม่ได้ยกเลิกโครงการบัตรทอง

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด