logo
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

คนไทยจิตป่วยพุ่งเกินล้านกว่า ฮิตเป็นซึมเศร้า บ้าระแวงถูกฆ่า

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=38&contentID=94893

        ยอดผู้ป่วยโรคจิตพุ่งสูง ปี 52 พบตัวเลขกว่า 1.44 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นโรคจิตเภท วิตกกังวล ซึมเศร้า ลมชัก ติดสารเสพติด ปัญญาอ่อน ฆ่าตัวตาย และออทิสติก โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและโรคลมชักมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เผยสถานการณ์น่าห่วงพบผู้ป่วยจิตเวชในบุคลากรการแพทย์ นักบวช ตำรวจ ผู้พิพากษา พัศดี รวมทั้งกลุ่มที่ช่วยเหลือผู้ป่วยทางจิตในชุมชน แต่สามารถรักษาหายได้
   
        ที่รพ.ศรีธัญญา เมื่อวันที่ 28 ก.ย. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข โดยสมาคมสายใยครอบครัว จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “เพื่อเธอ…ทีมสามประสาน”ระหว่างวันที่ 28-29 ก.ย. 53 เพื่อเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรในโครงการสามประ สานให้เป็นมืออาชีพในการเป็นวิทยากรช่วยส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยจิตเวช ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช และกลุ่มเสี่ยง
   
        นพ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์ ที่ปรึกษา  กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จำนวนผู้ป่วยสุข ภาพจิตของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยพบว่าในปี 52 มีจำนวนถึง 1,440,393 ราย จาก 1,438,432 ราย ในปี 51 และโรคทางจิตเวชที่ยังมาเป็นอันดับ 1 คือ โรคจิตเภท รองลงมา คือ โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคลมชัก ติดสารเสพติด ปัญญา   อ่อน ฆ่าตัวตาย และออทิสติก แต่ที่น่าสังเกต คือ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและโรคลมชัก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้นจาก 148,240 ราย ในปี 51 เป็น 165,785 ราย ในปี 52 ขณะที่ผู้ป่วยโรคลมชักเพิ่มขึ้นจาก 116,090 ราย ในปี 51 เป็น 122,773 ราย ในปี 52 จึงจำเป็นอย่างยิ่ง    ที่ต้องส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคจิตเวชแก่ผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง และผู้มีโอกาสสูงที่จะพบผู้ป่วย เพื่อให้ได้รับการบำบัดรักษาได้อย่างทันท่วงทีหากพบสัญญาณของโรคแต่ต้น
   
        สำหรับการอบรมเชิงปฏิบัติการ  “เพื่อเธอ…ทีมสามประสาน” เป็นการเสริมสร้างศักยภาพและเตรียมความพร้อมให้กับทีมสามประสาน ซึ่งประกอบด้วย 1.กลุ่ม  ผู้ป่วยจิตเวช/คนพิการทางจิตที่หายแล้วหรือมีทักษะในการดำเนินชีวิตได้ตามอัตภาพ 2.กลุ่มญาติผู้ป่วยจิตเวช/คนพิการทางจิต  3.กลุ่มนักวิชาชีพ ได้แก่ จิตแพทย์ พยาบาลจิตเวช นักสังคมสงเคราะห์ นักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยา ในการเป็นวิทยากร ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคจิตเวช สามารถจับสัญญาณของโรคได้ตั้งแต่ต้น โดยจะออกไปเป็นวิทยากรให้ความรู้กับกลุ่มเสี่ยง ซึ่งกลุ่มเสี่ยงที่สำคัญ คือ วัยประถมปลายและมัธยมศึกษา เนื่องจากโรคจิตเวชมักเริ่มฟักตัวตั้งแต่วัยดังกล่าว แต่อาจยังไม่แสดงออกชัดเจน จึงทำให้ไม่ได้รับการบำบัดรักษา ถ้าได้รับการบำบัดรักษาตั้งแต่พบสัญญาณของโรคตั้งแต่ต้นจะสามารถรักษาให้เป็นปกติ ได้เร็ว และกลับมาใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่าต่อไปได้
   
         นอกจากนี้กลุ่มคนที่มีโอกาสพบผู้ป่วยจิตเวช เช่น บุคลากรทางการแพทย์ นักบวช บุคลากรในกระบวนการยุติธรรม ตำรวจ ผู้พิพากษา พัศดี รวมทั้งกลุ่มที่ช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน เช่น อาสาสมัคร พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ช่วยเหลือคนพิการ (อ.พ.ม.ก.) และผู้ช่วยคนพิการก็ถือว่า เป็นกลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับความรู้ ความเข้าใจโรคจิตเวชด้วยเช่นกัน 
   
         ทางด้านนางรัชนี แมนเมธี ประธานโครงการสามประสาน สมาคมสายใยครอบครัว กล่าวว่า โครงการสามประสาน ทำงานในลักษณะเป็นปากเป็นเสียงให้กับผู้ป่วยจิตเวช ให้สังคมเห็นว่าผู้ป่วยสามารถหายได้ ไม่ใช่มีอาการโวยวายเพียงอย่างเดียว ซึ่งการเจ็บป่วยทางจิตไม่ใช่ตราบาป แต่ผู้เจ็บป่วยทางจิตสามารถหายได้ และช่วยเหลือผู้ที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยได้.


29 กันยายน 2553

Next post > “จุรินทร์” ดีเดย์ 1 ตุลาคม 2553 รักษาฟรี 48 ล้านคน ใช้บัตรประชาชนใบเดียว ให้ประชาชนรับบริการสาธารณสุขที่สะดวก รวดเร็ว เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ

< Previous post สธ.สั่งเฝ้าระวัง“โรคมือเท้าปาก“ 9 เดือนป่วยกว่าหมื่นราย “น่าน-ตรัง“พบมากสุด

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด