logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องผ่าตัดขโมยไต

Link : http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=38&contentID=93858

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ยกฟ้องคดี “นพ.สิโรจน์” อดีต ผอ.รพ.วชิรปราการ ผ่าตัดขโมยไตและตับ แล้วนำไปปลูกถ่ายอวัยวะให้ผู้ป่วยรายอื่น เหตุเกิดตั้งแต่ปี 2540 ญาติเหยื่อฟ้องเอาผิด ข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่นและปลอมแปลงเอกสาร คดีต่อสู้ยืดเยื้อมานานหลายปี ระบุพยานหลักฐานไร้น้ำหนัก ไม่สามารถนำสืบให้เห็นว่ากระทำให้เหยื่อเสียชีวิตด้วยวิธีใด นอกจากนี้ลายมือในเอกสาร ก็ไม่ได้ระบุว่าตรงกับจำเลยหรือไม่จึงยกประโยชน์ให้จำเลย ขณะที่มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค จี้ร่างคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุข ยังมีจุดอ่อนหลายอย่างอยากให้ปรับอีก
   
ที่ห้องพิจารณาคดี 904 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 23 ก.ย. ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ในคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 8 เป็นโจทก์ และนางหนูแดง ดีโยธา กับนายเจริญ ดีโยธา มารดาและบิดาของ น.ส.ลัดดา ดีโยธา เป็นโจทก์ร่วม ฟ้อง นพ.สิโรจน์ กาญจนปัญจพล อดีตผู้อำนวยการ รพ.วชิรปราการ จ.สมุทรปราการ นพ.  วีระเดช เลิศดำรงลักษณ์ นายนันทวิทย์ ธงไชย อดีตผู้จัดการ รพ.วชิรปราการ และ นพ.วิวัฒน์ ถิระพานิช ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-4 ในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ตามฟ้องโจทก์บรรยายสรุปว่า นพ.สิโรจน์ จำเลยที่ 1 นพ.วีระเดช จำเลยที่ 2 และนายนันทวิทย์ จำเลยที่ 3 ได้ร่วมกันปลอมเอกสารหนังสืออุทิศอวัยวะของ น.ส.ลัดดา ดีโยธา และนางนงค์ พรมมา ต่อมาจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และ นพ.วิวัฒน์ จำเลยที่ 4 ได้ร่วมกันผ่าตัดเอาตับและไตของคนไข้ทั้งสองออกไปขณะที่คนไข้ยังไม่ถึงแก่ความตาย เพื่อนำไปปลูกถ่ายอวัยวะให้ผู้ป่วยรายอื่น เป็นเหตุให้คนไข้ทั้งสองถึงแก่ความตาย เหตุเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2540 หลังเกิดเหตุญาติของคนไข้ที่เสียชีวิตได้เข้าร้องเรียนต่อกองปราบปราม ให้ดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องดังกล่าว
   
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 48 โดยเห็นว่าแม้หนังสืออุทิศอวัยวะ จะมีการเติมข้อความด้วยลายมือว่า “ตับ” ลงในเอกสาร แต่พยานโจทก์ไม่ได้ยืนยันในรายละเอียดว่าเหมือนกับลายมือของจำเลยที่ 1 จึงมีข้ออันควรสงสัยว่า จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้เขียนข้อความดังกล่าวลงในหนังสืออุทิศอวัยวะของคนไข้จึงยก  ประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยที่ 1 ในข้อหาปลอมและใช้เอกสารปลอม
   
ส่วนในข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานนำสืบให้เห็นได้ว่า มีการใช้ยาหรือมีการทำโดยประการใด ๆ ของพวกจำเลยทำให้คนไข้ทั้ง 2 คนแกน สมองตายโดยเจตนา ข้อเท็จจริงจึงรับฟัง   ได้ว่า คนไข้ทั้งสองถึงแก่ความตายแล้ว ก่อนที่จะมีการผ่าตัดนำอวัยวะ (ไตและตับ) ออกไป จึงพิพากษาให้ยกฟ้อง แต่ให้ขัง นพ.สิโรจน์ จำเลยที่ 1 ไว้ในระหว่างอุทธรณ์ ต่อมาอัยการโจทก์ยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลลงโทษจำเลยตามความผิด ศาลอุทธรณ์ตรวจ สำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า การกระทำของจำเลยไม่มีความผิด ที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษานั้นชอบแล้ว ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยพิพากษายืน
   
ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้จัดเสวนาเรื่อง “ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ… ใครได้ ใครเสีย เหมือนต่างจากร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข” โดยมีการนำเสนอร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ… ที่ร่างโดยฝ่ายแพทย์ คือ นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ศัลยแพทย์ประสาท รพ.วิภาวดี เป็นผู้เสนอ ทั้งนี้ น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ร่างของ นพ.เมธี เป็นร่างจากฝ่ายแพทย์นั้นเรายังพบจุดอ่อนหลายประการ
   
ด้านนายไพศาล ลิ้มสถิตย์ ตัวแทนศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า เราต้องการให้การออก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบเป็นจุดร่วมที่ยอมรับกันได้ เมื่อมีปัญหาได้รับการเยียวยาอย่างรวดเร็วไม่มีการฟ้อง วัตถุประสงค์คือเพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยดีขึ้น ดังนั้นบางส่วนในรายละเอียดต้องมีการปรับปรุงต่อไป.

27 กันยายน 2553

Next post > รมช.สธ. เผยผลตรวจสอบคุณภาพถุงยางอนามัยมีมาตรฐานกว่าร้อยละ 99

< Previous post สธ. เปิดตัว 3 ตำรับยาสมุนไพรต้านหวัด ได้แก่ ตำรับยาห้าราก จันทน์ลีลา และยาเขียวหอม

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด