logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

Link : http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000135135

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

ญี่ปุ่นสนใจร่วมมือไทย ทำวิจัยพันธุกรรมซึมเศร้า หลังพบประชากรในประเทศฆ่าตัวตายกว่า 3 หมื่นคนต่อปี

เมื่อเร็วๆ นี้ นายกำจร พลางกูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCELS) พร้อมด้วย นพ.วีรยุทธ์ ประพันธ์พจน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพันธุศาสตร์ สถาบันราชนุกูลภายใต้การสนับสนุนของ TCELS ได้เดินทางเข้าพบ ดร.นาโยกิ คามาตานิ ผู้อำนวยการศูนย์พันธุกรรมมนุษย์ RIKEN มหาวิทยาลัยโตเกียว เพื่อหารือถึงข้อตกลงความร่วมมือภายใต้โครงการเภสัชพันธุศาสตร์ ซึ่งได้มีความร่วมมือในการวิเคราะห์ยีนที่สัมพันธ์ต่อการเกิดโรคและยีนแพ้ยา อาทิ การวิเคราะห์ยีนของผู้ป่วยโรคเครียดรุนแรงหลังเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (Postraumatic Stress Disorder หรือ PTSD) การวิเคราะห์ยีนของผู้ป่วยแพ้ยาต้านไวรัสเอชไอวี ซึ่งได้ทำการค้นพบเป็นครั้งแรกของโลกถึงสองชนิด คือ เนวิราปิน กับสตาร์วูดีน

นายกำจร กล่าวว่า 4 ปีแห่งความร่วมมือระหว่าง TCELS กับ RIKEN ประสบความสำเร็จในโครงการต่างๆ หลายโครงการ โดยเฉพาะทางด้านจิตเวช และสุขภาพจิต โดยโครงการเริ่มแรกคือเรื่องการศึกษาความเสี่ยงทางพันธุกรรมกับการเกิดโรค PTSD (Post Traumatic Stress Disorder) เพื่อทำฐานข้อมูลด้านสุขภาพจิตและพันธุกรรมของผู้ที่รอดชีวิตจากสึนามิกว่า 5 ปีที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการเก็บข้อมูลกลุ่มใหญ่ที่สุดเป็นครั้งแรกของโลก โดย TCELS ได้ส่งนักวิจัยไปปฏิบัติงานในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ RIKEN มหาวิทยาลัยโตเกียว ในชื่อโครงการเภสัชพันธุศาสตร์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการสรุปข้อมูล และที่ต้องใช้เวลา เนื่องจากโรคทางด้านจิตเวชมีสาเหตุที่หลากหลาย จึงใช้วิธีวิเคราะห์ที่แตกต่างจากการวิเคราะห์ทั่วไป นอกจากนี้ RIKEN ยังให้ความสนใจในการศึกษาโรคซึมเศร้าร่วมกับสถาบันราชนุกูล ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการเภสัชพันธุศาสตร์ โดยจะได้ลงนามความร่วมมือกันในอนาคตอันใกล้ต่อไป เพื่อขยายผลไปสู่โรคจิตเวชอื่นๆ

ด้าน ดร.นาโยกิ คามาตานิ ผู้อำนวยการ RIKEN กล่าวว่า ที่เราให้ความสนใจโครงการศึกษาโรคซึมเศร้าของสถาบันราชานุกูลเนื่องจากในประเทศญี่ปุ่นเองก็มีกรณีการฆ่าตัวตายถึงปีละกว่า 30,000 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จิตแพทย์ในญี่ปุ่นก็พยายามเก็บข้อมูลคนไข้และตัวอย่างเลือดเพื่อทดสอบว่าเกิดจากสาเหตุอะไร และเชื่อว่าพันธุกรรมอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคได้ หากเราทราบแต่เนิ่นจะสามารถวางแผนการป้องกันได้ ซึ่งเราเชื่อในศักยภาพของสถาบันราชานุกูลว่าสามารถทำได้

27 กันยายน 2553

Next post > รมช.สธ. เผยผลตรวจสอบคุณภาพถุงยางอนามัยมีมาตรฐานกว่าร้อยละ 99

< Previous post สธ. เปิดตัว 3 ตำรับยาสมุนไพรต้านหวัด ได้แก่ ตำรับยาห้าราก จันทน์ลีลา และยาเขียวหอม

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด