logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

Link : http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000135282

ภาพประกอบเนื้อหา

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

นักวิทยาศาสตร์ ศูนย์วิทย์ฯ นครสวรรค์ พบเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคอาหารเป็นพิษในยาสมุนไพร แนะชาวบ้านสกัดสมุนไพรใช้เองควรออกแบบโรงเรือนเฉพาะ-ใช้นำสะอาดล้างสมุนไพร

นางสิรดา ปงเมืองมูล นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญการ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 นครสวรรค์ กล่าวว่า ในปัจจุบันนั้นมีผลิตภัณฑ์สมุนไพรและยาแผนโบราณจำนวนมาก ที่วางขายตามท้องตลาด ซึ่งมีทั้งผลิตภัณฑ์ระดับอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกรรมวิถีแบบชาวบ้าน ทั้งนี้ การดูแลและเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ จะต้องควบคุมไม่ให้มีจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคคลอสตริเดียม หรือโรคอาหารเป็นพิษ นั่นเอง ซึ่งโรคชนิดนี้จะก่อให้เกิดอาการ ความผิดปกติของลำไส้จะแสดงออกโดยอาการเริ่มของการปวดท้องแบบปวดเกร็ง และตามด้วยอาการอุจจาระร่วง อาการคลื่นไส้นั้นพบได้บ่อย แต่อาการทำให้อาเจียนแ แม้เป็นโรคไม่ร้ายแรงนัก แต่ก็มักพบอาการดังกล่าวร่วมกับโรคลำไส้อักเสบ และลำไส้เน่า (Enteritis necroticans) เชื้อดังกล่าวจะมีระยะฟักตัว ระหว่าง 6-24 ชั่วโมง ส่วนมาก 10-12 ชั่วโมง โดยจะพบในอาหารหรือยาที่ได้รับความร้อนไม่เพียงพอ แต่่ถ้าความร้อนมีมาตรฐานก็จะไม่พบการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ชนิดนี้ สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ ผลิตภัณฑ์ยา หรืออาหารที่ได้จากสมุนไพรนั้น หากมีกระบวนการผลิตโดยใช้ความร้อนสูงเกินไป อาจจะมีผลที่ทำให้ได้สารสกัดน้อย ซึ่งมักไม่คุ้มค่ากับคุณประโยชน์ที่จะได้รับ จึงเป็นข้อสังเกตว่า หากมีกระบวนการสกัดสมุนไพรที่ไม่เหมาะสมจะเสี่ยงต่อการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ได้ และยิ่งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยฝุ่น หรือในระหว่างการผลิตแล้วใช้น้ำที่ไม่สะอาดพอในการล้างสมุนไพร ก็จะมีส่วนทำให้เชื้อแพร่อย่างรวดเร็ว

“หากเป็นการผลิตระดับอุตสาหกรรมก็ยากจะปนเปื้อนได้ แต่ถ้าเป็นระดับชุมชน ที่พบบ่อยๆ คือ ชาวบ้านใช้วิธีการนำสมุนไพรต่าง เช่น ขมิ้นชัน ฟ้าทลายโจร ไปผึ่งแดด โดยไม่มีโรงเรือนห่อหุ้ม ก่อนจะนำไปบดละเอียดสำหรับใช้ประโยชน์ จะเป็นจุดเริ่มของการแพร่กระจายเชื้อจุลินทรีย์ดังกล่าว ซึ่งหากชุมชนใดผลิตเพื่อขาย เปอร์เซ้นที่จะทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายก็สูงขึ้นไปด้วย” นางสิรดา กล่าว

นักวิทยาศาสตร์คนเดิม กล่าวต่อว่า เนื่องจากปัญหาดังกล่าวนี้เอง ทำให้ศูนย์วิทย์ฯได้เลือกทำการศึกษาวิเคราะห์หาหการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์ยาแผนโบราณและยาจากสมุนไพร โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 328 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่ามีการปนเปื้อนเชื้อก่อโรค คลอสตริเดียมจำนวน 104 ตัวอย่าง หรือราวร้อยละ 32 ซึ่่งตาม เกณฑ์มาตรฐานที่ถูกต้องนั้นจะต้องไม่พบเชื่้อดังกล่าว จากผลเบื้องต้นทางศูนย์ได้ส่งตัวอย่างเชื้อที่ตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลและระบุสายพันธุ์ ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยผลตรวจพบว่า มีเชื้อคลอสตริเดียม 5 สายพันธุ์ ได้แก่ C.perfringens จำนวน 78 ตัวอย่าง สายพุนธุ์ C.sp จำนวน 31 ตัวอย่าง สายพันธุ์ C.sordellii จำนวน 7 ตัวอย่าง และ C.bifermentans จำนวน 5 ตัวอย่าง ที่เหลือเป็นหารปนเปื้อนร่วม 2 สายพันธุ์ มีจำนวน 17 ตัวอย่าง โดยจากข้อมูลสายพันธุ์ของเชื้อคลอสตริเดียมนั้นก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ ,ลำไส้อักเสบ และเนื้อเยื่อเน่าตาย แต่ก็ไม่ใช่สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงเหมือนสายพันธุ์ C.botulinum หรือสายพันธุ์ C.tetani ซึ่งจากสถานการณ์ที่พบนี้ทางทีมศึกษาได้นำเสนอผลการศึกษาในงานการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 18 เมื่อเร็วๆนี้มาแล้ว โดยได้รับความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยหลากหลายสาขา

นางสิรดา กล่าวว่า  เพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้นในการเตรียมการเฝ้าระวังอย่าเงข้มข้น ทางูศูนย์คาดไว้ว่า ในอนาคตอาจจะมีโครงการที่จะพัฒนาห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์เชิงลึก โดยพยายามจะหาปริมาณและชนิดหรือประเภทของสายพันธุ์ที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อย เพื่อจะได้แจ้งข้อมูลเตือนภัยและประเมิน ความเสี่ยงนคุณภาพของผลิตภัณฑ์สมุนไพรและยาแผนโบราณต่อไป ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กฌพร้อมจะสนับสนุน

นางสิรดา กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยในเบื้องต้น ตนอยากเตือนชาวบ้านที่ต้องการสกัดยาสมุนไพรให้ระมัดระวังเชื้อดังกล่าวด้วยการพยายามผึ่งสมุนไพรในแดดอ่อนๆโดยมีโรงเรือนห่อหุ้มมิดชิด ใช้น้ำสะอาด เช่น น้ำประปา แทนน้ำฝน มาล้างสมุนไพรและพยายามบรรจุหีบห่อในภาชนะที่มิดชิดและปลอดภัย

27 กันยายน 2553

Next post > รมช.สธ. เผยผลตรวจสอบคุณภาพถุงยางอนามัยมีมาตรฐานกว่าร้อยละ 99

< Previous post สธ. เปิดตัว 3 ตำรับยาสมุนไพรต้านหวัด ได้แก่ ตำรับยาห้าราก จันทน์ลีลา และยาเขียวหอม

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด