logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

วิทยาลัยแพทย์เล็งพัฒนา”พลูคาว” สมุนไพรไทยต้านหวัด2009

Link : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1285238667&catid=04

นายประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า รู้สึกเป็นห่วงเกี่ยวกับสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ชนิด เอ (H1N1) เพราะจากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เมื่อต้นเดือนกันยายนพบว่าตั้งแต่เดือนมกราคม 2552-21 สิงหาคมที่ผ่านมา มีผู้ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (H1N1) ถึง 8,784 ราย มีผู้เสียชีวิต 21 ราย ทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แต่เรื่องนี้กลับไม่เป็นที่สนใจของสังคม เพราะไข้หวัดชนิดนี้กลายพันธุ์เหมือนการติดหวัด ดังนั้น จึงอยากรณรงค์ให้ประชาชนหันมาดูแลตนเองป้องกันตนเองตั้งแต่ต้นทางด้วยภูมิปัญญาไทย โดยใช้สมุนไพรประกอบอาหารในการรับประทาน เช่น กระเทียม หอมแดง หอมใหญ่ กะเพรา เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นเมนูสามารถสร้างภูมิต้านทานโรคหวัดได้ส่วนเมนูอาหาร เช่น แกงเลียง มีสรรพคุณป้องกันเช่นกัน เพราะรสเผ็ดร้อน จะทำให้ร่างกายอบอุ่น แกงส้มดอกแค ทำให้ได้รับวิตามิน ซี ป้องกันตัวเองให้เกิดภูมิคุ้มกัน ส่วนน้ำดื่ม เช่น น้ำฝรั่ง น้ำขิง น้ำมะขาม น้ำตะไคร้ ชาเห็ดหลินจื้อ ควรดื่มแทนน้ำ 2-3 แก้ว ส่วนยารักษาของแพทย์ทางเลือก วิทยาลัยแนะนำให้ใช้ฟ้าทะลายโจรช่วยลดไข้แก้ปวด จันทลีลา แก้ปวด เมื่อย ทั้งหมดนี้คือเบื้องต้นในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเองโดยใช้ภูมิปัญญาไทยควบคู่กับการฉีดวัดซีนป้องกัน

ดร.ไฉน น้อยแสง หัวหน้าแผนกวิจัย วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี กล่าวว่า วิทยาลัยมุ่งเน้นการพัฒนาตำรับยาสมุนไพรไทยมาใช้ในสถานพยาบาลการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ส่วนใหญ่เรื่องไข้หวัดในตำรับของแพทย์แผนไทยนั้น จะดูจากหมอพื้นบ้านว่ามีสมุนไพร หรือตำรับยาใดบ้างที่ใช้ในการรักษา จากนั้นจะคัดเลือกตำรับที่ใช้ได้เห็นผล เพื่อนำมาศึกษาตามมาตรฐาน หามวลสารออกฤทธิ์ และพัฒนารูปแบบของสมุนไพรต่อไป บางครั้งอาจใช้สมุนไพรเพียงชนิดเดียว แต่หากมีตัวยาที่รุนแรง จะนำสมุนไพรชนิดอื่นมาผสม เพื่อให้การออกฤทธิ์ดีขึ้น หรือเพื่อลดพิษของสมุนไพรนั้นๆ โดยยึดความรู้จากภูมิปัญญาไทย ซึ่งนอกจากสมุนไพรฟ้าทะลายโจรที่ช่วยในการป้องกันไข้หวัดใหญ่แล้ว สมุนไพรพื้นบ้านอย่าง พลูคาว ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรประจำถิ่นภาคเหนือ ก็ช่วยสร้างภูมิต้านต้านโรคไข้หวัดได้ แต่มีกลิ่นเฉพาะตัวเหมือนกลิ่นคาวปลาที่แรงมาก แต่ในอนาคตวิทยาลัยมีแนวคิดที่จะพัฒนาพลูคาวให้รับประทานง่ายขึ้น โดยอาจนำมาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นที่มีกลิ่นหอม เพื่อลดกลิ่นคาวของสมุนไพรชนิดนี้

 

24 กันยายน 2553

Next post > ศูนย์วิทย์ฯนครสวรรค์พบเชื้อก่อโรคอาหารเป็นพิษในยาสมุนไพร

< Previous post หมอเตรียมสไตรค์! กดดันค้าน พ.ร.บ.คุ้มครองฯ เอ็นจีโอจวก ควรนึกถึงผู้ป่วยเป็นหลัก

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด