logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

จุรินทร์ ให้ 4 กระทรวง บูรณาการแผนแก้ไขปัญหามาบตาพุด จ.ระยอง และสั่งทุกหน่วยรายงานการครอบครองสารเคมี

Link : http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=33810

          วันนี้ (22 กันยายน 2553) ที่อาคารรัฐสภา 1 กรุงเทพฯ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประชุมคณะกรรมการอาชีว อนามัยและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 2/2553 เพื่อติดตามการดำเนินงาน การแก้ไขปัญหามาบตาพุด การแก้ไขปัญหาสุขภาพผู้ที่ได้รับผลกระทบจากบ่อขยะภาคอุตสาหกรรม จังหวัดสระบุรี

          นายบุณย์ธีร์ พานิชประไพ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2553 เห็นชอบให้ 4 กระทรวงหลัก ได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงมหาดไทย ไปดำเนินการแก้ไขปัญหามาบตาพุด จังหวัดระยอง ที่มีการขยายตัวของอุตสาหกรรม โดยเฉพาะพื้นที่ตำบลมาบตาพุด ในเขตอำเภอเมือง ซึ่งประสบปัญหาผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากมลพิษอุตสาหกรรม ซึ่งอุตสาหกรรมหลักในพื้นที่ ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน อุตสาหกรรมผลิตเหล็ก อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมผลิตปุ๋ย อุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์

          นายบุณย์ธีร์ กล่าวต่อไปว่า การประชุมในวันนี้ นายจุรินทร์ สั่งการให้ดำเนินการ 3 ประเด็น คือ 1. ให้จัดทำแผนการดำเนินงานแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานทุกภาคส่วนแบบมีส่วนร่วม โดยแต่ละหน่วยงานต้องแบ่งงานกันทำมีเป้าหมาย มีขอบเขตหน้าที่ที่ชัดเจน เมื่อดำเนินการเสร็จให้รายงานต่อที่ประชุมทราบ 2. พัฒนาเกณฑ์มาตรฐานสุขภาพและดัชนีชี้วัดสุขภาพ เพื่อคัดกรองความเสี่ยงภัยและเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคจากสารเคมี สำหรับผู้ประกอบอาชีพและประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรม และ3. สนับสนุนให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถดำเนินการเฝ้าระวังสุขภาพเชิงรุก เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค ได้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายอย่างไรก็ตามได้ขอให้ทุกกระทรวงรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการทราบ ในการประชุมคณะกรรมการครั้งต่อไปด้วย

          นอกจากนี้ นายจุรินทร์ ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทุกจังหวัด ประกอบด้วย กรมควบคุมมลพิษ กรุงเทพมหานคร และกรมการขนส่งทางบก ได้รายงานการครอบครองและการใช้สารเคมีของโรงงานและหน่วยงานต่างๆ ให้สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุขทราบ เพื่อจะได้เตรียมการแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงทีต่อไป หากมีการรั่วไหลหรือแพร่กระจายของสารเคมีในพื้นที่ใดๆก็ตามทั่วประเทศ  

          ทั้งนี้จากสถานการณ์การเกิดอุบัติภัยสารเคมี จังหวัดระยอง ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา ซึ่งมีผู้ได้รับผลกระทบทั้งสิ้น 1,524 ราย กระทรวงสาธารณสุขได้ออกตรวจสุขภาพทั้งในเขตควบคุมมลพิษและเขตอุตสาหกรรมนอกเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง จากกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น 13,000 ราย ตรวจสุขภาพทั้งสิ้น 12,069 ราย คิดเป็นร้อยละ 93 โดยการตรวจหาการสัมผัสสารอินทรีย์ระเหยง่าย จำนวน 12,069 ราย และตรวจหาการสัมผัสสารโลหะหนัก ได้แก่ ปรอท ตะกั่ว สารหนู จำนวน 500 ราย

23 กันยายน 2553

Next post > นักกฎหมาย พบ พ.ร.บ.คุ้มครองฯ มีจุดอ่อนหลายประการ

< Previous post การประชุมผู้เชี่ยวชาญโครงการพัฒนา และประเมินประสิทธิผลมาตราการสื่อสาร เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด