logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

หมอรุมกะซวกกม.คุ้มครอง

Link : http://www.thaipost.net/news/180910/27595

  ประชาพิจารณ์ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ วงแทบแตก “หมอวิชัย โชควิวัฒน์” โดนรุมด่า เจ้าตัวกัดฟันชี้แจงยันหลักการดีไม่ใช่กฎหมาย “ล่อหมอ” รุมจวก สธ.ทำตัวเป็นร้านสุกี้ คนไข้ได้แค่เศษเนื้อ นายกแพทยสภาซ้ำเปิดข้อมูล 1 ใน 3 ผู้ป่วยได้รับเงินชดเชยแล้วยังฟ้อง สธ.ต่อ ด้านประชาพิจารณ์กลุ่มหมอขออีก 3 สัปดาห์ไม่เกิน 8 ต.ค.ได้ข้อสรุป เสนอขยาย ม.41 ท่าเดียว
     นพ.ไพจิตร์ วราชิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แพทยสภาจัดการประชุมประชาพิจารณ์เฉพาะกลุ่มแพทย์ ในหัวข้อ “วิเคราะห์เจาะลึกร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข” โดย นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ อดีตกรรมการแพทยสภา กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้หากดูที่หลักการเป็นกฎหมายที่ดี มีแค่รายละเอียดที่ห่วงใยบางประการ ก็ควรเข้าไปแก้ไขชั้นกรรมาธิการ และมีเวทีอีกมากที่จะแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ให้ดีที่สุด เพราะไม่มีกฎหมายฉบับใดที่ออกมาแล้วดีที่สุดในโลกแม้แต่รัฐธรรมนูญ
     ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการอภิปรายของ นพ.วิชัย ได้มีแพทย์ลุกขึ้นอภิปรายและโจมตีร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ อย่างดุเดือด จน นพ.วิชัย กล่าวว่า ถ้าเป็นคนอื่นคงไม่มีใครมาชี้แจงเวทีแบบนี้ พร้อมกล่าวย้ำกฎหมายฉบับนี้ไม่ใช่กฎหมาย “ล่อหมอ” เพราะไม่มีมาตราใดที่จะเป็นผลร้ายต่อหมอ ตรงกันข้ามกลับช่วยประนีประนอมไม่ต้องใช้ พ.ร.บ.รับผิดทางละเมิด ที่มีระบบกล่าวหาต้องพิสูจน์ถูกผิดใช้ระยะเวลานานหลายปี แต่ขั้นตอนตามร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ใช้เวลาเพียง 27 วันเท่านั้น
      นพ.ชัยวัน เจริญโชคทวี ผอ.วิทยาลัยแพทยศาสตร์ กทม.และวชิรพยาบาล กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีหลักการที่สวยหรู ต้องการให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ แต่ได้เปลี่ยนบุคลากรของ สธ.ให้เป็นเหมือนร้านสุกี้ ส่วนผู้ป่วยก็เปลี่ยนให้เป็นผู้รับบริการเขียนว่าหมอเป็นอันตรายได้มากกว่าวัตถุอันตราย เพราะระบุลงโทษจำคุกถึง 6 เดือน ส่วนผู้ป่วยที่จะได้รับเงินชดเชยก็ได้รับเพียงเศษเนื้อ คนที่ได้เงินจริงคือผู้ที่ยกมือโหวตตัดสินว่าหมอทำผิดหรือไม่ โดยที่คนกลุ่มนี้ไม่ได้มีผู้เชี่ยวชาญรวมอยู่ด้วย มีอำนาจการใช้เงินมากกว่านายกรัฐมนตรีเสียอีก และเห็นว่าไม่ว่าจะมีร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้หรือไม่ ก็ไม่ช่วยให้ลดการฟ้องร้องลงได้
     ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2539-2553 มีคดีแพ่ง 134 คดี คดีอาญา 14 คดี คดีแพ่งผู้บริโภค 67 คดี ทุนทรัพย์ในการฟ้องคดี 884 ล้านบาท โดยมีคดีผู้บริโภค ตั้งแต่ 23 ส.ค.-7 ก.ย.2553 46 คดี ได้มีการไกล่เกลี่ย 14 คดี เหลือ 32 คดี ใช้เงินในการไกล่เกลี่ยตาม ม.41 ตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 14 คดี 3.12 ล้านบาท ในปี 2547-ปัจจุบัน มี 37 คดี จาก 109 คดี ที่มีผู้ฟ้องร้อง สธ. ดังนั้นแม้ว่าผู้ที่ได้รับความเสียหายจะได้รับเงินชดเชยเบื้องต้นตาม ม.41 ไปแล้วยังมีการฟ้องร้องต่อถึง 1 ใน 3 ของจำนวนผู้ฟ้องร้องคดีทั้งหมด
     วันเดียวกันเมื่อเวลา 17.30 น. พล.อ.ต.นพ.การุณ เก่งสกุล ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ ในฐานะโฆษกคณะทำงานพิจารณาและศึกษาร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข กล่าวภายหลังการประชุมว่า ภายหลังจากที่คณะทำงาน 9 คณะ ได้ออกทำประชาพิจารณ์ในจังหวัดต่างๆ ประมาณ 10 จังหวัด ในบุคลากรทางการแพทย์ประมาณ 10,000 คน พบว่าส่วนใหญ่ต่างคัดค้านในร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ฉบับรัฐบาล เพราะเห็นว่ายังมีปัญหาซ่อนเร้น โดยบางคนเสนอให้ถอนร่าง พ.ร.บ.นี้ และบางคนเห็นควรให้มีการยกร่างใหม่ทั้งหมด เนื่องจากมีมาตราที่ต้องแก้ไขจำนวนมาก โดยเน้นที่การดูแลประชาชนให้ดีที่สุด และต้องมีกลไกดูแลผู้ปฏิบัติงาน
     “ขณะนี้เรายังไม่ได้ข้อสรุป คณะทำงานขอเวลาอีก 3 สัปดาห์ คาดว่าในวันที่ 8 ตุลาคมนี้ จะได้ข้อสรุปทั้งหมดเพื่อเสนอผู้เกี่ยวข้องต่อไป ยืนยันว่าเราไม่ได้คิดเตะถ่วงเวลา เพราะการทำประชาพิจารณ์บุคลากรทางการแพทย์กว่า 300,000 คน ไม่ใช่เรื่องง่าย และที่ผ่านมาเราได้เร่งรัดอย่างเต็มที่แล้ว” โฆษกคณะทำงานกล่าว.

20 กันยายน 2553

Next post > ลุ้นโผรายชื่อซี 10 สธ.เข้า ครม.

< Previous post ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 ระบาดระลอก3

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด