logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

แฉคนไทยเอวหาย- ไขมันในเลือดสูง

Link : http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=8&contentID=92335

เผยผลสำรวจคนไทยอ้วนเยอะ กินผักผลไม้น้อย ซ้ำโรคโลหิตจางปั่นทอน คาดป่วยเบาหวานเฉียด 3 ล้าน ความดันสูง 10 ล้าน

วันนี้ (16 ก.ย.)  รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร สำนักงานศูนย์เวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยถึงผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 ระหว่างเดือน ก.ค.2551-มี.ค.2552 โดยเป็นการสำรวจกลุ่มตัวอย่างใน 20 จังหวัดทั่วประเทศและกรุงเทพฯ กลุ่มอายุ 15-59 ปี จำนวน 12,240 คนและอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 9,720 คน รวมทั้งหมด 21,960 คน ปรากฎว่าคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ 19.9% ซึ่งเพศชายสูบบุหรี่เป็นประจำ 38.7% ส่วนเพศหญิงสูบบุหรี่เป็นประจำ 2.1% ทั้งนี้พบว่า 1 ใน 4 ของผู้สูงอายุชายยังคงสูบบุหรี่อยู่
    รศ.นพ.วิชัย กล่าวต่อว่า จากการสำรวจพฤติกรรมการกินอาหาร พบว่าประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป 77.3 % กินอาหารครบ 3 มื้อต่อวัน โดยกลุ่มอายุที่กินครบ 3 มื้อน้อยที่สุดคืออายุระหว่าง 15-29 ปี นอกจากนี้ยังพบว่า ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปสูงถึง 80 % กินอาหารมื้อเย็นที่บ้าน ส่วน 20 % กินอาหารนอกบ้านหรืออาหารปรุงสำเร็จ สำหรับการกินผลไม้ พบว่า 17.7 %  กินผักและผลไม้ปริมาณต่อวันเพียงพอตามข้อแนะนำ โดยสัดส่วนการกินผักและผลไม้ในผู้ชายอยู่ที่ 16.9 % ซึ่งน้อยกว่าผู้หญิง และหากพิจารณาตามภาคพบว่า ภาคใต้ กินผักและผลไม้เพียงพอมากที่สุด
รศ.นพ.วิชัย กล่าวต่ออีกว่า สำหรับประเด็นการใช้ยาและอาหารเสริม พบว่าประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 2.3 % กินยาแก้ปวดทุกวัน โดยเพศหญิงมีความชุกในการกินยาแก้ปวดสูงกว่าชาย และสัดส่วนการกินยาแก้ปวดจะเพิ่มขึ้นตามอายุด้วย โดยภาคอีสานมีคนกินยาแก้ปวดมากที่สุด รองลงมาคือภาคกลาง ทั้งนี้พบว่า 3.3  % กินยาคลายเครียดหรือยานอนหลับเป็นประจำ ทั้งที่มีอาการหรือไม่มีอาการ โดยผู้หญิงมีความชุกการกินยามากกว่าผู้ชายด้วย นอกจากนี้ยังพบว่า ประชากร 2.1 % กินยาลูกกลอนประจำ 1.1 % กินยาลดความอ้วนและ 14.8 % เคยกินอาหารเสริม ที่น่าห่วงคือ ภาวะอ้วน โดยในประชากรอายุ 15 ขึ้นไปผู้ชายพบมี 28.4 % ส่วนผู้หญิงสูงถึง 40.7 % โดยในภาคกลางและกรุงเทพฯ จะสูงกว่าภาคอื่น ๆ  ส่วนภาวะอ้วนลงพุง ในผู้ชายที่รอบเอวเกิน 90 ซม.มี 18.6 % ในผู้หญิงมีมากถึง 45 %  ซึ่งถือว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างชัดเจน
รศ.นพ.วิชัย ยังกล่าวถึงกรณีโรคเบาหวาน คาดว่าจะมีผู้ป่วยอายุ 15 ปีขึ้นไปประมาณ 6.9 % หรือ 3 ล้านคน โดยผู้ชายในกรุงเทพฯ จะมีความชุกสูงสุด รองลงไป ได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ อย่างไรก็ตามที่น่าห่วงมากคือ 1 ใน 3 ไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคเบาหวานมาก่อน อีกประเด็นที่น่าห่วงคือ โรคความดันโลหิตสูง เพราะพบว่าคนอายุ 15 ปีขึ้นไปมี 21.4 % หรือประมาณ 10 ล้านคน เป็นโรคดังกล่าวบางคนความดันสูงถึง 240 ก็มี ดังนั้นข้อแนะนำคือการไปตรวจร่างกายทุกปี โดยเฉพาะในคนอายุ 20 ปีขึ้นไป ส่วนภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ พบประมาณ 19.1 หรือประมาณ 10 ล้านคน ทั้งนี้พบว่าระดับไขมันคลอเลสเตอรอล เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
รศ.นพ.วิชัย ยังกล่าวถึงการสำรวจภาวะซึมเศร้าในคนอายุ 15 ปีขึ้นพบ 2.8 % โดยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ทั้งนี้พบว่าผู้ชายในภาคอีสานมีภาวะซึมเศร้ามากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ภาคใต้ ส่วนเพศหญิงพบในกรุงเทพฯ มากที่สุด อีกประเด็นที่น่าสนใจ คือ ภาวะโลหิตจาง เพราะคนอายุ 15 ปีขึ้นไป พบมากถึง 23 % และยังพบในผู้หญิงมากกว่าชาย โดยกรุงเทพฯ และอีสานมีความชุกสูงกว่าภาคอื่น สำหรับเรื่องอนามัยการเจริญพันธุ์ พบว่า ผลสำรวจพบว่าอายุเฉลี่ยของสตรีไทยเป็นประจำเดือนครั้งแรก มีแนวโน้มลดลงและเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เร็วขึ้น โดยกลุ่มอายุ 15-29 ปี มีประจำครั้งแรกเมื่ออายุ 13.2 ปี อายุ 30-44 ปี มีประจำเดือนครั้งแรกอายุ 14.1 ปีและอายุ 45-49 ปี มีประจำเดือนครั้งแรกอายุ 15-19 ปี นอกจากนี้ยังพบว่า 10.5 % ของสตรีวัย 15-19 ปี เคยตั้งครรภ์และในจำนวนนี้ 84.8 % เคยคลอดบุตรด้วย ส่วนการมีบุตรยากพบสูงถึง 11 % โดยมีเพียง 32.9 % เท่านั้นที่เคยได้รับการักษา
    “โดยสรุปผลการสำรวจสุขภาพประชาชนโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 นี้ เทียบกับครั้งที่ 3 พบว่า ความชุกของบางปัจจัยเสี่ยงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่น ภาวะอ้วน  ภาวะไขมันในเลือดสูง การกินผักผลไม้ไม่เพียงพอ ภาวะโลหิตจาง บางปัจจัยอยู่ในสภาพคงเดิม ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและบางปัจจัยเสี่ยงมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในบางกลุ่ม เช่น การสูบบุหรี่ลดลงในผู้ชายแต่ในผู้หญิงไม่ลดลง การมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ดังนั้นจำเป็นที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันกำหนดการ ดำเนินการควบคุมป้องกันปัจจัยเสี่ยงและสร้างเสริมสุขภาพประชาชนให้มีประสิทธิผลมากขึ้น ทั้งยังต้องมีการสำรวจติดตามสถานสุขภาพประชาชนต่อเนื่องเป็นระยะต่อไป” รศ.นพ.วิชัย กล่าว.

17 กันยายน 2553

Next post > “มีชัย“ ได้รับเลือกเป็นหนึ่งใน “ยูเอ็นเอดส์“

< Previous post ปฏิวัติการรักษามะเร็งพบเซลล์ปกติ ช่วยอุ้มชูเซลล์เนื้อร้ายเติบโต

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด