logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

Link : http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000122252

เพิ่งจะผ่านพ้นไปหมาดๆ สำหรับงาน Thailand Health & Wellness 2010 ที่ถือว่าค่อนข้างประสบความสำเร็จ มีผู้ให้ความสนใจงานแสดงผลงานวิจัย ตลอดจนวัตกรรมเชิงสุขภาพที่มีออกบูธกันเป็นจำนวนมาก และหนึ่งในบูธที่มีผู้สนใจมามะรุมมะตุ้มขอข้อมูล ก็คือ บูธของ “แพทย์ชีวโมเลกุล” ที่ชูทฤษฎีอันน่าสนใจไม่น้อยที่ชื่อว่า “เซลล์ซ่อมเซลล์”

เชื่อว่า หลายคนสงสัยว่า เซลล์ซ่อมเซลล์ คืออะไร ที่สำคัญสามารถรักษาโรคได้จริงหรือ

อ.พรรณทิพา วัชโรบล ประธานศูนย์การแพทย์ชีวโมเลกุลแห่งเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า เซลล์ซ่อมเซลล์ เป็นปรากฏการณ์ใหม่แห่งวงการแพทย์เมืองไทย ที่กำลังถูกจับตามองและเป็นทางเลือกของการรักษาโรค แต่สำหรับประเทศเยอรมนีการแพทย์ทางเลือกแขนงนี้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมากว่า 60 ปีแล้ว

ประธานศูนย์การแพทย์ชีวโมเลกุล รายนี้เล่าประวัติส่วนตัวโดยสังเขปคร่าวๆ ว่า ได้มีโอกาสไปศึกษาวิชาชีวโมเลกุล จากเยอรมนีกว่า 3 ปี โดยศึกษาอย่างละเอียด และปฏิบัติงานในฐานะที่ปรึกษาแก่แพทย์ จึงมีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคไตโรคกระดูกเสื่อม โรคภูมิแพ้ เป็นต้น และพบว่า ผู้ป่วยที่เลือกวิธีรักษาเซลล์ซ่อมเซลล์มีอาการดีขึ้น เมื่อประจักษ์ถึงคุณประโยชน์ เห็นควรนำมาเผยแพร่ให้กับคนไทย

“ต้องบอกว่า ในแถบเอเชียมีความรู้ด้านนี้น้อยมากและเป็นเรื่องใหม่ ขณะที่ประเทศในแถบทวีปยุโรปมีมานานกว่า 60 ปี พอศึกษาจบกลับมาเมืองไทย จึงก่อตั้งศูนย์การแพทย์ชีวโมเลกุล ขึ้น ให้เป็นศูนย์กลางที่ให้บริการความรู้และคำปรึกษาให้แก่แพทย์ ผู้ที่สนใจ ตลอดจนใช้เป็นสถานที่ดูแลผู้ป่วยทั้งคนไทยและต่างชาติ”

จากนั้น อ.พรรณทิพา อธิบายให้ฟังว่า เซลล์ซ่อมเซลล์เป็นการซ่อมแซมเซลล์ด้วย Xenogenic Peptide เป็นโปรตีนที่อยู่ภายใน Cytoplasm ของเซลล์ โดยจะเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ ไปซ่อมแซมอวัยวะส่วนที่มีปัญหา โดยการใช้สารสกัดจากอวัยวะของสัตว์นำมาช่วยซ่อมแซมเซลล์ของมนุษย์ เช่น เซลล์ตับจะไปซ่อมแซมตับ เซลล์หัวใจจะไปซ่อมแซมหัวใจ ซึ่งไม่มีผลข้างเคียง

“การแพทย์ชีวโมเลกุล ใช้รักษาโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ทั้งนี้ เซลล์นั้นยังต้องเป็นเซลล์ที่ยังไม่ตาย หากได้รับรักษาซะแต่เนิ่นๆ ดีกว่า คือ ร่างกายฟื้นฟูง่ายกว่าตอนที่เซลล์เสื่อมสภาพมากแล้ว ทั้งนี้ หากร่างกายไม่ได้เสื่อมมากนัก จะใช้เวลาในการฟื้นฟูร่างกาย 3-4 เดือนถึงจะกลับคืนสุ่สภาพปกติ” อ.พรรณทิพา กล่าว

ถึงตรงนี้ หลายคนที่สนใจอาจจะเกิดคำถาม…แล้วจะรู้ได้อย่างไรล่ะว่าเซลล์ของเราเริ่มเสื่อมสภาพไปมากน้อยแค่ไหน…?

อ.พรรณทิพา กล่าวว่า ไม่ว่า หญิง หรือ ชาย พออายุขึ้นเลข 3 ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย จะเสื่อมทีละนิดทีละหน่อย ความเสื่อมของละคนมากน้อยแตกต่างกันไป ซึ่งความเสื่อมนั้นบ่งชี้ได้ว่าอนาคตมีโอกาสเจ็บไข้ได้ป่วยด้วยโรคอะไร แต่หากต้องการจะทราบจริงๆ ศูนย์การแพทย์ชีวโมเลกุลฯ มีเครื่องมือที่จะตรวจสภาพความเสื่อมนี้ได้

“อายุขึ้นเลข 3 อยากแนะนำให้เช็ก จะได้รู้แต่เนิ่นๆ ว่า อวัยวะส่วนใดเสื่อม เราจะได้ซ่อมแซมได้ทันท่วงที ไม่ใช่ปล่อยให้เสื่อมจนถึงขึ้นเจ็บป่วยหนัก หรือเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต แล้วค่อยไปพบแพทย์เพื่อรักษา อาจสายเกินไปก็ได้” อ.พรรณทิพา กล่าวทิ้งท้าย

2 กันยายน 2553

Next post > บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับ National Institute for Health and Clinical Excellence สหราชอาณาจักร

< Previous post สุขภาพคนไทยน่าห่วง!! พบกว่า 4 ล้านคนร่ำรวยโรคมากขึ้น

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด