logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

Link : http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000116711&Keyword=%ca%d8%a2%c0%d2%be

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

สธ.เผยคนไทยเผชิญปัญหาด้านจิตเวชกว่า 5 ล้านราย ชี้ ป่วยแล้วกว่า 1 ล้านราย โรคจิตเภทพุ่งสูงติดอันดับ 1 เตรียมรับมือปัญหาด้วยการพัฒนาสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา เป็นศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง พร้อมเปิดไอซียู รักษาผู้ป่วยที่มีอาการหนักแห่งแรกของไทย

วันนี้ (22 ส.ค.) ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า ปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มเกิดปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น ผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2552 พบประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป มีปัญหาสุขภาพจิตร้อยละ 12 หรือประมาณ 5 ล้านคน คนกลุ่มนี้ยังไม่ใช่คนป่วย หากได้รับการดูแลส่งเสริมสุขภาพจิตก็จะทุเลา และหายเป็นปกติ ส่วนผู้ป่วยทางจิตที่ได้รับการดูแลรักษาในปี 2551 ทั่วประเทศมี 1,668,041 ราย  มากที่สุด คือ โรคจิตเภท 445,840 ราย รองลงมา ได้แก่ โรควิตกกังวล 375,035 ราย โรคซึมเศร้า 199,667 ราย ส่วนที่เหลือเป็นโรคอื่นๆ เช่น ติดสารเสพติด โรคลมชัก ปัญญาอ่อน โดยเฉลี่ยผู้ป่วยทางจิตจะใช้เวลารักษาในโรงพยาบาล 41 วัน สูงกว่าผู้ป่วยโรคทางกาย 5-6 เท่าตัว

ดร.พรรณสิริ กล่าวต่อว่า ในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังต้องกินยาควบคุมอาการต่อเนื่อง และมีผู้ป่วยกลุ่มใหญ่ประมาณ 1 ใน 4 ของผู้ป่วยทางจิตทั้งหมด กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายจะพัฒนาสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งเป็นโรงพยาบาลจิตเวชแห่งแรกของไทย เปิดบริการมานานกว่า 120 ปี ให้เป็นศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการดูแลผู้ป่วยโรคนี้เป็นการเฉพาะภายในปี 2554 เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรักษาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการรักษาลงสู่ภูมิภาค ผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางมารักษาในกรุงเทพฯ โดยจะเน้นการรักษาที่โรงพยาบาล และการจัดระบบติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง หากผู้ป่วยได้รับการดูแลดี อาการก็จะไม่กำเริบ ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล

ด้าน นพ.สินเงิน สุขสมปอง ผู้อำนวยการสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กล่าวว่า ที่สถาบันจิตเวชศาสตร์ มีผู้ป่วยโรคจิตเภทประมาณร้อยละ 50 ของผู้มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก และร้อยละ 60-70 ของผู้ป่วยที่ต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล ได้พัฒนากระบวนการรักษาโดยใช้ยาและใช้ระบบไฟฟ้าทันสมัยที่สุดในประเทศ และเลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับอาการ รวมทั้งจัดกิจกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพ เช่นฟื้นฟูทักษะทางสังคม การฝึกอาชีพที่เหมาะสม โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ โปรดเกล้าฯให้จัดตั้งกองทุนสมเด็จพระราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เพื่อฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวช มีบริการจิตเวชฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง และจะเปิดไอซียูจิตเวชเป็นห้องแยกสำหรับควบคุมพฤติกรรมผู้ป่วยจิตเภทที่มีความรุนแรงสูง เป็นแห่งแรกของประเทศในปี 2554

นพ.สินเงิน กล่าวต่อว่า โรคจิตเภท มักพบในกลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน ผู้ป่วยกลุ่มนี้ลักษณะเด่นมีความผิดปกติทางความคิด พูดไม่ต่อเนื่อง มีประสาทหลอน หูแว่ว หรือหลงผิดคิดว่ามีเทพในร่างบอกให้ทำสิ่งต่างๆ สาเหตุส่วนหนึ่งเชื่อว่าเกิดจากความผิดปกติของสมองบางส่วน หากมีความเครียดมากระตุ้นก็จะทำให้อาการกำเริบ ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีโอกาสหายน้อยมาก ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 95 จะกลายเป็นผู้ป่วยเรื้อรัง ต้องกินยาควบคุมอาการตลอดชีวิต เนื่องจากผู้ป่วยจะมีความเสื่อมถอยของสมรรถภาพทางสมอง มีปัญหาในการใช้ชีวิต การทำงาน และสังคม ต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

23 สิงหาคม 2553

Next post > นักวิชาการชี้ พ.ร.บ.คุ้มครองฯ เป็น ก.ม.ที่ดี ย้ำแพทย์ศึกษาก่อนค้าน

< Previous post ส่งเสริมผู้สูงอายุ ออกกำลังไม่มีวันจะสายไป เหมือนฝากเงินอยู่ในแบงก์

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด