logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

Link : http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9530000115186&Keyword=%ca%d8%a2%c0%d2%be

การมีคู่ครอง ทำให้มนุษย์สามารถจัดการกับความเครียดได้ดีขึ้น

เทเลกราฟ – ผลการศึกษาล่าสุดเผยการแต่งงานหรือการคบหาในระยะยาว ช่วยให้คนเราสามารถจัดการความเครียดได้ดีขึ้น

นักวิจัยพบว่า คนมีคู่ผลิตฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียดน้อยกว่าคนโสด

คอร์ติซอล คือฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตขึ้นเมื่อเกิดความเครียด และเป็นการตอบสนองของร่างกายเมื่อเผชิญกับอันตราย ดังนั้นปริมาณคอร์ติซอลจึงเป็นเครื่องชี้วัดว่าบุคคลมีความเครียดในระดับใด

“เราพบว่าการมีคู่ครองทำให้ร่างกายหลั่งคอร์ติซอลเพื่อตอบสนองความเครียดน้อยลง และนี่เป็นความรู้ใหม่มากทีเดียว” ศาสตราจารย์ ดาริโอ เมสตริปิเอรี หัวหน้านักวิจัยเผย

การค้นพบดังกล่าวอาจช่วยอธิบายผลการศึกษาในอดีตที่ว่า คนแต่งงานมักมีอายุยืนและป่วยเป็นโรคหัวใจหรือมีปัญหา สุขภาพ น้อยกว่าคนโสด

เมสตริปิเอรี เจ้าของผลงานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสารด้านความเครียดระบุว่า “นี่แสดงให้เห็นว่าคนโสดจะตอบสนองต่อความเครียดมากกว่าคนมีครอบครัว ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยอื่นๆ ที่ชี้ให้เห็นว่า การแต่งงานและแรงสนับสนุนจากสังคมเป็นเกราะป้องกันความเครียด”

แม่ที่เลี้ยงดูบุตร เป็นกลุ่มที่มีความเครียดน้อยกว่าผู้หญิงกลุ่มอื่นๆ

 ผลวิจัยดังกล่าวได้จากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษา 500 คน ซึ่งกว่าครึ่งเป็นผู้ที่แต่งงานแล้วหรืออยู่ระหว่างคบหาดูใจ โดยทีมวิจัยได้ขอตัวอย่างน้ำลายของนักศึกษาเพื่อวัดระดับคอร์ติซอลก่อนทำการทดสอบ จากนั้นจึงให้พวกเขาเล่นเกมคอมพิวเตอร์ด้านเศรษฐศาสตร์ พร้อมระบุว่าเกมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของข้อสอบด้วย เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความเครียด

ผลการทดลองพบว่า นักศึกษาทุกคนมีระดับคอร์ติซอลเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะนักศึกษาหญิง แต่ที่น่าสนใจคือ นักศึกษาที่แต่งงานแล้วหรือมีแฟน จะมีระดับคอร์ติซอลต่ำกว่าคนโสด

“แม้การใช้ชีวิตคู่จะลำบาก แต่ก็ช่วยให้คนเราสามารถจัดการความเครียดด้านอื่นๆได้ดีขึ้น”

ศูนย์สถิติแห่งชาติของอังกฤษเผย พ่อหม้ายและแม่หม้ายลูกติดเป็นกลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพมากที่สุด และมักป่วยเป็นโรคที่ร้ายแรงหรือเรื้อรัง

อัตราการตายของชายโสดอายุระหว่าง 30 ถึง 59 ปี มากกว่าชายที่แต่งงานแล้วในช่วงวัยเดียวกันถึง 2.5 เท่า

ผู้หญิงมีลูกเป็นกลุ่มที่มีสุขภาพดีที่สุด แต่แม่ที่ต้องเลี้ยงลูกคนเดียวจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังได้มากกว่ากลุ่มอื่นๆ

20 สิงหาคม 2553

Next post > สธ.จับมืออนามัยโลก ยกระดับสุขภาพคนไทย

< Previous post กีวี่..สุดยอดพลังวิตามินซี ต้านมะเร็งร้าย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด