logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

Link : http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000113002

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

รพ.สงฆ์ เผยทั่วประเทศ พบคนมีสุขภาพดีไม่ถึงครึ่ง ตะลึง “พระไทย” สูบบุหรี่จัดกว่าโยม-เมินการออกกำลังกาย เกิดสารพัดโรครุมเร้า ทั้งเบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง ผอ.รพ.สงฆ์ วอนคนไทยถวายภัตตาหารเน้นผักสักครึ่ง

พญ.วราภรณ์ ภูมิสวัสดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสงฆ์ (รพ.สงฆ์) กล่าวว่า จาการที่ทางโรงพยาบาลได้ดำเนินการโครงการพัฒนาสุขภาพพระสงฆ์-สามเณร ให้ยั่งยืนแบบองค์รวม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี โดยมีการศึกษาเชิงสำรวจสุขภาพพระสงฆ์ทั่วประเทศตั้งแต่ปี 2549 โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 และ 2 ทำการสำรวจในเขตกรุงเทพฯ ลงพื้นที่สำรวจทุกวัดในกรุงเทพฯ ในปี 2549-2550 สำรวจกลุ่มตัวอย่างพระสงฆ์จำนวน 9,305 รูป ส่วนระยะที่ 3 ดำเนินการสำรวจในปี 2551-2552 สำรวจในวัดทุกวัดทั่วประเทศแบ่งเป็นภาคกลาง 18,060 รูป ภาคเหนือ 10,309 รูป ภาคตะวันออก 3,723 รูป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 40,738 รูป ภาคตะวันตก 3,712 รูป และภาคใต้ 4,403 รูป รวมจำนวนพระสงฆ์ที่สำรวจทั้งหมด 90,250 รูป พบว่า อัตราการสูบบุหรี่ของพระสงฆ์ไทยอยู่ในเกณฑ์ที่สูงมาก คือ เฉลี่ยร้อยละ 41.3 ขณะที่เฉลี่ยประชาชนไทยสุบบุหรี่อยู่ที่ร้อยละ 20.2 และเมื่อเทียบข้อมูลการสูบบุหรี่ของพระสงฆ์กับข้อมูลการสูบบุหรี่ของประชาชนไทย พบว่า การสูบบุหรี่ของพระสงฆ์สูงกว่าประชาชนไทยในทุกภาค ยกเว้นภาคเหนือ ซึ่งในการแก้ปัญหานี้ควรรณรงค์ให้พระสงฆ์เข้าถึงข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ โดยเฉพาะโทษของบุหรี่มือสอง สร้างแรงจูงใจในการลด ละ เลิกสูบบุหรี่ สนับสนุนให้วัดเป็นเขตปลอดบุหรี่ รวมไปถึงการบังคับใช้กฎหมายในการห้ามสูบบุหรี่อย่างเข้มงวด

ผอ.รพ.สงฆ์ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ ยังได้ทำการสำรวจพฤติกรรมการออกกำลังกายของพระสงฆ์และสามเณรซึ่งในที่นี้หมายถึง การเดินบิณฑบาต การกวาดลานวัด เป็นต้น พบว่า มีการออำกำลังกายเพียงสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เฉลี่ยร้อยละ 43.5 ซึ่งนับว่ามีอัตราที่น้อยกว่าอัตราเฉลี่ยการออกกำลังกายของประชาชนทั่วไป ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่าอยู่ที่ร้อยละ 65.8 และเมื่อศึกษาในรายภาคก็พบว่าพระสงฆ์ในเขตกรุงเทพฯ มีอัตราการออกกำลังกายที่ต่ำมากเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น ดังนั้น จึงคิดว่า บุคลากรด้านสาธารณสุขมีความจำเป็นจะต้องให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้พระสงฆ์ได้เข้าถึงข้อมูล และประโยชน์ของการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ตลอดจนเข้าถึงข้อมูลสุขภาพที่ถูกต้องด้วย เช่น มีกิจกรรมที่รณรงค์ ให้มีการเคลื่อนไหว ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันและควบคุมโรค

“เมื่อดูถึงสุขภาพของพระสงฆ์โดยรวม พบว่า มีพระสงฆ์ไม่ถึงร้อยละ 50 ที่ไม่พบความผิดปกติ ส่วนที่เหลือเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคร้อยละ 24.3 และมีพระสงฆ์ที่เป็นโรคร้อยละ 29.5 โดยในภาคตะวันตก ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีพระสงฆ์เป็นโรคมากที่สุด ซึ่งโรคส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นโรคที่ไม่ติดต่อ เช่น ความดัน เบาหวาน หลอดเลือด ไขมันในเลือดสูง ดังนั้น เพื่อป้องกันและแก้ไขโรคดังกล่าวจึงจำเป็นต้องแก้ที่ปัจจัยในการฉันภัตตาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสูขภาพ โดยอยากขอให้พุทธศาสนิกชนที่ประสงค์จะถวายภัตตาหารหรือใส่บาตรในทุกเช้านั้น เลือกชนิด หรือประเภทที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้นโดยเน้นที่ประเภทผักให้ได้ครึ่งหนึ่งของอาหารที่ถวายทั้งหมด ซึ่งจะสามารถส่งเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ได้มากขึ้น” พญ.วราภรณ์ กล่าว

16 สิงหาคม 2553

Next post > 360 องศา: วิจัยชี้คนมีคู่ “สุขภาพดี-เครียดน้อย-อายุยืน”

< Previous post อย่ายอมเชื่อถือผิดๆว่า ยิ่งชราแล้วสมองยิ่งพาเสื่อมถอยด้อยค่าลง

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด