logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

Link : http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000108526

นวัตกรรม “ชุดตรวจหายาสเตียรอยด์ต้องห้ามใช้ในยาสมุนไพร” ผลงานวิจัยชั้นเยี่ยมของ นักวิจัยกรมวิทย์ ใช้ง่าย-ราคาถูก แนะบดยาให้ละเอียดตักใส่หลอดทดสอบเขย่า 3 นาที รู้ผล

วันนี้ (5 ส.ค.) น.ส.วลัยลักษณ์ เมธาภัทร นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากสำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลผลงานวิชาการยอดเยี่ยมอันดับ 2 จากเวทีประกวดผลงานวิชาการปี 2552 กล่าวว่า เนื่องจากปัจจุบันผลิตภัณฑ์สมุนไพร กำลังเป็นที่นิยมทั้งชาวไทยและต่างชาติ โดยสมุนไพรมักแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยา อาหารเสริม และเครื่องสำอาง แต่ปัญหาที่น่าห่วง และมักเป็นประเด็นใช้โอ้อวดสรรพคุณยาสมุนไพร ทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิด และเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ก็คือ กลุ่มยาแผนโบราณซึ่งทำในรูปของยาลูกกลอน ยาเม็ด ยากวน ซึ่งมีการนําตัวยาแผนปัจจุบันมาผสม โดยเฉพาะยาสเตียรอยด์ ได้แก่ เดกซ์ซาเมธาโซน (dexamethasone) และ เพร็ดนิโซโลน (prednisolone) ซึ่งมีความเป็นพิษสูง และจัดเป็นยาควบคุมพิเศษ ยาสมุนไพรที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ เมื่อนำไปกินในระยะแรกอาการจะดีขึ้นอย่างทันตาเห็น แต่พอต่อไปจะเกิดความเป็นพิษ แต่อวัยวะหลายส่วน

ทั้งนี้ ยาเดกซ์ซาเมธาโซน และ เพร็ดนิโซโลน เป็นยาในกลุ่มสเตียรอยด์ที่พบมีการปนปลอมในผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพร พิษของยาสเตียรอยด์จะกดภูมิคุ้มกันร่างกาย ทําให้ติดเชื้อโรคได้ง่าย ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารทําให้กระเพาะอาหารเป็นแผล หรือถึงขั้นทะลุได้ เกิดการสะสมของไขมันในอวัยวะบางส่วน ทําให้หน้ากลมผิดปกติ เรียกว่า หน้าพระจันทร์ หรือ มูนเฟซ (moon face) และหลังเป็นหนอกคล้ายหลังควาย เกิดการคั่งของเกลือ ทำให้บวม เป็นอันตรายมากต่อผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ การใช้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์นานๆ ทําให้กล้ามเนื้อลีบ กระดูกผุ นํ้าตาลในเลือดสูง ซึ่งในปัจจุบันได้มีมาตรการเพื่อควบคุมดูแลผลิตภัณฑ์สมุนไพรมากขึ้น โดยการตรวจสอบหาการปนเปื้อนของยาแผน

น.ส.วลัยลักษณ์ กล่าวต่อไปว่า ในการตรวจสอบหาการปนปลอมเดกซ์ซาเมธาโซน และเพร็ดนิโซโลน ขณะนี้สามารถทำได้หลายวิธีแต่เป็นวิธีที่ต้องใช้ผู้ชำนาญการในการตรวจสอบ อีกทั้งมีขั้นตอนการเตรียมตัวอย่างหลายขั้นตอน ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ และผู้ชำนาญการในการทดสอบและอ่านผล ทำให้ยุ่งยาก เสียเวลาและมีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น โดยมีรายงานว่า ผลการตรวจพบยาทั้งสองชนิดในยาแผนโบราณเพิ่มขึ้นตามการขยายตลาดผลิตภัณฑ์ จึงส่งผลให้ต้องมีภาระงานของการตรวจสอบมากขึ้นไปด้วย ดังนั้น จึงได้ทำการพัฒนาวิธีการตรวจให้ง่ายขึ้น สามารถนำไปใช้ในภาคสนามและประชาชนทั่วไปสามารถนำไปใช้ตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง ซึ่งจะส่งผลให้การคุ้มครองผู้บริโภคทุกพื้นที่เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

“วิธีการตรวจสอบยาสมุนไพรด้วยชุดทดสอบด้วยเทคนิคอิมมูโนโครมาโทกราฟี มีดังนี้ คือ ถ้าตัวอย่างยาสมุนไพรเป็นยาเม็ด ให้บดให้แตกละเอียด หรือใช้กรรไกรสะอาดตัดเป็นชิ้นเล็กๆ ตักตัวอย่างด้วยหลอดพลาสติกสำหรับตักตัวอย่าง หรือหลอดหยดตัวอย่างที่เป็นของเหลวลงในหลอดทดสอบพลาสติก จากนั้นให้หยดน้ำยาจากขวดบรรจุน้ำยาละลายตัวอย่างลงในหลอดทดสอบที่ใส่ตัวอย่างยาสมุนไพร แล้วปิดจุกพลาสติกให้แน่น จากนั้นเขย่าให้เข้ากันประมาณ 3 นาที ตั้งทิ้งไว้จนเกิดการแยกชั้น จากนั้นดูดน้ำยาส่วนใสไม่ให้มีฟองอากาศ และหยดลงในหลุมทดสอบในลักษณะตั้งตรงทีละหยด จำนวน 4 หยด อ่านผลการทดสอบภายใน 10-15 นาที แล้วสังเกตผล โดยหากพบว่า โดยหากพบว่า เป็นเส้นสีแดง 2 เส้น แสดงว่า ไม่มีการปนปลอมของยาสเตียรอยด์ในยาสมุนไพรที่ทดสอบ แต่ถ้าเห็นเป็นเส้นสีแดง 1 เส้น แสดงว่า มีการปนปลอมของสารสเตียรอยด์” น.ส.วลัยลักษณ์ กล่าว

โดยชุดทดสอบสเตียรอยด์ดังกล่าว ได้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปแล้ว มีจำหน่ายที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ในราคา ชุดละ 55-65 บาท ผู้ที่สนใจสมารถหาซื้อได้ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

6 สิงหาคม 2553

Next post > อุปกรณ์แพทย์รพ.ไทยติดไวรัส

< Previous post อย่าขว้าง“มือถือ“ทิ้ง หลังจากทีี่่อ่านข่าวเรื่องนีี้้จบลงไปแล้ว

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด